มิถุนายน 26, 2024
หมายเหตุ : บทวิเคราะห์นี้จัดทำขึ้นในทุกวันจันทร์ ดังนั้นบทความบางส่วนอาจจะมีความคลาดเคลื่อนของข้อมูลได้
• Durable Goods Orders มีแนวโน้มลดลงจาก 0.7% เป็น 0.3%
• Core PCE มีแนวโน้มลดลงจาก 0.2% เป็น 0.1%
• Personal Income มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจาก 0.3% เป็น 0.4%
ในฝั่งของตัวเลขเศรษฐกิจสัปดาห์นี้จะมีตัวเลขที่น่าสนใจ คือ Core PCE ที่มีแนวโน้มลดลงเนื่องจากสภาวะแนวโน้มของเงินเฟ้อที่เริ่มลดลง และ Core PCE ที่ลดลงมาเรื่อยๆนั้น มองถึงการวางนโยบายการเงินและการคลังเริ่มกลับมาสอดคล้องกันทำให้ช่วยลดความร้อนแรงของระบบเศรษฐกิจที่ขยายตัวจนมากเกินไปจากการอัดฉีดเงินในระบบในช่วงปี 2024 ซึ่งจากการคาดการณ์หากเงินเฟ้อลดลงจริงและตามเป้าที่วางไว้ของ FED เราอาจจะได้เห็นการลดลงของ อัตราดอกเบี้ยในช่วงไตรมาสที่ 4 แต่อาจจะต้องพิจารณาเรื่องของราคาของอสังหาริมทรัพย์และราคาของพลังงานเข้ามาร่วมด้วย ในฝั่งของ Personal Income นั้นจะเติบโตเพิ่มขึ้นในสัดส่วนประมาณ 0.2%-0.4% ดังนั้นอาจจะไม่ส่งผลกระทบหรือมีปัจจัยต่อเศรษฐกิจมากขนาดนั้น
Durable Goods Orders คือยอดคำสั่งซื้อสินค้าคงทน เป็นดัชนีชี้วัดถึงกิจกรรมการผลิตที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยจะเป็นตัววัดปริมาณของการสั่งสินค้า การส่งสินค้าโดยจะเป็นตัววัดถึงภาคการผลิตซึ่งหากว่าเศรษฐกิจมีปัญหาจะส่งผลให้ปริมาณการสั่งสินค้าลดลง
คาดการณ์จาก Trading Economics : Durable Goods Orders มีแนวโน้มลดลงจาก 0.7% เป็น 0.3%
ส่งผลอย่างไรต่อตลาด
จากตัวเลขคาดการณ์ที่ลดลงจากการสั่งซื้อสินค้าคงทนที่ลดลง แสดงถึงการหดตัวของกำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อยโดยอาจจะมาจากหลายปัจจัยเช่น การเริ่มคงที่ของปัจจัยการผลิตทำให้สัดส่วนการสั่งซื้อสินค้าคงทนนั้นลดลงโดยอาจจะไม่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวม
United States Core PCE Price Index (Personal Consumption Expenditures Price Index) คือดัชนีราคาที่ใช้วัดการเปลี่ยนแปลงในระดับราคาของสินค้าและบริการที่บรรจุในการบริโภคของประชากรในสหรัฐอเมริกา โดยไม่รวมราคาของอสังหาริมทรัพย์ และค่าประกันสุขภาพ และราคาของสินค้า และบริการที่เป็นผลมาจากราคาของพลังงาน และอาหารที่มีความผันผวนมาก
คาดการณ์จาก Trading Economics : Core PCE มีแนวโน้มลดลงจาก 0.2% เป็น 0.1%
ตีความอย่างไรต่อตลาด
เนื่องจากสภาวะแนวโน้มของเงินเฟ้อที่เริ่มลดลงและ Core PCE ที่ลดลงมาเรื่อยๆ มองถึงการวางนโยบายการเงินและการคลังเริ่มกลับมาสอดคล้องกันทำให้ช่วยลดความร้อนแรงของระบบเศรษฐกิจที่ขยายตัวจนมากเกินไปจากการอัดฉีดเงินในระบบในช่วงปี 2024 ซึ่งจากการคาดการณ์หากเงินเฟ้อลดลงจริงและตามเป้าที่วางไว้ของ FED เราอาจจะได้เห็นการลดลงของ อัตราดอกเบี้ยในช่วงไตรมาสที่ 4 แต่อาจจะต้องพิจารณาเรื่องของราคาของอสังหาริมทรัพย์และราคาของพลังงานเข้ามาร่วมด้วย
Personal Income MoM หมายถึง อัตราการเปลี่ยนแปลงของรายได้ส่วนบุคคลต่อเดือน ซึ่งเป็นข้อมูลทางเศรษฐกิจที่วัดการเปลี่ยนแปลงของรายได้ของบุคคลในแต่ละเดือนเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ข้อมูลนี้มักถูกนำมาใช้ในการวิเคราะห์และประเมินสภาวะของเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงในรายได้ส่วนบุคคลส่วนใหญ่จะส่งผลต่อการบริโภคและกำลังซื้อของบุคคล ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของเศรษฐกิจ
คาดการณ์จาก Trading Economics : Personal Income มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจาก 0.3% เป็น 0.4%
ตีความอย่างไรต่อตลาด
จากตัวเลขคาดการณ์แสดงถึงรายได้ส่วนบุคคลที่เพิ่มขึ้นซึ่งอาจจะมาจากหลากหลายปัจจัยทั้งอัตราส่วนตัวเลขการว่างงาน หรือรายได้จากการลงทุนที่เพิ่มขึ้น ทำให้ในส่วนของรายได้ส่วนบุคคลที่เพิ่มขึ้น แต่โดยรวมจะเห็นได้ว่าส่วนใหญ่แล้ว Personal Income นั้นจะเติบโตเพิ่มขึ้นในสัดส่วนประมาณ 0.2% - 0.4% ดังนั้นอาจจะไม่ส่งผลกระทบหรือมีปัจจัยต่อเศรษฐกิจมากขนาดนั้น
Key Event ที่น่าสนใจที่จะเกิดขึ้นในสัปดาห์และอาจจะทำให้เกิดความผันผวนกับสินทรัพย์ดิจิทัล
24 มิถุนายน
25 มิถุนายน
26 มิถุนายน
27 มิถุนายน
28 มิถุนายน
ในส่วนของ Funding rate สำหรับอาทิตย์นี้ถือว่าอยู่ในระดับที่ปกติแสดงถึงการเก็งกำไรในตลาดบนสัญญาอนุพันธ์ที่คงตัว และเมื่อดูควบคู่กับปริมาณการเทรดสัญญา Future ที่ลดลงกว่า 50% นั้น แสดงถึงตลาดที่มีความต้องการในการเก็งกำไรลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญ
ในส่วนของ Bitcoin ETF Flow ในสัปดาห์ที่ผ่านมามีกระแสเงินไหลออกจาก Spot Bitcoin ETFs เกือบทุกวัน รวมเป็นจำนวนทั้งสิ้น 544.1 ล้านเหรียญ ซึ่งแรงเทขายส่วนใหญ่มาจาก FBTC และ GBTC เป็นหลัก ประกอบกับแรงซื้อจาก IBIT เพียงเล็กน้อย ทำให้ราคา Bitcoin ตกลงมาอยู่ในช่วง $62,000 - $63,000
ในฝั่งของ Open Interest ปริมาณเงินมีแนวโน้มลดลงจากต้นเดือนมิถุนายน แต่ภาพโดยรวมยังคงตัวอยู่ในระดับสูง แสดงถึงความสนใจของตลาดในระดับที่สูง แต่มีความคลุมเครือในระยะสั้น อาจจะมีการ sideways อยู่ในระดับนี้ จนกว่าจะมีปัจจัยบวกมาส่งเสริม
ในส่วนของ Bitcoin ETF Flow ในสัปดาห์ที่ผ่านมามีกระแสเงินไหลออกจาก Spot Bitcoin ETFs เกือบทุกวัน รวมเป็นจำนวนทั้งสิ้น 544.1 ล้านเหรียญ ซึ่งแรงเทขายส่วนใหญ่มาจาก FBTC และ GBTC เป็นหลัก ประกอบกับแรงซื้อจาก IBIT เพียงเล็กน้อย ทำให้ราคา Bitcoin ตกลงมาอยู่ในช่วง $62,000 - $63,000
ถึงแม้ตลาดช่วงนี้จะมีภาวะซึมลงเล็กน้อย แต่เมื่อมองในภาพใหญ่ จะสังเกตได้ว่าตลาดยังคงอยู่ในสภาวะกระทิง โดยในปัจจุบัน นักลงทุนที่ถือ Bitcoin มากกว่า 80% ยังคงมีกำไรโดยเฉลี่ยถึง 120% ซึ่งถือว่าตลาดยังคงอยู่ในสภาวะขาขึ้น
แม้ว่าตัวชี้วัดหลายอย่างจะแสดงให้เห็นว่า ตลาดคริปโตเคอร์เรนซีขึ้นมาค่อนข้างเยอะแล้ว แต่เมื่อดูข้อมูลในอดีตของจำนวนกระเป๋าที่มีการถือ Bitcoin นานกว่า 1 ปี จากกราฟข้างต้นจะสังเกตได้ว่า เมื่อจำนวนกระเป๋าดังกล่าวทำจุดพีคแล้วค่อยๆ ลดลง จะเป็นสัญญาณของการพุ่งขึ้นอย่างรุนแรงของราคา Bitcoin และเป็นจุดเริ่มต้นของ Bull run อย่างแท้จริง ซึ่งตัวเลขนี้มีโอกาสที่จะเจอจุดพีคแล้วเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2023 จากสัญญาณที่เริ่มมีการปรับตัวลดลง
การที่จำนวนกระเป๋าที่ถือ Bitcoin นานกว่า 1 ปี มีจำนวนลดลงนั้น เกิดจากการขายทำกำไรของกลุ่มนักลงทุนดังกล่าว และทำให้เกิดการกระจายไปยังนักลงทุนหน้าใหม่ที่เข้ามาในตลาด ซึ่งส่งผลกระทบเชิงลบต่อราคาในระยะสั้น แต่เมื่อตลาดเจอจุดสมดุลใหม่ (Equilibrium) จะทำให้แรงขายลดลงได้
จากสถิติข้างต้น แสดงถึง Upside ของตลาดที่ยังสามารถเกิดได้ เพียงแต่นักลงทุนควรระมัดระวังแรงขายในระยะสั้นเพื่อล็อคกำไรของนักลงทุนบางกลุ่ม
$BTC มีการหลุดแนวรับ $67,000 ทำให้ Momentum เป็นขาลงและทำ Lower High Lower Low อย่างต่อเนื่อง อีกทั้งใน RSI ที่ยังไม่มีสัญญาณกลับตัวทำให้ช่วงข้างหน้าราคาอาจทำรูปแบบ Sideway Down ไปอีกระยะหนึ่ง แนวรับที่สำคัญแนวถัดไปคือบริเวณ $60,500 - $61,500 ที่คาดว่าจะมีการพักตัวของราคาเกิดขึ้น ซึ่งหากรับอยู่ก็อาจทำให้ราคาของ $BTC นั้น Sideway ออกไปในช่วงสัปดาห์ข้างหน้า แต่หากไม่สามารถยืนราคาได้ก็อาจจะลงไปถึง $56,000 ได้เลยเช่นกัน
แนวต้าน: $67,000 | $73,000 | $76,500
แนวรับ: $61,500 | $56,500 | $52,500
$ETH ได้มีการ Sideway Down ลงมาจนถึงบริเวณแนวรับ $3,350 โดยในระยะสั้นแล้วหากสามารถยืนราคาอยู่บริเวณนี้ได้ ก็ยังมีโอกาสกลับตัวเพื่อขึ้นต่อได้ อย่างไรก็ตามใน RSI ยังไม่ได้มีสัญญาณกลับตัวเกิดขึ้นชัดเจนทำให้แนวโน้มยังคงเป็นขาลงอยู่ในช่วงสัปดาห์นี้ ในกรณีที่ราคามีการปิดต่ำกว่าแนวรับ $3,350 จะทำให้ Momentum ขาลงรุนแรงขึ้นและอาจมีโอกาสที่ราคาจะลงไปทดสอบแนวรับบริเวณ $2,870 ได้
แนวต้าน: $3,700 | $4,070 | $4,450
แนวรับ: $3,350 | $2,870 | $2,400
"มีความเป็นไปได้" ของการลดดอกเบี้ยของ FED อาจจะเลื่อนออกไปถึงเดือนกันยายน และ Bitcoin Dominance ปรับตัวขึ้นสู่ระดับสูงมากกว่า 50% และการมาของ Ethereum spot ETF และมุมมองเชิงบวกมากๆต่อตลาดคริปโทในสหรัฐในเชิงการเมืองที่อาจจะเห็นภาพชัดเจนในไตรมาสที่ 4 และเมื่อพิจารณาตัวเลขเศรษฐกิจที่ผันผวนในสัปดาห์นี้ จึงแนะนำให้นักลงทุนถือสัดส่วนของ Bitcoin เอาไว้เพื่อลด Drawdown โดยรวมของพอร์ต และเพิ่มสัดส่วนของ Ethereum ในพอร์ตเพิ่มขึ้น บวกกับถือสัดส่วนของ Altcoins ที่มีพื้นฐานที่ดีรับสัญญาณของ Altcoins season และเก็บ Stablecoin ที่เป็น USD เพื่อใช้เป็นไม้สำรอง
Disclaimer