วิธีวางแผนการเงินสำหรับคู่ชีวิตเริ่มต้นอย่างไร

ตุลาคม 23, 2024

thumbnail

การแต่งงานนั้นถือว่าเป็นเหมือนจุดเริ่มต้นเล็ก ๆ ของชีวิตคู่ ชีวิตแต่งงานคือการที่คนสองคนรวมกันเป็นหนึ่งเดียวเพื่อสร้างอนาคตด้วยกัน และการวางแผนการเงินสำหรับชีวิตคู่นั้นก็ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญเช่นเดียวกัน

 

การวางแผนทางการเงินกับชีวิตคู่

 

การวางแผนทางการเงินกับชีวิตคู่

 

การวางแผนสำหรับเรื่องเงินและชีวิตคู่นั้น ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่งที่ทุกคนไม่ควรมองข้าม เรื่องเงินกับชีวิตคู่ถือว่าเป็นสิ่งที่ควรจะสอดคล้องกัน หลังจากที่แต่งงานกันแล้ว ก็เปรียบเสมือนว่าทั้งสามีและภรรยานั้นได้ลงเรือลำเดียวกัน ทั้งคู่ต้องช่วยกันแบกรับภาระทางการเงินต่าง ๆ ด้วยกัน และความสำคัญของการวางแผนด้านการเงินสามารถสร้างข้อได้เปรียบที่จะช่วยให้ครอบครัวนั้นสามารถออมเงินและได้รับผลตอบแทนงอกเงยขึ้นมาอีกด้วย อีกทั้งการวางแผนการศึกษาบุตรนั้นก็ถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะด้วยตัวสามีและภรรยาเองต้องเก็บออมเงินไว้ตั้งแต่แรก ๆ เพื่อที่จะใช้เงินออมนั้นเป็นค่าเล่าเรียนของบุตรนั้นเอง อีกทั้งการวางแผนด้านการเงินสำหรับชีวิตคู่นั้นยังสามารถสร้างประโยชน์มากมายอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น

 

  • รู้จักสำรวจรายรับรายจ่ายรายเดือน เพื่อที่จะเพิ่มประสิทธิภาพในการสำรวจรายรับรายเงินของครอบครัวตนเองในแต่ละเดือน และยังสามารถที่จะลดค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือยอีกด้วย
  • สามารถคำนวณเงินเก็บในอนาคต เนื่องด้วยการที่ครอบครัวมีการวางแผนทางการเงิน และมีรายได้ต่อเดือนที่ค่อนข้างมั่นคง สามารถทำให้ครอบครัวคำนวณเงินในอนาคตของตนเองได้
  • ลดการใช้เงินฟุ่มเฟือย การใช้เงินฟุ่มเฟือยนั้นถือว่าเป็นปัญหาที่ใหญ่สำหรับสถาบันครอบครัวอย่างยิ่ง การวางแผนทางการเงินหลังชีวิตแต่งงาน สามารถช่วยลดปัญหาของการใช้เงินฟุ่มเฟือยได้ในระดับหนึ่ง
  • ผู้วางแผนทางการเงินยังได้รับประโยชน์ทางอ้อม นั้นคือการที่มีระเบียบวินัย เนื่องด้วยการวางแผนทางการเงินหลังชีวิตแต่งงาน ต้องมีแผนการออมเงินในทุก ๆ เดือนเป็นหลัก และการที่สามีและภรรยาออมเงินทุก ๆ เดือน ก็สามารถสร้างระเบียบวินัยให้ได้นั่นเอง
  • การวางแผนทางการเงินยังช่วยในเรื่องของการใช้เงินฉุกเฉินอีกด้วย เนื่องจากหากครอบครัวมีการวางแผนการเงินที่ดี จะมีเงินเก็บเหลือใช้ในยามฉุกเฉิน และด้วยเหตุนี้เอง ครอบครัวทุกครอบครัวควรที่จะมีการวางแผนทางการเงินหลังแต่งงานให้ดี

 

5 ประเด็นเกี่ยวกับการเงินในครอบครัว

 

ประเด็นเกี่ยวกับการเงินในครอบครัว

 

การเงินในชีวิตครอบครัวหรือหลังชีวิตแต่งงานนั้นถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เนื่องด้วยการเงินสามารถกำหนดทิศทางของสามีภรรยาและบุตรได้ และแน่นอนว่าการวางแผนการศึกษาบุตรนั้นก็มีความสำคัญมากเช่นกัน เพราะบุตรจะเป็นผู้เลี้ยงดูพ่อแม่ในยามที่พ่อแม่แก่ตัวลง และนี้คือ 5 ประเด็นเกี่ยวกับการเงินในครอบครัวที่ทุกครอบครัวควรทำความเข้าใจ

 

1. ทัศนคติเรื่องเงิน แน่นอนว่าแต่ละบุคคลนั้นก็มีความคิดเป็นของตัวเอง ซึ่งนั้นไม่ใช่เรื่องที่ผิดเลยทีเดียว แต่คนในครอบครัวต้องคุยกันและเข้าใจกันในเรื่องของการเงิน เพราะแต่ละคนก็จะมีความคิดเกี่ยวกับเงินที่ต่างกันไป ยกตัวอย่างเช่น สามีมีความคิดที่จะออมเงินไว้ใช้เมื่อยามฉุกเฉิน แต่ภรรยาออมเงินเพื่อที่จะใช้ไปเที่ยวพักผ่อน สุดท้ายแล้วทุกคนในครอบครัวต้องคุยกัน เคารพการตัดสินใจซึ่งกันและกัน จงอย่าลืมว่าการวางแผนเรื่องการเงินหลังแต่งงานนั้นสำคัญ และการออมเงินต้องคำนึงถึงความจำเป็นที่จะต้องใช้ด้วย 

 

2. แผนสำรอง การมีแผนสำรองสามารถทำให้ชีวิตหลังแต่งงานนั้นสบายใจได้ เพราะเรื่องที่ไม่คาดคิดมักเกิดขึ้นได้เสมอ แผนสำรองสามารถช่วยให้แก้ไขในสถานการณ์นี้ได้ดีขึ้น และแผนสำรองนั้นไม่ได้วางแผนได้แค่เรื่องเงิน เรื่องนี้ยังสามารถช่วยให้ครอบครัวนั้นรู้จักการเตรียมการ เพื่อที่จะได้รับมือกับสิ่งเกิดได้ง่ายขึ้น ยกตัวอย่างเช่น หากมีคนในครอบครัวคนนึงเกิดตกงานหรือต้องออกจากงาน แต่ทางครอบครัวนั้นยังเหลือเงินสำรองไว้ใช้ และนี้คือความสำคัญของการวางแผนสำรอง

 

3. ระดับของการเป็นหนี้ การเป็นหนี้คือเรื่องที่ไม่ควรปิดบังในสถาบันครอบครัว หลังชีวิตแต่งงาน ทั้งสองคนควรพูดคุยกันเรื่องหนี้สินที่ตนเองนั้นมีอยู่แล้ว และต้องให้ความสำคัญกับการเก็บออมเงินเพื่อที่จะได้ปลดหนี้ให้สำเร็จ และควรปรึกษากันว่าครอบครัวของเรานั้นสามารถรับหนี้สินได้มากที่สุดเท่าไหร่เมื่อเปรียบเทียบกับสถานะทางการเงินในแต่ละเดือน และสุดท้ายหากเป็นหนี้ ควรเริ่มชำระจากหนี้ที่มีดอกเบี้ยสูงที่สุดก่อนและไล่ลงไปเรื่อย ๆ จนถึงหนี้ที่มีดอกเบี้ยต่ำสุดนั้นเอง 

 

4. บัญชีรวมหรือแยกบัญชี ในชีวิตแต่งงาน บางคู่สมรสได้เลือกที่จะใช้บัญชีเดียวกัน ซึ่งก็สามารถทำได้ แต่ในบางครอบครัวที่เลือกจะแยกบัญชีกันซึ่งก็ไม่ได้เป็นเรื่องที่ผิดแต่อย่างใด แต่หนึ่งข้อแนะนำที่สามารถสร้างผลดีให้กับสองฝ่ายนั้นก็คือ การที่มีบัญชีส่วนตัวไว้แบบเดิม และเปิดบัญชีใหม่เป็นบัญชีรวมกัน ซึ่งในแต่ละบัญชีเดี่ยว ทั้งสองฝ่ายก็สามารถโอนเงินเข้ามาฝากไว้เป็นกองกลางเพื่อใช้จ่ายตามความจำเป็นของครอบครัว และการออมเงินในลักษณะนี้ไม่ใช่ว่าทั้งสองฝ่ายต้องโอนเงินเข้ามาออมในจำนวนที่เท่ากัน แต่สามารถอิงจากฐานเงินเดือนหรือสถานะทางการเงินในแต่ละเดือนไม่ให้มากหรือน้อยจนเกินไป

 

5. แผนการเงินตามความเป็นจริง การวางแผนการเงินหลังชีวิตแต่งงานนั้นสามารถทำให้เป็นเรื่องง่าย โดยการวางแผนนั้นจำเป็นที่จะต้องอิงจากความเป็นจริงและสำรวจรายรับรายจ่ายของแต่ละคนในทุก ๆ เดือน และแผนการเงินนั้นจำเป็นที่จะต้องอิงกับปัจจุบันให้ได้มากที่สุด เพราะจะทำให้ได้ผลดีมากที่สุดเช่นกัน แผนการเงินสามารถสร้างข้อดีได้มหาศาล ยกตัวอย่างเช่น การไม่ใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย การมีเงินเก็บไว้ใช้หลังชีวิตเกษียณ การใช้จ่ายที่เป็นก้อนใหญ่ไม่ว่าจะเป็น รถ บ้าน หรือคอนโด การลงทุนต่าง ๆ ที่สามารถทำให้เงินออมงอกเงยได้ 

 

โดยรวมแล้วการเงินในครอบครัวไม่ได้สร้างแค่ความมั่นคงในครอบครัวเพียงอย่างเดียว แต่ยังสามารถสร้างความสุขให้กับคนในครอบครัวทุก ๆ คนอีกด้วย เพราะแต่ละคนที่มีสถานะทางการเงินที่ไม่เท่ากัน การคุยและวางแผนทำให้เข้าใจกันได้มากขึ้น รวมไปถึงการวางแผนทางการเงินทำให้คนที่เป็นพ่อหรือแม่ของบุคคลที่แต่งงานกันนั้น สามารถไว้วางใจลูกชายและลูกสาวของตนในเรื่องเงินได้ และการดูแลบุตรของครอบครัวนั้นก็จะยกระดับขึ้นไปอย่างมีนัยสำคัญ และนี้คือประโยชน์ของการวางแผนด้านการเงินในครอบครัว 

 

  • การจัดลำดับความสำคัญของเรื่องการเงินในครอบครัว การจัดลำดับของความจำเป็นในการใช้จ่ายนั้น เป็นเรื่องที่สำคัญมากแม้ว่าจะมีเงินออมเยอะมากน้อยเพียงใด แต่ถ้าหากจัดลำดับการใข้จ่ายไม่ถูกต้อง เงินออมก็สามารถหมดได้ โดยการจัดลำดับความสำคัญของการใช้เงินนั้นต้องอิงจากความจริงและไม่ใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่ายนั้นเอง
  • การลดความเสี่ยง ในที่นี้การลดความเสี่ยงสามารถแปลได้หลายความหมาย แต่ความหมายหลัก ๆ คือการที่ลดความเสี่ยงในการไม่มีเงินใช้จ่ายที่จำเป็น
  • การลงทุน การวางแผนด้านการเงินของครอบครัวทำให้แต่ละครอบครัวมีเงินออมอยู่ประมาณหนึ่ง และสามารถทำการลงทุนได้ การลงทุนในที่นี้ทางครอบครัวสามารถเลือกลงทุนได้ตามสินทรัพย์ที่ทางครอบครัวชื่นชอบได้ แต่อย่าลืมว่านี้เป็นเงินออมของครอบครัว การลงทุนที่มีความเสี่ยงน้อยจึงตอบโจทย์ที่สุด แต่อย่างไรก็ตาม ทางครอบครัวก็สามารถที่จะทำการจัดการพอร์ตการลงทุนด้วยตนเองได้ ยกตัวอย่างเช่น การที่ลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงมาก 15% สินทรัพย์เสี่ยงปานกลาง 35% และสินทรัพย์เสี่ยงน้อย 50% 

 

5 บัญชีทางการเงินสำหรับครอบครัว

 

บัญชีทางการเงินสำหรับครอบครัว

 

การวางแผนทางการเงินและการทำบัญชีรายรับรายจ่ายหลังแต่งงานนั้นถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมาก และบัญชีทางการเงินสำหรับครอบครัวก็เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยในการเก็บออมและแยกบัญชีไว้ไม่ให้รวมกัน และยังเป็นการแยกความจำเป็นในการใช้เงินทำให้ครอบครัวนั้นได้รับรู้ถึงความจำเป็นในการใช้เงินและไม่เอาเงินจากส่วนอื่น ๆ ที่เก็บออมมาใช้อีกด้วย

 

1. บัญชีกองกลางของครอบครัว : ก่อนที่จะเริ่มการออมเงินในบัญชีนี้ ทั้งสามีและภรรยาต้องสำรวจทั้งรายรับและรายจ่ายของแต่ละคนก่อนว่าแต่ละเดือนหักลบแล้วมีเงินคงเหลือเท่าไหร่ และการเก็บออมนั้นก็ต้องแบ่งจำนวนเงินของแต่ละคนตามสถานะการเงินของคนคนนั้นอีกด้วย เพื่อป้องกันการออมเงินมากหรือน้อยจนเกินไป บัญชีกองกลางของครอบครัวจะมีไว้เพื่อใช้จ่ายค่าส่วนกลาง ยกตัวอย่างเช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าผ่อนบ้าน ค่าผ่อนรถ ค่าเดินทาง หรือค่าใช้จ่ายอื่น ๆ 

 

2. บัญชีเงินออมและสำรองเผื่อฉุกเฉิน : เงินออมฉุกเฉินเป็นสิ่งที่ทุกครอบครัวควรมีไว้เป็นหลักประกันของครอบครัว โดยที่เงินสำรองฉุกเฉินนั้นควรครอบคลุมค่าใช้จ่ายรายเดือนของครอบครัวอย่างน้อย 3-6 เดือน โดยควรฝากไว้ในบัญชี เช่น บัญชีออมทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูงและสามารถถอนออกมาใช้ได้เลย เงินสำรองฉุกเฉินนั้นสามารถใช้ได้หลากหลายสถานการณ์ ยกตัวอย่างเช่น เกิดอุบัติเหตุ ต้องออกจากงานด่วน ต้องย้ายไปต่างประเทศหรือต่างจังหวัดด่วน เจ็บป่วย ซ่อมแซมบ้านหรือรถ เป็นต้น 

 

3. บัญชีการลงทุนของครอบครัว : การลงทุนในเงินออมนั้นไม่จำเป็นที่จะต้องเอาเงินออมทั้งหมดมาลงทุน เพราะอาจเกิดความเสี่ยงได้ การแบ่งเงินออมมาลงทุนอย่างน้อย 10% ต่อเดือน นำมาลงทุนในสินทรัพย์ที่ทางครอบครัวชอบก็สามารถเพิ่มเงินออมให้งอกเงยได้มากกว่าการที่ฝากเงินเพื่อรอรับดอกเบี้ยอย่างเดียว การเลือกสินทรัพย์ในการลงทุน ทางครอบครัวต้องเลือกโดยที่อิงจากผลตอบแทนและความเสี่ยงเป็นหลัก โดยสินทรัพย์แต่ละประเภท ก็จะมีความเสี่ยงที่แตกต่างกันออกไป โดยแบ่งได้ดังนี้ สินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงน้อยเช่น ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร พันธบัตรรัฐบาล สินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงปานกลางเช่น กองทุนรวม สินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงเช่น สินทรัพย์ดิจิทัล หรือ คริปโตเคอร์เรนซี โดยที่สินทรัพย์ดิจิทัลนั้นเป็นสินทรัพย์ที่ใหม่ที่สุดในตลาดโลก ทำให้มันมีโอกาสเติบโตที่มากกว่าสินทรัพย์อื่น ๆ อีกทั้งผู้คนยังให้ความสนใจมาก เนื่องด้วยโอกาสเติบโตของสินทรัพย์นี้สูง สินทรัพย์ดิจิทัลนั้นจึงเป็นอีกหนึ่งสินทรัพย์ทางเลือกที่น่าสนใจเมื่อเปรียบเทียบความเสี่ยงและอัตราผลตอบแทนสูงสุด

 

4. บัญชีอนาคตเพื่อบุตร : บัญชีนี้เป็นอีกหนึ่งบัญชีสำคัญของสามีภรรยาที่ตั้งใจจะมีบุตรอย่างมาก และการเก็บออมให้บุตรเปรียบเสมือนการปูทางเดินทางเท้าให้บุตรได้ ด้วยการที่เก็บออมให้บุตรนั้นสามารถสร้างประโยชน์อย่างมหาศาลในหลาย ๆ เรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการศึกษาที่บุตรสามารถเข้าโรงเรียนที่มีการให้ความรู้ที่ครบถ้วนและได้รับการดูแลเอาใจใส่ที่ดีจากครูในโรงเรียน และยังถือเป็นการคัดกรองให้บุตรเจอเพื่อนที่ดีในโรงเรียนอีกด้วย และการออมนั้นยังสามารถทำให้บุตรมีเงินทุนในการสร้างธุรกิจหรือลงทุนเมื่อบุตรของท่านเริ่มเติบโตและก้าวเข้าสู้วัยทำงาน

 

บัญชีส่วนตัวเพื่อใช้จ่าย บัญชีใช้จ่ายส่วนตัวมีไว้เพื่อตอบสนองสิ่งที่แต่ละคนต้องการ เพราะแต่ละคนนั้นมีความคิด มีความต้องการและมีการใช้ชีวิตที่ไม่เหมือนกัน บัญชีใช้จ่ายส่วนตัวจึงเป็นอีกหนึ่งบัญชีที่สำคัญต่อสถาบันครอบครัวอย่างมาก 

โดยรวมแล้วการแยกการเก็บเงินในหลาย ๆ บัญชีสามารถดูแลได้ง่าย และยังสามารถควบคุมการใช้จ่ายได้ง่ายอีกด้วย อีกทั้งการแยกบัญชียังสร้างระเบียบวินัยในการวางแผนการเงินหลังชีวิตแต่งงานได้อีกด้วย

 

หมายเหตุ

คริปโทเคอร์เรนซีและโทเคนดิจิทัลมีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจำนวนและสินทรัพย์ดิจิทัลมีความเสี่ยง และ ผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอนาคต โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้

 

เรื่องราวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

Merkle Capital คือผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัลแห่งแรกในประเทศไทย ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานก.ล.ต. บริษัทให้การดูแลและบริหารเงินลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลแก่ลูกค้าด้วยกลยุทธ์ที่หลากหลายโดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนและการบริหารจัดการ