สรุปการประชุมของธนาคารกลางญี่ปุ่น (Bank of Japan)

มีนาคม 17, 2025

Knowledge
Trends
Insight
thumbnail

สรุปการประชุมของธนาคารกลางญี่ปุ่น (Bank of Japan)

 

  • BOJ ขึ้นดอกเบี้ย 0.25% เป็น 0.5% (สูงสุดตั้งแต่ปี 2008) รับมือเงินเฟ้อที่พุ่ง 4% และ GDP ที่เติบโตเกินคาด
  • ตลาดตอบสนองทันที อัตราผลตอบแทนพันธบัตร 10 ปีแตะ 1.5% สูงสุดตั้งแต่ปี 2009 คาด BOJ อาจขึ้นดอกเบี้ยต่อ
  • เสี่ยงเกิด Unwind Yen Carry Trade ทำให้เกิดแรงเทขายสินทรัพย์เสี่ยง หากรุนแรง อาจกระทบตลาดการเงินโลก
  • ผลกระทบที่เกิดขึ้นแล้ว Bitcoin ร่วงเหลือ $52,000 Ethereum เหลือ $2,000 ขณะที่ Fed อาจต้องลดดอกเบี้ย 3 ครั้งเพื่อรักษาเสถียรภาพ
  • จับตาการประชุม BOJ วันที่ 18 มีนาคม ซึ่งอาจเป็นตัวกำหนดทิศทางตลาดการเงินในอนาคต

 


 

  ในวันที่ 18 มีนาคมนี้ นักลงทุนทั่วโลกต่างให้ความสนใจ ในการประชุมของธนาคารกลางญี่ปุ่น (Bank of Japan) ซึ่งอาจเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในการตัดสินใจเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยในอนาคต ท่ามกลางปัจจัยกดดันที่เพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นอัตราเงินเฟ้อที่เร่งตัวสูงขึ้น, ผลตอบแทนพันธบัตรที่พุ่งขึ้น, ค่าเงินเยนที่ผันผวน และความกังวลเกี่ยวกับภาวะตลาดที่อาจซ้ำรอย “Black Monday” การประชุมครั้งนี้จึงถือเป็นจุดสำคัญที่อาจส่งผลกระทบต่อตลาดการเงินทั้งในญี่ปุ่นและทั่วโลก

 

  เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2025 ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% สู่ระดับ 0.5% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2008 การตัดสินใจนี้เป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์และสะท้อนถึงความกังวลต่ออัตราเงินเฟ้อที่ยังคงสูงเกินเป้าหมายของ BOJ ที่กำหนดไว้ที่ 2% โดยล่าสุด ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ในเดือนมกราคม 2025 เพิ่มขึ้นถึง 4% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 2 ปี และสูงกว่าเป้าหมายของ BOJ ถึงสองเท่า นอกจากนี้ เศรษฐกิจญี่ปุ่นในไตรมาสที่สี่ของปีที่ผ่านมาเติบโตดีกว่าที่คาด โดย GDP ขยายตัว 0.7% เมื่อเทียบเป็นรายไตรมาส และเติบโต 2.8% ตลอดทั้งปี ขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (Core CPI) ซึ่งไม่รวมราคาอาหารสด เพิ่มขึ้น 3.2% สูงกว่าการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ สถานการณ์นี้สะท้อนถึงแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่ยังคงอยู่ และมีแนวโน้มว่า BOJ อาจต้องพิจารณาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติม หากอัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับสูง

 

Source : Ministry of Internal Affairs and Communications

 

  นอกจากนี้ ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นอายุ 10 ปี (10-Year Bond Yield) ได้ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 1.5% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2009 สะท้อนถึงมุมมองของตลาดที่คาดการณ์ว่าธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) อาจเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มเติม เพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อ

 

Source : Ministry of Internal Affairs and Communications

 

  อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ต้องจับตาคือความกังวลเกี่ยวกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ BOJ ซึ่งอาจเป็นตัวเร่งให้เกิด Unwind Yen Carry Trade ซึ่งเคยเป็นปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่ Black Monday ในอดีตโดยหลักการของ Yen Carry Trade คือการกู้ยืมเงินเยนจากญี่ปุ่น ซึ่งมีอัตราดอกเบี้ยต่ำใกล้ 0% เพื่อนำไปลงทุนในสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า ก่อนหน้านี้ เงินทุนส่วนใหญ่ไหลเข้าสู่สหรัฐฯ เนื่องจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อยู่ที่ประมาณ 4-5% หรือถูกนำไปลงทุนในหุ้นและสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีแนวโน้มให้ผลตอบแทนสูงกว่า อย่างไรก็ตาม การลงทุนลักษณะนี้มีความเสี่ยงสูงเมื่อ BOJ ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ต้นทุนของนักลงทุนที่ทำ Carry Trade จะพุ่งสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ทำให้ต้องลดสถานะการลงทุนโดยการขายสินทรัพย์ที่ถืออยู่เพื่อนำเงินเยนไปชำระหนี้ ส่งผลให้สินทรัพย์เสี่ยงเผชิญแรงเทขายหนัก หากกระแส unwinding นี้รุนแรง อาจสร้างแรงสั่นสะเทือนในตลาดการเงินและกระทบต่อนักลงทุนที่ใช้เงินเยนเป็นแหล่งทุนในการซื้อสินทรัพย์เสี่ยง

 

  อย่างไรก็ตาม ในช่วงเดือนสิงหาคม 2024 การ unwind Yen Carry Trade ได้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อตลาดสินทรัพย์เสี่ยง โดยเฉพาะคริปโตเคอร์เรนซี ส่งผลให้ Bitcoin (BTC) ร่วงลงมาถึง $52,000 และ Ethereum (ETH) ลดลงเหลือ $2,000 นอกจากนี้ ตลาดพันธบัตรสหรัฐฯ อาจเผชิญแรงกดดันจากกระแสเงินทุนไหลออก หากเกิดการ unwind ครั้งใหญ่ขึ้นอีกครั้ง นักลงทุนอาจต้องเร่งขายสินทรัพย์เพื่อชำระหนี้ที่เป็นเงินเยน ซึ่งอาจกระทบต่อตลาดการเงินทั่วโลก

 

  นอกจากนี้ ยังมีความเป็นไปได้ว่าสหรัฐฯ อาจพิจารณาลดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติมเป็นสามครั้ง เพื่อลดแรงกดดันต่อตลาดการเงิน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่นักลงทุนต้องจับตามอง โดยเฉพาะการประชุมของ Japan BOJ Policy Rate ในวันที่ 18 มีนาคม ที่กำลังจะมาถึง ซึ่งอาจเป็นตัวชี้วัดทิศทางของนโยบายการเงินในประเทศญี่ปุ่น

หมายเหตุ

  คริปโทเคอร์เรนซีและโทเคนดิจิทัลมีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจำนวนและสินทรัพย์ดิจิทัลมีความเสี่ยง และ ผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอนาคต โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้

เรื่องราวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

Merkle Capital คือผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัลแห่งแรกในประเทศไทย ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานก.ล.ต. บริษัทให้การดูแลและบริหารเงินลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลแก่ลูกค้าด้วยกลยุทธ์ที่หลากหลายโดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนและการบริหารจัดการ