มิถุนายน 25, 2024
การกระจายประเภทการลงทุนเป็นสิ่งสำคัญเพื่อสร้างความสมดุลให้กับพอร์ตของนักลงทุน ช่วยกระจายความเสี่ยง และเป็นปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลตอบแทนที่ดี ซึ่งในบางครั้งอาจจะดีกว่าการซื้อขายหุ้นทีละตัวอีกด้วย แล้วกลยุทธ์กระจายการลงทุนแบบไหนเหมาะกับตัวเรา บทความนี้มีคำตอบ
การลงทุนกระจายความเสี่ยง (Diversification) คือ กลยุทธ์กระจายการลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ เพื่อไม่ทำให้ตัวนักลงทุนขาดทุนอย่างหนักจากการลงทุนอย่างใดอย่างหนึ่งมากเกินไป กลยุทธ์นี้สามารถปรับใช้ได้กับนักลงทุนทุกรูปแบบ ไม่ใช่เพียงแค่การลงทุนในกองทุนหรือหุ้นเท่านั้น ทำให้กระจายการลงทุนเป็นการลดความเป็นไปได้ที่จะ “เจ็บหนัก” โดยเจ็บหนักในที่นี้คือการขาดทุนมากกว่าที่คาดการณ์เอาไว้ ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ง่ายกว่า หากผู้ลงทุนมีการลงทุนในสินทรัพย์ใดสินทรัพย์หนึ่งมากเกินไป การ ลงทุน แบบ กระจาย ความ เสี่ยงจะช่วยลดทอนความเสียหายหากเกิดความผันผวนสูงในตลาด เนื่องจากผู้ลงทุนมีการลงทุนที่หลากหลาย การกระจายการลงทุนโดยกระจายความเสี่ยงเหมาะสำหรับการลงทุนในระยะยาว เพราะผู้ลงทุนไม่จำเป็นต้องจับตาตลาดอยู่ตลอดเวลาเพื่อซื้อขายหุ้นหรือสินทรัพย์ตัวใดตัวหนึ่ง แต่เป็นการประเมินความเสี่ยงล่วงหน้า และปล่อยให้เงินทำงานของตัวเอง โดยผู้ลงทุนอาจจะตรวจสอบสถานะพอร์ตการลงทุนตามช่วงระยะเวลาหรืออาจะตามสภาวะตลาดก็ได้ แต่สิ่งที่ควรจดจำไว้คือการปรับพอร์ตลงทุนโดยอิงจากตลาดจะค่อนข้างยาก ใช้ความเชี่ยวชาญสูง โดยเฉพาะการเข้าและออกให้ตรงเวลา ผู้ลงทุนควรวางแผนการกระจายสินทรัพย์ ปรับพอร์ตให้ดี เพื่อเลี่ยงข้อผิดพลาดให้ได้มากที่สุด
การจัดสรรประเภทสินทรัพย์ในการลงทุน (Asset Allocation) คือ กระจายการลงทุนของเราไปในหลากหลายสินทรัพย์ เช่น ตราสารหนี้ หุ้น สินทรัพย์ทางเลือก อสังหาริมทรัพย์ หรือแม้แต่เงินสด ตามสัดส่วนที่ตั้งใจไว้ในแต่ละสินทรัพย์ ภายใต้แนวความคิดที่ว่าการลงทุนต้องมีการกระจายความเสี่ยง โดยมีหลักการว่า ไม่มีสินทรัพย์ใดที่จะสร้างผลตอบแทนได้ดีที่สุดตลอดเวลา ผู้ชนะเปลี่ยนแปลงไปได้เสมอ การจัดสรรเงินเพื่อการลงทุนในสินทรัพย์จึงถือเป็นหัวใจสำคัญในการกำหนดทิศทางผลตอบแทนของพอร์ตนักลงทุนได้เป็นอย่างดี เนื่องจากถือเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญในการคัดเลือกสินทรัพย์ที่คาดว่าจะให้ผลตอบแทนที่เหมาะสมภายใต้ความเสี่ยงที่แต่ละคนรับได้
ซึ่งวัตถุประสงค์ของนักลงทุนทุกคนไม่เหมือนกัน ดังนั้นจึงต้องมีกระจายการลงทุนในประเภทสินทรัพย์ในที่แตกต่างกันให้เหมาะสมกับนักลงทุนแต่ละคน ซึ่งควรจะพิจารณาถึงปัจจัย 4 ปัจจัย อันประกอบไปด้วย
โดยประเภทสินทรัพย์ลงทุนส่วนใหญ่มีดังนี้
หุ้นขนาดใหญ่ เป็นหุ้นที่มีความมั่นคง บริษัทขนาดใหญ่ มีกำไรสม่ำเสมอ และอาจมีการจ่ายเงินปันผลต่อเนื่อง โดยที่การเติบโตอาจไม่สูงนักเนื่องจากธุรกิจได้ขยายตัวไปค่อนข้างมาก เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป
หุ้นขนาดกลาง เป็นหุ้นที่มีโอกาสเติบโตขยายธุรกิจได้มากกว่าหุ้นใหญ่ แต่ธุรกิจอาจมีแนวโน้มมาประมาณหนึ่งแล้วต่างจากหุ้นเล็ก โดยหุ้นขนาดกลางในบางตัว อาจเป็นหุ้นที่นักลงทุนบางคนยังไม่สนใจ จึงอาจทำให้มีหุ้นที่มูลค่าต่ำกว่าราคาจริง ๆ ได้
หุ้นขนาดเล็ก เป็นหุ้นที่มีโอกาสเติบโตสูง จากการที่ธุรกิจยังสามารถเข้าถึงลูกค้าได้มาก หากบริษัทมีผลิตภัณฑ์หรือบริการที่มีความโดดเด่น และมีความเสี่ยงที่สูงกว่าหุ้นขนาดกลาง เพราะธุรกิจยังไม่มีรายได้ที่มั่นคง และอาจจะยังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก
ตราสารหนี้ภาครัฐ หรือพันธบัตรรัฐบาล เป็นตราสารหนี้ซึ่งทำการออกโดยรัฐบาล ซึ่งมีความมั่นคงสูง
ตราสารหนี้เอกชน หรือหุ้นกู้ เป็นตราสารหนี้ที่ออกโดยบริษัทต่าง ๆ เพื่อใช้สำหรับการเพิ่มทุน เพื่อขยายหรือพัฒนาธุรกิจเพิ่มเติม และอาจมีความเสี่ยงมากกว่าตราสารหนี้ที่ออกโดยรัฐ แบ่งได้เป็น 2 เกรด คือ เกรดลงทุน และเกรดเก็งกำไร
เงินสดนั้นถือได้ว่าเป็นสินทรัพย์ที่มีความคล่องตัวสูงสุด (สภาพคล่อง) สามารถนำมาใช้ได้ในเวลาอันสั้นหรือทันที การลงทุนในเงินสดเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับพอร์ตการลงทุนที่รอจังหวะและโอกาสสำหรับเข้าลงทุนเพิ่มเติม หรือเก็บไว้สร้างเสริมสภาพคล่องในภาวะวิกฤติ
ความสำคัญของการกระจายความเสี่ยงเมื่อทำการซื้อขายการกระจายความเสี่ยงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการซื้อขายเนื่องจากช่วยลดความเสี่ยง เมื่อคุณลงทุนในหุ้นหรือสินทรัพย์ประเภทเดียว เท่ากับว่าคุณใส่ไข่ทั้งหมดไว้ในตะกร้าใบเดียว หากทำได้ไม่ดี คุณอาจสูญเสียส่วนสำคัญในพอร์ตโฟลิโอของคุณ โดยประโยชน์ ของ การ กระจายการลงทุนมีดังนี้
คุณสามารถลดความเสี่ยงได้โดยการกระจายการลงทุนของคุณไปยังประเภทสินทรัพย์ อุตสาหกรรม และภาคส่วนต่าง ๆ ซึ่งหมายความว่าหากการลงทุนรายการหนึ่งมีประสิทธิภาพไม่ดี ความสูญเสียอาจถูกชดเชยด้วยกำไรจากการลงทุนอื่น ๆ
การกระจายความเสี่ยงก็คือสามารถช่วยให้คุณได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนที่สม่ำเสมอมากขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป เนื่องจากประเภทสินทรัพย์และภาคส่วนที่แตกต่างกันมีแนวโน้มที่จะมีประสิทธิภาพแตกต่างกันภายใต้สภาวะตลาดที่แตกต่างกัน ด้วยการกระจายพอร์ตโฟลิโอของคุณ คุณสามารถช่วยให้แน่ใจว่าการลงทุนของคุณไม่ได้ขึ้นอยู่กับสภาวะตลาดหรือแนวโน้มทางเศรษฐกิจใด ๆ มากเกินไป
ช่วยป้องกันความผันผวนและความผันผวนของตลาดอย่างกะทันหันหรือเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดอื่น ๆ ที่อาจส่งผลเสียต่อผลตอบแทนของคุณได้ ด้วยการลงทุนในสินทรัพย์ที่หลากหลาย คุณสามารถช่วยปกป้องพอร์ตโฟลิโอของคุณจากความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับใด ๆ ประเภทสินทรัพย์หรือภาคส่วนใดประเภทหนึ่งโดยเฉพาะกระจายการลงทุนเพื่อลดความเสี่ยงเป็นกลยุทธ์สำคัญที่สามารถช่วยให้นักลงทุนลดความเสี่ยงและเพิ่มผลตอบแทนได้ ด้วยการกระจายการลงทุนของคุณและหลีกเลี่ยงการพึ่งพาสินทรัพย์ใดมากเกินไป คุณสามารถช่วยให้แน่ใจว่าพอร์ตโฟลิโอของคุณยังคงมีความสมดุลและยืดหยุ่นได้ตลอดเวลา
กระจายการลงทุนเป็นสิ่งสำคัญเพื่อสร้างความสมดุลให้กับพอร์ตลงทุน ช่วยกระจายความเสี่ยง และเป็นปัจจัยสำคัญที่ผลตอบแทนจะออกมาดี ซึ่งในบางครั้งอาจดีกว่าการซื้อขายหุ้นทีละตัวอีกด้วย การสร้างพอร์ตลงทุนที่ประกอบด้วยหุ้น ตราสารหนี้ เงินสด และอสังหาริมทรัพย์เป็นวิธีการเพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตลอดเวลา และการจัดพอร์ตลงทุนจะสะท้อนถึงเป้าหมายในแต่ละช่วงเวลาด้วยโดยส่วนใหญ่จะมีกลยุทธ์กระจายการลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
วิธีนี้จะยึดกับพื้นฐานการลงทุน ด้วยการลงทุนผสมระหว่างสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนที่แน่นอน ซึ่งต้องแบกรับความเสี่ยงและลงทุนให้ได้ตามระยะเวลาที่กำหนด โดยสามารถตั้งเป้าหมายการลงทุน พร้อมปรับสัดส่วนของสินทรัพย์ให้สอดคล้องกับเป้าหมายได้ โดยหลัก ๆ จะมีสัดส่วนการลงทุนที่ 65:25:10 (หุ้น:ตราสารหนี้:เงินสด) การกระจายสินทรัพย์เชิงกลยุทธ์นี้จะคล้ายกับแผนการลงทุนแบบเน้นซื้อแล้วถือยาว แต่จะเน้นความหลากหลายในพอร์ตเพื่อลดความเสี่ยง-เพิ่มผลตอบแทน ยกตัวอย่าง ถ้าหุ้นเคยให้ผลตอบแทนประมาณ 10% ต่อปี และตราสารหนี้อยู่ที่ 5% ต่อปี ส่วนผสมครึ่งหนึ่งของหุ้นและตราสารหนี้ก็จะให้ตอบแทนประมาณ 7.5% ต่อปี
โดยข้อดีของการกระจายสินทรัพย์แบบระยะยาวจะช่วยสร้างวินัยในการลงทุน การมีวินัยต่อการลงทุนโดยไม่ต้องไขว้เขวไปกับการสภาพตลาดจะช่วยลดการตัดสินใจพลาดได้ เพราะการลงทุนแบบนี้ไม่ได้เห็นผลในระยะสั้นๆ แม้หุ้นในพอร์ตลงทุนอาจจะมีความผันผวนบ้าง แต่การถือยาวจะช่วยลดความเสี่ยงและทำตามเป้าหมายการลงทุนได้มากขึ้น
ในการลงทุนระยะยาว การกระจายสินทรัพย์เชิงกลยุทธ์อาจจะขาดความยืดหยุ่นไปบ้าง สำหรับนักลงทุนที่มองว่า บางจังหวะสามารถรับผลตอบแทนระยะสั้นได้ ถ้าจังหวะเหมาะสม กลยุทธ์การกระจายสินทรัพย์เชิงเทคนิคจะสร้างความยืดหยุ่นในการปรับซื้อขายสินทรัพย์ในพอร์ต เพื่อปรับการลงทุนไปตามสภาพเศรษฐกิจและตลาดในเวลานั้น การกระจายสินทรัพย์เชิงเทคนิคจัดเป็นกลยุทธ์เชิงรุกอาศัยความมีวินัยในการลงทุน เพราะต้องรู้จังหวะว่าเวลาไหนควรลงทุนเพื่อหวังผลตอบแทนระยะสั้น พร้อมกับปรับลดสัดส่วนที่เน้นลงทุนระยะยาวในพอร์ตลง สัดส่วนการลงทุนจะคล้ายการกระจายสินทรัพย์เชิงกลยุทธ์ คือ 65:25:10 แต่สามารถลดตราสารหนี้ลง 10% เพิ่มรับผลตอบแทนระยะสั้นจากการลงทุนในหุ้น จากนั้นก็ปรับพอร์ตให้ได้สัดส่วนแบบเดิม
อีกหนึ่งกลยุทธ์การกระจายสินทรัพย์เชิงรุกคือแบบปรับเปลี่ยน โดยสัดส่วนของสินทรัพย์จะเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอตามสภาวะของตลาดและสภาพเศรษฐกิจ กลยุทธ์นี้มีหลักการง่าย ๆ คือขายสินทรัพย์ที่มูลค่าตก-ซื้อสินทรัพย์ที่มูลค่าเพิ่ม ตัวอย่างคือ หากตลาดหุ้นมีแนวโน้มเข้าสู่ช่วงขาลง คุณก็อาจชิงขายหุ้นที่ถือก่อนจะราคาตก เพิ่มสัดส่วนตราสารหนี้ จากนั้นหากเห็นสัญญาณว่าตลาดกำลังจะขึ้นก็ขายตราสารหนี้เพื่อเพิ่มสัดส่วนหุ้น กลยุทธ์นี้ไม่ได้มีสัดส่วนการจัดพอร์ตชัดเจน แต่ส่วนใหญ่สินทรัพย์หลักในพอร์ตจะอยู่ที่ 70% สินทรัพย์รอง 20% และเงินสด 10%
การกระจายสินทรัพย์มีทั้งเชิงรักและเชิงรับ ไม่ว่านักลงทุนจะตัดสินใจเลือกกลยุทธ์ใดกลยุทธ์หนึ่ง หรือเลือกใช้ทั้งหมดตามสถานการณ์ก็ย่อมทำได้ แต่ต้องพิจารณาถึงเป้าหมายการลงทุน อายุ ผลตอบแทนจากตลาด และความเสี่ยงที่รับได้อยู่เสมอ
แนวทางในการจัดสรรประเภทสินทรัพย์ในการลงทุน (Asset Allocation Model) ที่เป็นที่นิยมได้แก่
1. Income Model
โมเดลแบบรายได้ จะเน้นกระจายการลงทุนในประเภทสินทรัพย์ต่าง ๆ เพื่อให้ได้รับผลตอบแทนที่เป็นรายรับสม่ำเสมอ เป็นแนวทางที่เน้นการลงทุนในตราสารหนี้ที่มีอัตราผลตอบแทนคูปอง (Coupon-Yielding Bonds) และหุ้นที่จ่ายเงินปันผล (Dividend-Paying Stocks) เป็นหลัก เพื่อสร้างรายรับที่สม่ำเสมอ โดยการจัดสรรรูปแบบนี้มักมีความเสี่ยงต่ำ ตัวอย่างการจัดสรรประเภทสินทรัพย์ ตามแนวทางนี้ เช่น
2. Balanced Model / Moderate Model
โมเดลแบบสมดุลหรือโมเดลแบบความเสี่ยงปานกลาง จะเน้นให้นักลงทุนแบ่งแยกการลงทุนของตนเองเท่า ๆ กันในหลักทรัพย์และตราสารหนี้ในมูลค่าที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งการกระจายการลงทุนในลักษณะนี้ จะช่วยลดความผันผวนของหลักทรัพย์ได้ โดยปกติแล้วพอร์ตโฟลิโอในโมเดลนี้จะมีความผันผวนของมูลค่าในช่วงระยะเวลาสั้น ผู้ที่ปฏิบัติตามโมเดลนี้สามารถคาดหวังการเติบโตทางการเงินที่เหมาะสม และผลตอบแทนในช่วงระยะเวลากลางถึงยาว ตัวอย่างการจัดสรรประเภทสินทรัพย์ ตามแนวทางนี้ เช่น
3. Growth Model
โมเดลแบบเน้นการเติบโต จะให้ความสำคัญกับการลงทุนในหุ้นเป็นส่วนใหญ่ เพราะคาดหวังว่าหุ้นจะเพิ่มมูลค่า และมีศักยภาพการเงินในระยะยาว นักลงทุนต้องยอมรับความผันผวนของมูลค่าที่เปลี่ยนแปลงบ่อยครั้งในระยะสั้น ๆ ซึ่งโมเดลนี้เหมาะกับนักลงทุนที่สามารถรับความเสี่ยงได้สูงและมีระยะเวลาการลงทุนที่ยาวนาน ตัวอย่างการจัดสรรประเภทสินทรัพย์ ตามแนวทางนี้ เช่น
4. Aggressive model
โมเดลเชิงรุก จะเน้นการลงทุนที่ได้คาดหวังผลตอบแทนที่สูง และมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว เหมาะสำหรับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้สูง มีความผันผวนของมูลค่า คล้ายกับโมเดลแบบเน้นการเติบโต ซึ่งโมเดลนี้จะเน้นการลงทุนในหุ้นและหลักทรัพย์ต่างประเทศ และมีระยะเวลาในการลงทุนที่ยาวนาน ตัวอย่างการจัดสรรประเภทสินทรัพย์ ตามแนวทางนี้ เช่น
5. Conservative model
เหมาะกับนักลงทุนที่ยอมรับความเสี่ยงได้น้อยหรือแทบจะไม่ได้เลย เน้นการรักษาเงินลงทุนให้ปลอดภัย การลงทุนส่วนใหญ่จึงควรเน้นลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงต่ำ เช่น เงินฝากประจำ ตราสารหนี้ ตัวอย่างการจัดสรรประเภทสินทรัพย์ ตามแนวทางนี้ เช่น
6. Static Asset Allocation Model : รูปแบบที่คงที่ของการแบ่งสัดส่วนการลงทุนที่ไม่มีการปรับเปลี่ยนตามเงื่อนไขของตลาด การแบ่งสัดส่วนนี้จะเป็นเส้นทางการลงทุนแบบที่มั่นคงและคงที่ตลอดเวลา
7. Dynamic Asset Allocation Model : รูปแบบที่มีการปรับแต่งสัดส่วนการลงทุนตามเงื่อนไขของตลาด เช่น การเปลี่ยนแปลงสัดส่วนการลงทุนตามการเคลื่อนไหวของราคาหรือเหตุการณ์ทางเศรษฐกิจ
8. Strategic Asset Allocation Model : รูปแบบที่กำหนดค่าสัดส่วนการลงทุนของแต่ละสินทรัพย์ตามเป้าหมายการลงทุนและระดับความเสี่ยง โดยมองหาการแบ่งสัดส่วนที่ให้ผลตอบแทนต่ำสุดต่อระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
9. Tactical Asset Allocation Model : รูปแบบที่นักลงทุนปรับการแบ่งสัดส่วนการลงทุนเพื่อนำเข้าข้อมูลล่าสุดและวิเคราะห์สถานการณ์ตลาดล่าสุดเข้าไปในการตัดสินใจการลงทุน
10. Core-Satellite Asset Allocation Model : รูปแบบที่แบ่งการลงทุนเป็นส่วนหลัก (Core) และส่วนเสริม (Satellite) โดยส่วนหลักเป็นส่วนของการลงทุนที่เสถียรและสามารถสร้างผลตอบแทนในระยะยาว ส่วนส่วนเสริมเป็นส่วนของการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูงและมีโอกาสในการได้รับผลตอบแทนสูงกว่าที่มีอยู่ในพอร์ตหลัก
11. Life-Cycle Asset Allocation Model : รูปแบบที่มีการปรับการแบ่งสัดส่วนการลงทุนตามช่วงชีวิตของนักลงทุน โดยมีการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูงในช่วงเริ่มต้นของชีวิตและลดระดับความเสี่ยงเมื่อเข้าสู่ช่วงเวลาที่อายุมากขึ้น
โดยการเลือกใช้ Asset Allocation Model ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับ และการเข้าใจในสถานการณ์ตลาด นักลงทุนควรพิจารณาและปรับเปลี่ยนโดยตลอดเวลาเพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายและความต้องการของนักลงทุน
คริปโทเคอร์เรนซีและโทเคนดิจิทัลมีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจำนวนและสินทรัพย์ดิจิทัลมีความเสี่ยง และ ผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอนาคต โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
Disclaimer