กันยายน 25, 2024
ค่าครองชีพ (Cost of Living) คือค่าใช้จ่ายต่อเดือนที่บุคคลหรือครอบครัวต้องจ่ายเพื่อรักษาระดับชีวิตที่พึงพอใจ หรือระดับที่ชีวิตที่สามารถพอยังใช้ชีวิตอยู่ได้ ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ๆ ค่าครองชีพประกอบด้วยค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ตั้งแต่ค่าใช้จ่ายกินอยู่ ค่าบ้าน ค่าเดินทาง ค่ารักษาพยาบาล หรือค่าสารธารณูปโภคต่าง ๆ ซึ่งค่าครองชีพจะแตกต่างกันไปในแต่ละเมืองหรือแต่ละประเทศขึ้นอยู่กับเศรษฐกิจ นโยบายรัฐบาล อัตราเงินเฟ้อ และความต้องการของผู้บริโภคในแต่ละพื้นที่
ค่าครองชีพในไทยช่วงต้นปี 2567 ลดลงจากปี 2566 จากดัชนีค่าครองชีพของ (Cost of Living Index) Numbeo โดยพบว่าค่าครองชีพของประเทศไทยลดลงจาก 40.7% ลงมาเหลือ 36% และเมื่อเทียบเป็นอันดับกับประเทศทั่วโลกแล้วพบว่า ลดลงมาจากลำดับที่ 79 มาอยู่ลำดับที่ 94 จาก 146 ประเทศทั่วโลก ค่าครองชีพที่ลดลงนับได้ว่าเป็นหมุดหมายที่ดีของประเทศไทยที่จะทำให้เติบโตต่อไปได้ในอนาคต
หากลองนำมาเปรียบเทียบกับประเทศในกลุ่ม South East Asia ของเราเองที่มีรูปแบบพื้นที่คล้าย ๆ กันและมีการค้าขายร่วมกันอย่าง ASEAN ประเทศไทยจะมีค่าครองชีพเป็นอย่างไร ซึ่งจากข้อมูงของ Numbeo แล้วสามารถเรียงลำดับได้ดังนี้ (เรียงจากมากไปน้อย)
ประเทศไทยมีค่าครองชีพอยู่ในอันดับ 4 ของ ASEAN โดยที่มี GDP เป็นอันดับ 2 ของอาเซียนและมี GDP ต่อหัวอยู่ที่อันดับ 4 ของ ASEAN เช่นกัน หากเทียบกับขนาดของ GDP และลำดับของค่าครองชีพลำดับที่ไทยอยู่ตอนนี้ก็นับว่าสมเหตุสมผล นับว่าไม่ได้มีปัญหาอะไร
อย่างไรก็ตามจากที่เราคนไทยอยู่ในประเทศไทยได้พบปัญหาภายในกันอยู่ในปัจจุบัน ราคาบ้านที่สูงจนผู้คนไม่สามารถครอบครองได้ คนส่วนมากที่ยังใช้เงินเดือนชนเดือน และเด็กจบใหม่ที่ไม่มีทางได้รับเงินเดือนที่เพียงพอสำหรับค่าครองชีพในปัจจัจุบันได้
จากค่าครองชีพ (Cost of Living) คือค่าใช้จ่ายต่อเดือนที่บุคคลหรือครอบครัวต้องจ่ายก็จะมีค่าใช้จ่ายหลัก ๆ ที่บังคับต้องจ่ายอย่างค่าอาหารการกิน ค่าการเดินทาง และค่าใช้จ่ายยิบย่อย ต่าง ๆ อย่างค่าไฟ ค่านำ้ ค่าความสุขหรือค่าสังคมต่าง ๆ ซึ่งหากเปรียบค่าใช้จ่ายทั้งหมดเป็น 100 แล้วค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ทั้งหมดแบ่งกันเป็นเปอร์เซ็นเท่าไหร่
โดยจะเรียงจากมากไปน้อย (ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติครึ่งปีแรกปี 2566)
อาหาร เครื่องดื่ม ยาสูบ 8,575 บาท (35.2%)
ค่าที่อยู่อาศัยและเครื่องใช้ 5,295 บาท (21.7%)
ยานพาหนะ การเดินทาง3 880 บาท (15.9%)
ค่าใช้จ่ายที่ไม่เกี่ยวกับการบริโภค3100บาท (12.7)
เครื่องนุ่งห่มของใช้ส่วนบุคคล 1,446 บาท (6.0%)
ค่าใช้จ่ายการสื่อสาร864 บาท (3.6%)
ค่าใช้จ่ายการศึกษา345บาท (1.4%)
เวชภัณฑ์และค่ารักษาพยาบาล344บาท (1.4%)
ความบันเทิงและจัดงานพิธี291บาท (1.2%)
กิจกรรมทางศาสนา222บาท (0.9%)
รวม21,262บาท (100%)
อันดับหนึ่งอยู่ที่อาหารการกินที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน รองลงมาเป็นที่อยู่อาศัยซึ่งจำเป็นเช่นกัน จะเห็นได้ว่าสองอย่างนี้เป็น 2 ในปัจจัย 4 แต่ที่แปลกอย่างหนึ่งคือ ยานพาหนะและการเดินทางกินอัตราส่วนที่สูงมาก ราว 15% ของรายได้ ทั้งนี้ยังมีค่าใช้จ่ายยิบย่อยที่จำเป็นในชีวิตอย่าง ค่าใช้จ่ายการสื่อสาร ความบันเทิง กิจกรรมทางศาสนา ที่ทำให้รายจ่ายเพิ่มขึ้น จนค่าใช้จ่ายต่อเดือนรวมอยู่ที่ 21,262 บาท ซึ่งเงินเดือนเด็กปริญญาตรีจบใหม่อยู่ที่ 18,000 บาท ยังไม่ได้คิดถึงกลุ่มที่เงินเดือนตำ่กว่านั้นหรือกลุ่มที่ไม่มีงานทำ ซึ่งไม่มีทางพออย่างแน่นอน
แต่ถ้าหากเรามาดูรายได้เฉลี่ยของคนไทย อ้างอิงจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ จะอยู่ที่ 29,502 บาท โดยแบ่งออกมาได้เป็น
รายได้จากการทำงาน20,799 บาท (70.5%)
รายได้ไม่เป็นตัวเงิน4,232 บาท (14.3%)
รายได้จากแหล่งอื่นและเงินช่วยเหลือ3,835 บาท (13.0%)
รายได้จากสินทรัพย์636 บาท(2.2%)
รวม29,502บาท(100%)
จะเห็นว่ารายได้ของคนไทยโดยเฉลี่ยค่อนข้างสูงอยู่และสูงกว่าค่าครองชีพเยอะมาก แต่ทำไมยังมีปัญหาค่าครองชีพในไทยอยู่ คำตอบคือปัญหาความเหลื่อมลํ้าและการกระจายรายได้ในประเทศไทย ซึ่งหากเรามาดูการกระจายรายได้แล้ว พบปัญหาความแตกต่างระหว่างรายได้ที่สูงมากถึง 5 เท่า
จากรูปจะเห็นได้ว่ากลุ่มครัวเรือนที่มีรายได้อยู่ในกลุ่มแรกมีสัดส่วนรายได้ต่างจากคนที่มีรายได้กลุ่มที่ 5 ถึง 5 เท่า ที่เป็นปัญหามากกว่านั้นกลุ่มที่มีรายได้อยู่ในกลุ่มที่ 4 ที่ควรจะเทียบเท่าหรือใกล้เคียงกลุ่มที่ 5 แต่ทั้งสองกลุ่มนี้มีรายได้แตกต่างกันถึง 2 เท่า สะท้อนให้เห็นถึงการกระจายรายได้ที่มีความเหลื่อมลํ้าที่สูง
ความเหลื่อมล้ำสูงมีผลกระทบที่รุนแรงต่อสังคมและเศรษฐกิจ การกระจายรายได้ที่ไม่เท่าเทียมทำให้คนกลุ่มหนึ่งมีทรัพยากรมากเกินไป ในขณะที่คนกลุ่มใหญ่กลับมีรายได้ต่ำ ความไม่สมดุลนี้สร้างความไม่พอใจในสังคม ทำให้เกิดความขัดแย้งและความไม่สงบ อีกทั้งยังทำให้คนที่มีรายได้น้อยเข้าถึงการรักษาพยาบาลและการศึกษาน้อยลง ส่งผลกระทบต่อโอกาสในชีวิตและการทำงานของพวกเขา
นอกจากนี้ ความเหลื่อมล้ำสูงยังทำให้การพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมไม่ยั่งยืน การกระจายทรัพยากรที่ไม่เป็นธรรมส่งผลให้การเติบโตทางเศรษฐกิจช้าลงและเพิ่มปัญหาอาชญากรรมและความรุนแรงในสังคม เพื่อแก้ไขปัญหานี้ จำเป็นต้องมีนโยบายที่เข้มงวดจากรัฐบาลและองค์กรต่าง ๆ เพื่อสร้างโอกาสและการเข้าถึงทรัพยากรที่เท่าเทียมกันสำหรับทุกคนในสังคม
การเผชิญกับค่าครองชีพสูงเป็นความท้าทายที่หลายคนต้องประสบในปัจจุบัน การบริหารจัดการค่าใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพและการหาทางเพิ่มรายได้จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น การวางแผนการเงินที่ดีสามารถช่วยลดความเครียดและสร้างความมั่นคงทางการเงินได้ในระยะยาว แนวทางการจัดการค่าใช้จ่ายและการลงทุนอย่างชาญฉลาดจะเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้สามารถรับมือกับค่าครองชีพสูงและยังสามารถสร้างอนาคตทางการเงินที่มั่นคงได้ ซึ่งจะขอแบ่งการจัดการนี้เป็น 2 รูปแบบคือด้านการเงินและด้านพฤติกรรม
ด้านการเงิน
ด้านพฤติกรรม
การใช้ตัวอย่างเหล่านี้จะช่วยให้สามารถปรับใช้แนวทางการจัดการค่าครองชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นในระยะสั้นและระยะยาว พร้อมสร้างนิสัยการออมเงินให้แก่ผู้ที่นำไปปรับใช้ด้วย
ค่าครองชีพเป็นปัจจัยที่หลาย ๆ คนต้องรู้จักและคำนึงถึง เป็นเรื่องใกล้ตัวมาก ๆ บทความนี้ได้นำค่าครองชีพในประเทศไทยเปรียบเทียบกับกลุ่มอาเซียนและขุดลึกลงไปถึงปัญหายภายในที่มองไม่เห็นด้วยตัวเลขค่าครองชีพ ซึ่งกลายเป็นว่าค่าใช้จ่ายต่อเดือนในประเทศไทยสูงมากสำหรับคนชนชั้นล่าง ดังนั้นต้องมีการจัดการค่าครองชีพสูงและการวางแผนงบประมาณอย่างรอบคอบ ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น เช่น การทานอาหารนอกบ้าน หาสินค้าที่ราคาถูกและใช้โปรโมชั่นหรือส่วนลด ออมเงินอย่างสม่ำเสมอ เพิ่มรายได้จากงานพิเศษ ศึกษาวิธีการจัดการเงิน ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และเลือกซื้อสินค้าที่มีอายุการใช้งานยาวนาน ทั้งหมดนี้จะช่วยรับมือกับค่าครองชีพสูงและสร้างความมั่นคงทางการเงินในระยะยาว
หมายเหตุ
คริปโทเคอร์เรนซีและโทเคนดิจิทัลมีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจำนวนและสินทรัพย์ดิจิทัลมีความเสี่ยง และ ผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอนาคต โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
Disclaimer