August 07, 2024
หมายเหตุ : บทวิเคราะห์นี้จัดทำขึ้นในทุกวันจันทร์ ดังนั้นบทความบางส่วนอาจจะมีความคลาดเคลื่อนของข้อมูลได้
WEEKLY TONE : BUY WEEK
ในสัปดาห์นี้แม้จะไม่ได้มีตัวเลขทางเศรษฐกิจออกมามาก แต่การออกมาของตัวชี้วัดส่วนใหญ่ก็มีความสำคัญต่อตลาด ISM Service PMI มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นจนมายืนอยู่เกิน 50% แสดงให้เห็นถึงว่าเศรษฐกิจมีโอกาสสูงที่จะขยายตัวเพิ่มมากขึ้น ประจวบกันการที่ Initial Jobless Claims มีแนวโน้มที่จะลดตัวลงมาเล็กน้อย แสดงให้เห็นถึงการคนที่ยื่นขอสวัสดิการว่างงานน้อยลง บ่งบอกถึงการขับเคลื่อนของเศรษฐกิจที่คนมีงานทำเยอะขึ้นอีกด้วย และช่วงนี้ยังเป็นช่วงที่ตลาดคริปโทฯ นั้นมีความผันผวนมากในตัว Bitcoin ที่มีการขยับตัวขึ้นลงอยู่บ่อยครั้ง อีกทั้ง Altcoins ยังมีการปรับตัวของราคาที่ลงมาค่อนข้างที่จะเยอะ จุด ๆ นี้จึงเป็นอีกหนึ่งจุดสำคัญ สำหรับนักลงทุนที่ชื่นชอบในตัว Altcoins และต้องการซื้อ เพราะจุด ๆ นี้นั้นเป็นจุด Bottom ของ Altcoins หลาย ๆ ตัวแล้ว และการลงทุนใน Altcoins ยังสามารถสร้างกำไรที่มากกว่าการลงทุนในเหรียญใหญ่อย่างเห็นได้ชัดอีกด้วย
รายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อที่ไม่ใช่ภาคการผลิต หรือ Non-Manufacturing Purchasing Manager Index (PMI) จากสถาบัน Institute of Supply Management (ISM) ที่ยังเป็นที่รู้จักในนามดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการ (ISM Service PMI) นั้นเป็นดัชนีรวมที่ได้คำนวณในฐานะเป็นดัชนีที่บ่งชี้ถึงภาวะเศรษฐกิจโดยรวมสำหรับธุรกิจภาคบริการ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อที่ไม่ใช่ภาคการผลิต นี้เป็นดัชนีรวมที่ได้จากดัชนีการกระจายต่างๆ ที่ประกอบด้วยดัชนีจำนวนสี่ประเภทที่มีน้ำหนักความสำคัญเท่าเทียมกันก็คือดัชนี: กิจกรรมทางธุรกิจที่ได้ปรับตามฤดูกาลแล้ว ยอดคำสั่งซื้อใหม่ที่ได้ปรับตามฤดูกาลแล้ว การจ้างงานที่ได้ปรับตามฤดูกาลแล้ว และการจัดส่งสินค้าของผู้จัดหา
คาดการณ์จาก Tradingeconomic: ISM Service PMI มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นจาก 48.8% เป็น 51%
การคาดการณ์
การที่มีแนวโน้มในการปรับตัวขึ้นของ ISM Service PMI จากประมาณ 48% ไปถึง 51% แสดงให้เห็นถึงการอยู่เหนือ 50% ของ ISM Service PMI ที่บ่งบอกถึงการขยายตัวของเศรษฐกิจของภาคบริการทั่วไป และยังบางบอกอีกว่าบริษัทในภาคการบริการการแนวโน้มที่จะเจอกับคำสั่งซื้อ การผลิต และการจ้างงาน ที่อยู่ในระดับสูงกว่าเดิม และยังเป็นตัวบ่งบอกถึงการเพิ่มความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเพราะว่ามีการใช้งานภาคบริการเพิ่มขึ้น และการใช้จ่ายของผู้บริโภคยังเป็นการ
Initial Jobless Claims หรือ Unemployment Claims คือจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงานรายสัปดาห์ ซึ่งเป็นตัวเลขที่สะท้อนค่าใช้จ่ายของรัฐได้ชัดกว่าอัตราการว่างงาน เพราะยิ่งตัวเลขนี้สูงขึ้นนั่นหมายความว่าค่าใช้จ่ายของภาครัฐ หรือ Government Expenditure ถูกใช้ไปในการช่วยเหลือกลุ่มคนว่างงานมากขึ้น เศรษฐกิจมีแนวโน้มที่จะหดตัว และยังแสดงให้เห็นถึงช่องว่างความเหลื่อมล้ำในประเทศอีกด้วย โดยตัวเลขนี้จะมีประกาศทุก ๆ วันพฤหัส
คาดการณ์จาก Tradingeconomic: Initial Jobless Claims มีแนวโน้มที่จะลดตัวลงจาก 249K เหลือ 247K
ตีความอย่างไรต่อตลาด
การลดตัวอย่างเล็กน้อยของ Unemployment Claims นั้นถือเป็นการเริ่มต้นในการส่งสัญญาณต่าง ๆ ด้วยกัน เริ่มต้นที่เรื่องของการเติบโตของงาน มีคนหางานเพิ่มมากขึ้น และโดยรวมนั้นเศรษฐกิจมีความแข็งแกร่งเพิ่มขึ้น ความเสถียรภาพของตลาดแรงงานเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน ความไม่แน่นอนของการทำงานยังลดลงอีกด้วย
Key Event ที่น่าสนใจที่จะเกิดขึ้นในสัปดาห์และอาจจะทำให้เกิดความผันผวนกับสินทรัพย์ดิจิทัล
5 สิงหาคม
6 สิงหาคม
7 สิงหาคม
9 สิงหาคม
ในส่วนของ Funding rate สำหรับอาทิตย์นี้มีการปรับตัวลดลงอย่างเห็นได้ชัด Altcoins บางเหรียญเริ่มมี Funding rate ติดลบ ซึ่งบ่งบอกถึงสภาพตลาดที่ย่ำแย่ในช่วงนี้ และมีการเปิดสถานะชอร์ตของนักลงทุนที่เพิ่มขึ้น
ในฝั่งของ Bitcoin Open Interest ปริมาณเงินลดลงหลังจากการ Rebound ครั้งล่าสุดอย่างเห็นได้ชัด สามารถตีความได้ว่า นักลงทุนได้ทำการ Risk-off โดยการลดสถานะและลดการใช้ Leverage จากการที่ราคาตกลงอย่างรวดเร็ว
ในส่วนของ Bitcoin ETF Flow ในสัปดาห์ที่ผ่านมามีกระแสเงินไหลออกจาก Spot Bitcoin ETFs รวมเป็นจำนวนทั้งสิ้น 80.7 ล้านเหรียญ ซึ่งแรงซื้อส่วนใหญ่ที่มาจาก IBIT ก็ไม่สามารถเอาชนะแรงเทขายจากทั้ง FBTC, GBTC, และ BITB ได้ ทำให้เกิดเป็นแรงเทขายสุทธิในตลาด
หลังจากเปิดการซื้อขายอย่างเป็นทางการของ Spot Ethereum ETF ในวันที่ 23 กรกฎาคม 2567 ปัจจุบันมีกระแสเงินไหลออก รวมเป็นจำนวนทั้งสิ้น 511.2 ล้านเหรียญ ซึ่งแรงเทขายทั้งหมดมาจาก ETHE ของ Grayscale ที่มีการตั้งค่าธรรมเนียมสูงกว่าเจ้าอื่น แต่หากสังเกตแรงเทขาย จะเห็นแนวโน้มของตัวเลขที่ชะลอลงเรื่อยๆ และทำให้บางวันเป็นยอดเงินไหลเข้าสุทธิได้ ถึงแม้จะเป็นภาพไม่ดีในระยะสั้น แต่ในระยะยาว การอนุมัติ Spot Ethereum ETF ก็ยังเป็นปัจจัยหนึ่งที่จะส่งผลเชิงบวกกับสินทรัพย์ดิจิทัล
ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา หลายสินทรัพย์ต้องเผชิญกับความผันผวนที่สูงมาก ทั้งตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกา ตลาดหุ้นเอเชีย และตลาดคริปโตเคอร์เรนซี ข้อมูลจาก Coinglass ในวันที่ 5 สิงหาคม แสดงให้เห็นว่า Liquidation ที่เกิดขึ้นในตลาดคริปโตเคอร์เรนซี 24 ชั่วโมงที่ผ่านมานั้น สูงถึง 1 พันล้านเหรียญ ซึ่งปัจจัยหลักที่ทำให้ตลาดเกิดความผันผวนและปรับตัวลงอย่างรุนแรง มีดังนี้
1. ความกังวลที่จะเกิด Recession หรือเศรษฐกิจถดถอยในอเมริกา จากตัวเลขการว่างงานที่ปรับตัวสูงขึ้น
2. นโยบายการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% ของธนาคารกลางญี่ปุ่น ส่งผลให้นักลงทุนที่ทำ Carry trade ระหว่างค่าเงินดอลลาร์และเยนเริ่มหมุนกลับ และเกิดการไหลออกของเม็ดเงินจากตลาดสินทรัพย์เสี่ยง
3. ความตึงเครียดของสงครามระหว่างอิสราเอลและอิหร่าน
ถึงแม้จะมีปัจจัยลบดังกล่าว แต่มุมมองต่อตลาดคริปโตเคอร์เรนซีก็ยังไม่ได้เปลี่ยนไป ทั้งเรื่องของการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของ Fed ในช่วงครึ่งปีหลัง การเลือกตั้งของสหรัฐอเมริกา และการเข้ามาของนักลงทุนสถาบัน ซึ่งทั้งหมดนี้ ก็ยังเป็นปัจจัยบวกในระยะยาว
นอกจากนี้ ความกังวลของตลาดเรื่องของการเกิดเศรษฐกิจถดถอยนั้น ตลาดอาจจะทำการ Priced in ล่วงหน้ามากจนเกินไป และ Fed ยังคงมีเครื่องมือและพื้นที่ในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่จะสามารถป้องกันเหตุการณ์ดังกล่าวได้
หากพิจารณา Short Term Holder MVRV ซึ่งเป็นเครื่องมือชี้วัดอัตรากำไรขาดทุนของนักลงทุนระยะสั้นที่มีการถือครองน้อยกว่า 155 วัน จะเห็นได้ว่า ปัจจุบันตัวเลขอยู่ที่ 0.88 แสดงว่านักลงทุนระยะสั้นขาดทุนอยู่กว่า 12% และเมื่อเปรียบเทียบกับข้อมูลในอดีต แรงเทขายจากนักลงทุนกลุ่มนี้จะน้อยลง ซึ่งเป็นการบ่งบอกจุดเข้าสะสมที่ดี
มุมมองและปัจจัยบวกที่มีต่อตลาดคริปโตเคอร์เรนซียังไม่ได้หายไปไหน เพียงแต่ตลาดให้ความสำคัญกับปัจจัยลบในระยะสั้น จนทำให้เกิดการปรับตัวลงของราคาขนาดใหญ่ อย่างไรก็ตาม ข้อดีของการลงทุนในตลาดที่มีความผันผวนสูงนั้น คือการที่ราคาของสินทรัพย์ที่ดีอาจจะต่ำจนไม่สมเหตุสมผล อย่างที่ Warren Buffet เคยได้กล่าวไว้
$BTC ราคาลงรุนแรงจนหลุดกรอบชุดสะสม ถ้าหากราคามีการปิดต่ำกว่าแนวรับของกรอบดังกล่าวเป็นมุมมองที่ Bearish อย่างมาก อย่างไรก็ตามในระยะสั้นแล้วอาจจะมีการ Retrace กลับขึ้นมาเพราะว่า RSI นั้นอยู่ในจุด Oversold แล้ว ในมุมมองของแท่งเทียนหากยังไม่มีการทำ Higher High หรือ Higher Low ได้ก็มีโอกาสที่น้อยในการกลับตัวเพื่อขึ้นต่อไปได้
แนวต้าน : $52,500 | $56,500 | $61,000
แนวรับ : $48,500 | $44,200 | $41,000
$ETH หลังจากหลุดกรอบสะสม Descending Triangle ก็มีการลงอย่างรุนแรง โดยในระยะสั้นอาจจะมีการ Retrace ได้จาก RSI ที่ Oversold แล้วโดยอาจขึ้นไปถึงแนวรับที่ผ่านลงมาบริเวณ $2,400 ทั้งนี้แล้วการขึ้นอาจจะเป็นการเด้งเพื่อลงต่อ จากการที่ยังไม่มีสัญญาณกลับตัวทำให้ในภาพรวมนั้นกราฟยังคงเป็นขาลงอยู่
แนวต้าน : $2,400 | $2,870 | $3,350
แนวรับ : $2,125 | $1,870 | $1,525
"มีความเป็นไปได้สูง" ของการลดดอกเบี้ยของ FED จะมาถึงในเดือนกันยายน และ Bitcoin Dominance ปรับตัวขึ้นสู่ระดับสูงมากกว่า 50% และการมาของ Ethereum spot ETF และมุมมองเชิงบวกมากๆต่อตลาดคริปโทในสหรัฐในเชิงการเมืองที่อาจจะเห็นภาพชัดเจนในไตรมาสที่ 4 และเมื่อพิจารณาตัวเลขเศรษฐกิจที่ผันผวนในสัปดาห์นี้ จึงแนะนำให้นักลงทุนถือสัดส่วนของ Bitcoin เอาไว้เพื่อลด Drawdown โดยรวมของพอร์ต และเพิ่มสัดส่วนของ Ethereum ในพอร์ตเพิ่มขึ้น บวกกับถือสัดส่วนของ Altcoins ที่มีพื้นฐานที่ดีรับสัญญาณของ Altcoins season และเก็บ Stablecoin ที่เป็น USD เพื่อใช้เป็นไม้สำรอง
BITCOIN 40%
SELECTIVE ALTCOINS (ETH, LAYER 2 ,LSD) 40%
STABLECOIN 20%
Disclaimer