Merkle Weekly Snapshot 9th - 13th September 2024

September 11, 2024

thumbnail

Merkle Weekly Snapshot

 

9th - 13th September 2024

 

บทวิเคราะห์มุมมองการลงทุนในสัปดาห์นี้

 


 

หมายเหตุ : บทวิเคราะห์นี้จัดทำขึ้นในทุกวันจันทร์ ดังนั้นบทความบางส่วนอาจจะมีความคลาดเคลื่อนของข้อมูลได้

 

MACROECONOMICS

 

Key Takeaways

  • Core CPI MoM และ CPI MoM มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้น
  • Core PPI MoM และ PPI MoM มีแนวโน้มที่จะคงที่

 

WEEKLY TONE: MONITOR WEEK

 

  ดัชนีเศรษฐกิจสำคัญของสัปดาห์นี้อย่าง Core CPI และ Core PPI ส่งสัญญาณให้ตลาดคงท่าทีระมัดระวัง แนวโน้มการเพิ่มขึ้นของ Core CPI ชี้ให้เห็นว่าแรงกดดันด้านเงินเฟ้อยังคงอยู่ ซึ่งทำให้การตัดสินใจเรื่องอัตราดอกเบี้ยของ Fed ซับซ้อนยิ่งขึ้น ขณะที่ Core PPI ที่คงที่แสดงว่าเงินเฟ้อด้านการผลิตยังคงอยู่ในระดับคงตัว ด้วยสัญญาณที่ผสมกันเช่นนี้ นักลงทุนจึงมีแนวโน้มที่จะรอดูสถานการณ์ก่อนตัดสินใจลงทุนครั้งใหญ่ จนกว่าจะมีข้อมูลชัดเจนเพิ่มเติมจากธนาคารกลางหรือดัชนีเศรษฐกิจอื่น ๆ

 


 

Important Economic Data this week :

 

1. Core CPI and Core Inflation Rate

 

  Core CPI หรือ Core Consumer Price Index จะสามารถใช้ชื่อเรียกอีกอย่างได้คือ Core Inflation Rate หรือแปลว่า อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน คือ อัตราการเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป ที่หักสินค้าในหมวดอาหารสดและพลังงานออก เนื่องจากเป็นหมวดที่มีความเคลื่อนไหวขึ้นลงตามฤดูกาล และอยู่นอกเหนือการควบคุมของนโยบายการเงิน เหลือแต่รายการสินค้าที่ราคาเคลื่อนไหวตามกลไกตลาด

 

คาดการณ์จาก Tradingeconomic: Core CPI มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นจาก 0.2% เป็น 0.3%

 

Source : https://tradingeconomics.com/united-states/core-inflation-rate-mom

 

ตีความอย่างไรต่อตลาด

  การมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นของ Core CPI หมายความว่า ราคาสินค้าและบริการโดยรวมยกเว้นอาหารและพลังงานมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้น แลัะยังเป็นปัญหาอย่างมากต่อ FED ในการตัดสินใจในเรื่องของอัตราดอกเบี้ย การเพิ่มของ Core CPI ยังส่งสัญญาณว่าอัตราเงินเฟ้อนั้นยังคงเป็นปัญหาอยู่ แต่อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจต่ออัตราดอกเบี้ยของ FED นั้นยังต้องคำนวณกับตัวชี้วัดอื่นๆ อีกด้วย

 

2. Core PPI MoM

 

 Core PPI หรือ Core Producer Price Index คือ ดัชนีวัดค่าการเปลี่ยนแปลงในราคาขายสำหรับสินค้าและบริการต่าง ๆ ที่ผู้ผลิตได้ขายโดยที่ไม่รวมถึงสินค้าประเภทอาหารและพลังงาน ดัชนีราคาผู้ผลิตจะวัดค่าการเปลี่ยนแปลงในราคาจากมุมองของผู้ขาย เมื่อผู้ผลิตมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นสำหรับการผลิตสินค้าและบริการนั้นก็น่าจะเป็นไปได้มากว่าผู้ผลิตจะให้ผู้บริโภคแบกรับต้นทุนที่เพิ่มขึ้นนั้นแทน ดังนั้นดัชนีราคาผู้ผลิตนี้จึงเชื่อว่าเป็นดัชนีสำคัญที่จะชี้วัดภาวะเงินเฟ้อของผู้บริโภค

 

คาดการณ์จาก Tradingeconomic: Core PPI MoM นั้นมีแนวโน้มที่จะคงตัวอยู่ที่ 0.1%

 

Source : https://tradingeconomics.com/united-states/producer-price-inflation-mom

 

ตีความอย่างไรต่อตลาด

  ดัชนีราคาผู้ผลิตพื้นฐาน (Core PPI) ที่คงที่บ่งชี้ว่าแรงกดดันเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับที่เสถียร โดยมีความผันผวนของต้นทุนการผลิตที่น้อย ซึ่งสื่อถึงการที่ปัญหาในห่วงโซ่อุปทานอยู่ในระดับที่จัดการได้และต้นทุนการผลิตไม่ได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ไม่ได้เป็นปัจจัยกดดันให้ Fed ลดอัตราดอกเบี้ยทันที

 


 

CRYPTOCURRENCY EVENT THIS WEEK

Credit from Layergg and Coindar

 

Key Event ที่น่าสนใจที่จะเกิดขึ้นในสัปดาห์และอาจจะทำให้เกิดความผันผวนกับสินทรัพย์ดิจิทัล

 

    9 กันยายน

  • $ENJ - อัพเกรด RelayChain v1.3 และ MatrixChain v1.1
  • Fractal - เปิดตัว Mainnet และ TGE
  •  

    10 กันยายน

  • การโต้วาที Trump vs. Harris
  •  

    11 กันยายน

  • ประกาศค่า U.S. CPI
  • $OP - Hard Fork
  • $HBAR - อัพเกรด Mainnet
  •  

    12 กันยายน

  • ประกาศค่า U.S. PPI
  •  

    13 กันยายน

  • $POL - ลิสต์กระดาน Binance
  •  

    Weekly Crypto Must Watch

     

    Source : https://www.coinglass.com/FundingRateHeatMap

     

      ในส่วนของ Funding rate สำหรับอาทิตย์นี้มีการปรับตัวลงเล็กน้อย หลายเหรียญมี Funding rate ติดลบ แสดงถึงตลาดที่เป็นภาพของปรับตัวลง นักลงทุนมีมุมมองเชิงลบต่อตลาด และทำการเปิดสถานะชอร์ตมากกว่าสถานะลอง โดยรวมแล้ว บ่งบอกถึง Sentiment ของตลาดที่ไม่ค่อยดี

     

    Source : https://www.coinglass.com/BitcoinOpenInterest

     

      ในฝั่งของ Bitcoin Open Interest มีการปรับตัวลดลง บ่งบอกถึงการลดความเสี่ยงของนักลงทุนในระยะสั้น ทั้งนี้ อาจจะมาจากเหตุผลเรื่องความไม่แน่นอนทาง Macroeonomics และทำให้นักลงทุนจับตามองการประกาศของ Fed กลางเดือนนี้ ว่าจะมีการดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยอย่างไร

     

    Source : https://farside.co.uk/?p=997

     

      ในส่วนของ Bitcoin ETF Flow ในสัปดาห์ที่ผ่านมามีกระแสเงินไหลออกจาก Spot Bitcoin ETFs รวมเป็นจำนวนทั้งสิ้น 706.1 ล้านเหรียญ นับว่าเป็นแรงเทขายจากนักลงทุนสถาบันปริมาณมาก โดยไม่มีแรงซื้อจาก IBIT และมีแรงเทขายสุทธิจากเกือบทุกเจ้า บ่งบอกถึงการ Risk-off ของนักลงทุนสถาบันอย่างเห็นได้ชัด ส่วนนึงมาจากปัจจัยเรื่องความไม่แน่นอนของ Macroeconomics และความกังวลเรื่องการ Unwind Yen Carry trade อีกรอบ

     

    Source : https://farside.co.uk/?p=1518

     

      ในส่วนของ Ethereum ETF Flow ในสัปดาห์ที่ผ่านมามีกระแสเงินไหลออกทั้งสิ้น 91.1 ล้านเหรียญ ซึ่งยังคงเป็นแรงเทขายจาก ETHE เป็นหลัก และมีแนวโน้มที่จะเทขายมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจาก Ethereum ถูกมองว่าเป็นสินทรัพย์ที่เสี่ยงกว่า Bitcoin ทำให้โอกาสที่จะมีเม็ดเงินใหม่ๆ ไหลเข้ามามีน้อยในระยะสั้น

     

    Navigate Uncertainty

     

      ตลาดคริปโตเคอร์เรนซีในปัจจุบันขึ้นอยู่กับข้อมูล Macroeconomics มากขึ้น เนื่องจากนักลงทุนมีความกังวลเรื่อง Recession ทำให้การจับตามองการดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยของ Fed ส่งผลกระทบต่อการลงทุน โดยปัจจุบัน ตลาดคาดการณ์ว่า Fed จะลดอัตราดอกเบี้ย 25 bps ในวันที่ 19 กันยายนนี้

     

      เนื่องจากตลาดรอทั้งการประกาศตัวเลข CPI, PPI, และนโยบายอัตราดอกเบี้ย ทำให้นักลงทุนมีการ Risk-off อย่างเห็นได้ชัด สังเกตจากตัวเลขการซื้อขายของ Spot Bitcoin ETF และ Spot Ethereum ETF ที่มีการเทขายของนักลงทุนสถาบันอย่างต่อเนื่องทุกวัน นอกจากนี้ Volume การซื้อขายบน DEX ทั้งบน Ethereum และ Solana ก็มีการตกลงอย่างเห็นได้ชัด โดยมีการย่อตัวกว่า 30% และ 50% เมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณการเทรด 4 เดือนก่อนตามลำดับ

     

    Source : https://www.coinbase.com/institutional/research-insights

     

      การ Risk-off ของนักลงทุนที่แสดงผ่านกิจกรรมการเทรดที่ลดลง ส่งผลให้ราคาเหรียญคริปโตเคอร์เรนซีหลายๆ เหรียญมีลักษณะ Sideways down หากพิจารณาดัชนี Sell-side Risk Ratio ซึ่งเป็นการนำ Realized profit and loss มาเทียบกับขนาดตลาด โดยสามารถวิเคราะห์ได้ ดังนี้

    • ค่าสูง บ่งบอกว่าเหรียญที่มีการซื้อขายนั้น มีกำไรสูงหรือขาดทุนสูงเมื่อเทียบกับต้นทุน ส่งผลให้ตลาดต้องหา Equilibrium ใหม่ อาจตามมาด้วยความผันผวนที่สูงขึ้น
    • ค่าต่ำ บ่งบอกว่าเหรียญที่มีการซื้อขายนั้น มีมูลค่าใกล้เคียงกับต้นทุน หรือตลาดได้เจอ Equilibrium แล้ว ทำให้ตลาดมีความผันผวนต่ำ

     

    ปัจจุบัน ดัชนีนี้มีค่าที่ค่อนข้างต่ำ บ่งบอกว่าตลาดได้เจอจุดสมดุลแล้ว และอาจจะมีความผันผวนเพิ่มขึ้น เมื่อดัชนีมีการกลับตัว ทั้งนี้ นักลงทุนควรให้ความสำคัญกับการประกาศค่า Macroeconomics ที่กำลังจะมาถึงและสังเกต Reaction ที่ตลาดตอบรับ

     

    Source : https://insights.glassnode.com/the-week-onchain-week-36-2024/

     


     

    WEEKLY TECHNICAL ANALYSIS

    by Cryptomind Advisory

     

    BTC/USDT

     

      $BTC มีการปรับตัวย่อลงมาอีกครั้งหนึ่งในวีคนี้ ราคานั้นเคลื่อนตัวอยู่บริเวณแนวรับในกรอบขาลงบริเวณ $53,500 ในระยะยาวแล้วการเคลื่อนที่ของราคาที่จะเป็นสัญญาณขาขึ้นได้ต้องมีการปิดแท่งเทียนเหนือบริเวณ $61,000 ในระยะสั้นหากราคาไม่ได้มีการตกลงต่ำกว่าแนวรับ $52,500 ก็มีโอกาสที่ $BTC จะสร้างชุดสะสม Sideway ออกไปก่อนในระยะข้างหน้าในกรอบ $52,500 และ $56,000 จากการลงที่รุนแรงช่วงที่ผ่านมาควรระมัดระวังความผันผวนรุนแรงในช่วงสัปดาห์นี้

     

    แนวต้าน : $56,000 | $61,000 | $67,000

    แนวรับ : $52,500 | $48,000 | $44,000

     

    ETH/USDT

     

      ETH ในภาพใหญ่ยังคงเป็นขาลง ทำ Lower Low ต่อเนื่อง ในระยะสั้นแล้วการปิดตัวต่ำกว่า $2,400 นั้นเป็นการสร้าง Momentum ขาลง ทำให้ในระยะข้างหน้ามีโอกาสที่ $ETH จะ Sideway Down ออกไปก่อน แนวราคาสำคัญที่ต้องดูของ $ETH อยู่ที่ $2,100 ซึ่งหากรับอยู่ก็มีโอกาสกลับตัวได้และอาจมาพร้อมกับ Divergence ในตัว RSI แต่หากลงต่ำกว่านั้นก็อาจมองได้ว่าขาลงยังไม่สิ้นสุด ในอีกมุมหนึ่งหาก $ETH สามารถกลับไปยืนเหนือ $2,400 ได้ก็จะเป็นการทรงตัวของราคาที่ดีและทำให้ Momentum กลับมาเป็นการสร้างชุดสะสมเพื่อลุ้นโอกาสขึ้นต่อได้เช่นกัน

     

    แนวต้าน : $2,400 | $2,870 | $3,350

    แนวรับ : $2,125 | $1,870 | $1,550

     


     

    ASSET ALLOCATION

    by Cryptomind Advisory

     

      “มีความเป็นไปได้สูง” ของการลดดอกเบี้ยของ FED จะมาถึงในเดือนกันยายน และ Bitcoin Dominance ปรับตัวขึ้นสู่ระดับสูงมากกว่า 50% และการมาของ Ethereum spot ETF และมุมมองเชิงบวกมากๆต่อตลาดคริปโทในสหรัฐในเชิงการเมืองที่อาจจะเห็นภาพชัดเจนในไตรมาสที่ 4 และเมื่อพิจารณาตัวเลขเศรษฐกิจที่ผันผวนในสัปดาห์นี้ จึงแนะนำให้นักลงทุนถือสัดส่วนของ Bitcoin เอาไว้เพื่อลด Drawdown โดยรวมของพอร์ต และเพิ่มสัดส่วนของ Ethereum ในพอร์ตเพิ่มขึ้น บวกกับถือสัดส่วนของ Altcoins ที่มีพื้นฐานที่ดีรับสัญญาณของ Altcoins season และเก็บ Stablecoin ที่เป็น USD เพื่อใช้เป็นไม้สำรอง

     

    BITCOIN 40%

    SELECTIVE ALTCOINS (ETH, LAYER 2 ,LSD) 40%

    STABLECOIN 20%

    คริปโทเคอร์เรนซีมีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจำนวน

     

    ผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอนาคต

เรื่องราวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

Merkle Capital คือผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัลแห่งแรกในประเทศไทย ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานก.ล.ต. บริษัทให้การดูแลและบริหารเงินลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลแก่ลูกค้าด้วยกลยุทธ์ที่หลากหลายโดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนและการบริหารจัดการ