อยากแบ่งพอร์ตการลงทุน ต้องบริหารยังไง?

มิถุนายน 24, 2024

thumbnail

 

หลายคนคงเคยได้ยินประโยคที่บอกว่า “เราต้องมีการแบ่งพอร์ตการลงทุนเพื่อให้การลงทุนนั้นปลอดภัยขึ้น” แล้วการแบ่งสัดส่วนการลงทุนสามารถทำให้ปลอดภัยได้อย่างไร แล้วทำไมต้องแบ่งสัดส่วนการลงทุน เราลงทุนในแค่สิ่งเดียวไม่ได้เหรอ ในบทความนี้เราจะมาหาคำตอบกัน

 

พอร์ตการลงทุนที่ดีเป็นอย่างไร

 

พอร์ตการลงทุนที่ดีเป็นอย่างไร

 

การแบ่งพอร์ตการลงทุนที่ดี ต้องมีการกำหนดรูปแบบการลงทุนให้เหมาะกับความเสี่ยงที่ตัวเราเองรับได้ ว่าเราควรจะลงทุนในสินทรัพย์อะไรบ้าง ในสัดส่วนอย่างละเท่าไหร่ หรือที่สิ่งที่เรียกว่าเรียกว่า “Asset Allocation” ที่จะช่วยเราสร้างโอกาสการลงทุน พร้อมกับการกระจายความเสี่ยงไปในตัวด้วย โดยการแบ่งสัดส่วนของเงินลงทุนในความเหมาะสมระหว่างสินทรัพย์ต่าง ๆ ภายใต้วัตถุประสงค์การลงทุนของบุคคล การแบ่งพอร์ตการลงทุนอาจลงทุนในหุ้น พันธบัตรระหว่างประเทศ อสังหาริมทรัพย์ เงินสด หรือสินทรัพย์ทางเลือกอื่น ๆ การเลือก Asset allocation ที่เหมาะสมช่วยลดความเสี่ยงในการลงทุน และสร้างโอกาสในการได้รับผลตอบแทนที่เหมาะสมตามเป้าหมายการลงทุนของบุคคล

 

โดยมีทฤษฎีการแบ่งพอร์ตการลงทุนอยู่หลากหลายทฤษฎีเช่น

  • Modern Portfolio Theory (MPT): แนวคิดใน MPT คือการสร้างพอร์ตโฟลิโอที่มีความเสี่ยงต่ำที่สุดในการให้ผลตอบแทนที่คาดหวัง โดยการสร้างพอร์ตโฟลิโอที่ประกอบด้วยสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงแตกต่างกัน โดยใช้การคำนวณผลตอบแทนที่คาดหวังและความเสี่ยงเพื่อหาผลตอบแทนสูงสุดต่อหน่วยความเสี่ยง
  • Efficient Market Hypothesis (EMH): ทฤษฎี EMH ระบุว่าราคาของสินทรัพย์ทั้งหมดถูกตลาดปรับให้สอดคล้องกับข้อมูลที่มีอยู่ และไม่สามารถทำกำไรจากการคาดการณ์ราคาของตลาดได้
  • Capital Asset Pricing Model (CAPM): โมเดล CAPM ใช้ในการคำนวณความเสี่ยงและผลตอบแทนที่คาดหวังของสินทรัพย์ โดยการใช้อัตราการเบต้า (Beta) เพื่อวัดความเสี่ยงและอัตราเงินที่ปลอดภัย (Risk-free Rate) เพื่อวัดการสร้างผลตอบแทน
  • Behavioral Finance: ทฤษฎีการลงทุนนี้การสังเกตพฤติกรรมของนักลงทุนและผู้รับมรดกมาก่อนการตัดสินใจการลงทุน ซึ่งการพฤติกรรมเหล่านี้อาจส่งผลต่อการตัดสินใจการลงทุนที่มีการเลือกตัวเลือกที่ไม่เป็นไปตามความคาดหวังทางการเงิน
  • Strategic Asset Allocation: วิธีการนี้ใช้ในการกำหนดการแบ่งพอร์ตการลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ ตามเป้าหมายการลงทุนและระดับความเสี่ยงที่ยอมรับ และมักใช้เชิงสถิติและการวิเคราะห์ปัจจัยทางการเงินในการตัดสินใจการลงทุน
  • Tactical Asset Allocation: การแบ่งสัดส่วนการลงทุนโดยการปรับเปลี่ยนสัดส่วนการลงทุนตามเงื่อนไขทางตลาดและโอกาสที่มีอยู่ โดยมักใช้การวิเคราะห์เทคนิคทางทัศนคติเพื่อตัดสินใจการลงทุน
  • Dynamic Asset Allocation: การปรับเปลี่ยนสัดส่วนการลงทุนตามเงื่อนไขทางตลาดและการเปลี่ยนแปลงในวัฒนธรรมการลงทุน โดยมักใช้การวิเคราะห์ข้อมูลทางเศรษฐศาสตร์และการคาดการณ์เศรษฐกิจ

 

Dynamic Asset Allocation

 

  • Factor-Based Asset Allocation:การแบ่งพอร์ตการลงทุนโดยใช้ปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อผลตอบแทนของสินทรัพย์ เช่น ปัจจัยการประเมินค่า, ปัจจัยการควบคุมความเสี่ยง, และปัจจัยทางเศรษฐกิจ
  • Portfolio Optimization: เป็นการบริหารพอร์ตการลงทุนโดยการใช้เทคโนโลยีคำนวณเพื่อหาการแบ่งสัดส่วนการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงสุดต่อหน่วยความเสี่ยง โดยพิจารณาการลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ และความสัมพันธ์ระหว่างตลาด
  • Goal-Based Asset Allocation: เป็นการจัด Port การลงทุนโดยใช้เป้าหมายการลงทุนของบุคคลหรือองค์กรเป็นพื้นฐาน ซึ่งสามารถใช้ในการวางแผนการเงินส่วนบุคคลหรือวางแผนการเงินสำหรับองค์กร

โดย ณ ปัจจุบันการแบ่งพอร์ตการลงทุน นั้นมีการอ้างอิงทฤษฎีเหล่านี้เข้ามาประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุดกับตัวของนักลงทุนเองโดยอาจจะหยิบบางส่วนของทฤษฎีมาปฎิบัติและใช้งานตามสถานะการตามความเป็นจริงในตอนนั้น ๆ 

 

สร้างพอร์ตการลงทุน มีกี่ขั้นตอน

การแบ่งพอร์ตการลงทุนขึ้นอยู่กับเป้าหมายการลงทุนและความเสี่ยงที่พร้อมรับได้โดยมีทั้งหมด 4 ขั้นตอน ในการสร้างพอร์ตการลงทุน

 

1. กำหนดเป้าหมายการลงทุน: เราควรแยกพอร์ตการลงทุนออกเป็นตามแต่ละเป้าหมาย เพราะมีเงื่อนไข ความสำคัญ และระยะเวลาที่ต้องบรรลุเป้าหมายแตกต่างกันออกไป ซึ่งจะมีผลต่อการเลือกประเภทของสินทรัพย์ลงทุนให้เหมาะกับความเสี่ยงและผลตอบแทนที่คาดหวังของแต่ละพอร์ตฯ โดยวิธีการกำหนดเป้าหมายทางการเงินให้ SMART มีหลักการง่ายๆ ดังนี้

 

วิธีการกำหนดเป้าหมายทางการเงินให้ SMART

 

  • Specific – ชัดเจนรู้ว่าต้องการอะไร โดยระบุเป็นรูปธรรม เช่น อยากมีรถยนต์ อยากมีบ้าน อยากมีทุนการศึกษา สำหรับบุตร
  • Measurable – วัดผลได้รู้ว่าต้องการที่จะบรรลุเป้าหมายดังกล่าวจำเป็นต้องใช้เงินจำนวนเท่าไรเช่น อยากมีรถยนต์ราคาเท่าไร อยากมีบ้านราคาเท่าไร อยากมีทุนการศึกษาสำหรับบุตร จำนวนเท่าไร
  • Achievable – ทำสำเร็จได้รู้ว่าจะทำอย่างไรให้บรรลุผลตามเป้าหมายที่วางไว้ ทั้งนี้ความสำเร็จของเป้าหมายจะเกิดขึ้นได้ภายใต้ปัจจัยที่เราสามารถควบคุมได้ เช่น อยากมีรถยนต์คันใหม่ ต้องเก็บเงินเดือนล่ะ 5,000 บาท สำหรับจ่ายเงินดาวน์โดยเก็บจากส่วนหนึ่งของเงินเดือน 50,000 บาท ไม่ใช่มีที่มาจากการขอให้นายจ้างขึ้นเงินเดือน
  • Realistic – สามารถบรรลุผลได้ตั้งเป้าหมายอย่างสมเหตุสมผลภายใต้สถานะทางการเงินและข้อจำกัดต่าง ๆ ที่มีในปัจจุบันรวมถึงเหตุการณ์ต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เช่น การมีบุตร การเกิดอุบัติเหตุ นอกจากนั้นยังต้องไม่เป็นการบีบบังคับจิตใจจนเกินไปหรือไม่ทำให้ต้องมีการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตจนเกิดความทุกข์ในปัจจุบัน เช่น อยากมีบ้านหลังใหม่ จึงต้องหารายได้เพิ่มอีก 2-3 เท่า ทำให้ต้องทำงานจนไม่มีเวลาพักผ่อน ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพจนไม่สามารถทำงานหาเงินได้ในที่สุด
  • Time-bound – มีกำหนดเวลาที่ชัดเจนแน่นอนเพื่อไม่ให้เป้าหมายการเงินที่ต้องการลอยเลื่อนออกไปอย่างไม่มีวันบรรลุ เช่น อยากมีรถยนต์ราคาเท่าไรภายในระยะเวลาเมื่อใด อยากมีบ้านราคาเท่าไรภายในระยะเวลาเมื่อใด หรืออยากมีทุนการศึกษาสำหรับบุตรจำนวนเท่าไร ภายในระยะเวลาเมื่อใด

 

2. ประเมินความเสี่ยง: พิจารณาระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ ทั้งในแง่ของทัศนคติที่มีต่อการลงทุน อายุ ฐานะ การเงิน และความอดทนต่อการขาดทุน เช่น วัยเริ่มทำงาน อายุน้อย ไม่มีภาระ มีระยะเวลาในการลงทุนยาว ก็สามารถรับความเสี่ยงได้สูง แต่หากเป็นวัยกลางคน มีภาระเยอะ เหลือเวลาลงทุนไม่นาน ก็จะรับความเสี่ยงได้ต่ำกว่า

 

3. แบ่งสัดส่วน: หลังจากที่คุณกำหนดเป้าหมายและประเมินความเสี่ยง คุณสามารถตัดสินใจเรื่องการแบ่งสัดส่วนของการลงทุนได้ โดยสามารถแบ่งสัดส่วนเงินทุนของคุณออกเป็นการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ เช่น หุ้นหรือพันธบัตรระหว่างประเทศ และการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น หุ้นที่ไม่ได้ถูกซื้อขายในตลาดเปิดหรือการลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือก ตามความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนยอมรับได้

 

4. การตรวจสอบและปรับเปลี่ยน: เมื่อลงทุนไปสักระยะหนึ่ง สถานการณ์ ภาวะตลาดการลงทุนและราคาสินทรัพย์ต่าง ๆ ย่อมเปลี่ยนแปลง อาจทำให้น้ำหนักของสินทรัพย์บางตัวมากเกินไป หรือน้อยเกินไป เช่น ถ้าปีนี้หุ้นสามัญสร้างผลตอบแทนได้ดี สัดส่วนของหุ้นในพอร์ตของเราก็จะเพิ่มขึ้นโดยปริยาย และหากในปีถัดไปตลาดหุ้นตกอย่างหนัก แน่นอนว่าพอร์ตการลงทุนที่มีหุ้นเป็นสัดส่วนที่มากก็มีโอกาสที่จะขาดทุนมากนั่นเอง

 

ทิปส์ในการแบ่งพอร์ตการลงทุน

หากพูดถึงการบริหารจัดการเงิน การแบ่งพอร์ตการลงทุนคือสิ่งที่ควรใส่ใจลำดับต้น ๆ เพื่อความมั่นคงระยะยาวในชีวิต ไม่ว่าจะเป็นกองทุน หุ้น อสังหาริมทรัพย์และธุรกิจต่าง ๆ ซึ่งพอร์ตที่หลายคนคุ้นชินกัน คือ พอร์ตหุ้นหรือพอร์ตกองทุนเนื่องจากสามารถติดตามผลการลงทุนได้ง่าย แล้วการจัดพอร์ตมีอะไรสำคัญบ้าง

  • การแบ่งพอร์ตการลงทุน ห้ามมองข้ามเรื่องความเสี่ยงเด็ดขาดเรื่องนี้เป็นสิ่งที่นักลงทุนทั้งมือใหม่และมือเก่าพลาดกันไม่น้อยด้วยเหตุผลมากมาย กับการจัดการความเสี่ยงของพอร์ตตัวเอง ซึ่งมีปัจจัยหลายอย่างเข้ามาเกี่ยวข้องทั้งอายุ ทรัพย์สิน รวมถึงความรู้ความสามารถในการลงทุน โดยเฉพาะในช่วงเวลาปัจจุบันที่ทรัพย์สินหลายประเภทมีความผันผวนสูงเกินกว่าที่เคยเป็นตามกลไกของตลาดโลกโดยก่อนจัดพอร์ตลงทุนและปรับพอร์ตแต่ละครั้ง นักลงทุนควรประเมินความเสี่ยงในการลงทุนที่ตนเองรับได้อย่างถี่ถ้วนโดยนักลงทุนสามารถเช็คความเสี่ยงที่ตนเองรับได้ที่แบบประเมินความเสี่ยงเพื่อการลงทุน
  • ลงทุนในเทรนด์ใหม่และสิ่งที่ตนเองสนใจ

การลงทุนตามเทรนด์เป็นสิ่งสำคัญก็จริง แต่จะดีกว่าหากคุณลงทุนในสิ่งที่ตนเองสนใจด้วย เนื่องจากการให้ความสำคัญกับสิ่งที่ตนเองใส่ใจจะมีแนวโน้มที่คุณจะติดตามการลงทุนนั้นๆ ได้ดี และจัดพอร์ตได้อย่างมีคุณภาพมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นพอร์ตหุ้น กองทุน และการลงทุนในสิ่งอื่นๆสำหรับเทรนด์ที่กำลังมาแรงในปัจจุบัน ได้แก่เทคโนโลยี,คริปโตเคอร์เรนซี,ESG

  • พอร์ตการลงทุนที่ดีควรมีหลากหลาย

การจัดพอร์ตที่ดีไม่ใช่การวางแผนแบบสุดโต่งไปด้านใดด้านหนึ่ง แต่เป็นการจัดการที่มีความสมดุลทั้งในแง่ของการจัดการความเสี่ยงและการทำกำไรจากพอร์ตนั้น ๆ ไม่ว่าจะเป็นหุ้น กองทุน ตราสารหนี้ และการลงทุนในทรัพย์สินอื่น ๆ ซึ่งมีความโดดเด่นแตกต่างกันออกไป

 

1. แยกพอร์ตตามเป้าหมายการลงทุน

  • เป้าหมายระยะสั้น (เก็บเงินระยะสั้น ผลตอบแทนต่ำ)สำหรับเป้าหมายระยะสั้นควรให้ความสำคัญกับสินทรัพย์ความเสี่ยงต่ำเป็นส่วนใหญ่ เช่น กองทุนรวมตราสารหนี้ หรือเน้นการออมเงินแบบฝากประจำกับธนาคาร เพื่อความสามารถในการเก็บออมและการสำรองเงินที่พอเหมาะ ทำให้พอร์ตมีสภาพคล่องสูง สามารถใช้จ่ายได้ทันท่วงทีเมื่อต้องการ
  • เป้าหมายระยะกลาง (เก็บเงินหลายปี ผลตอบแทนปานกลาง)สำหรับเป้าหมายระยะกลางที่ใช้เวลาเก็บ 1 ปีขึ้นไป ขอแนะนำว่าให้ผสมผสานการลงทุนเพิ่มเติมลงในกองทุนรวมหุ้นและกองทุนผสมต่าง ๆ โดยเฉพาะกองทุนในต่างประเทศและกองทุนเทคโนโลยีที่ให้ผลตอบแทนค่อนข้างสูง
  • เป้าหมายระยะยาว (เก็บเงินเพื่อการเกษียณ ผลตอบแทนสูง)สำหรับเป้าหมายระยะยาว สิ่งสำคัญ คือ การดูความคุ้มค่าในการลงทุนรวมถึงผลตอบแทนรูปแบบอื่น ๆ เช่น การออมเพื่อการเกษียณ การลดหย่อนภาษีอย่างกองทุน SSF และ RMF ผสมผสานไปกับกองทุนที่มีแนวโน้มให้ผลตอบแทนสูงอย่างกองทุนรวมหุ้นประเภทต่าง ๆ โดยควร Rebalance พอร์ตอย่างสม่ำเสมอ

 

2. ติดตามเทรนด์การลงทุนอย่างสม่ำเสมอแม้ว่าการซื้อกองทุนจะทำให้คุณไม่จำเป็นต้องจัดการสินทรัพย์ต่าง ๆ ด้วยตนเอง แต่การติดตามเทรนด์การลงทุนเป็นระยะ ๆ ก็จะทำให้คุณรู้ว่ากองทุนตัวไหนดี กองทุนตัวไหนน่าสนใจ รวมถึงมีความรู้รอบตัวระดับหนึ่งว่าเทรนด์การลงทุนประเภทไหนกำลังจะมา เพื่อให้คุณมีความรู้และความเข้าใจในการจัดพอร์ตรูปแบบต่าง ๆ ครั้งต่อไปมากขึ้น

 

3. เริ่มจัดพอร์ตเลยไม่ต้องรอการจัดพอร์ตไม่ใช่เรื่องยุ่งยากอย่างที่คิดและสามารถเริ่มได้ทันที แม้แต่คนที่เริ่มลงทุนไปแล้วก็สามารถจัดพอร์ตตามสไตล์ของตนเองได้ แต่อาจใช้เวลาปรับเปลี่ยน เพิ่ม-ลด การลงทุนต่าง ๆ ให้เหมาะสมมากขึ้นตามจังหวะเวลา

 

4. ปรับพอร์ตตามสถานการณ์ต่างๆการจัดพอร์ตที่ดีไม่ควรนิ่งจนเกินไป ดังที่อธิบายในหัวข้อของเทรนด์การลงทุน พอร์ตต่างๆ สามารถปรับเปลี่ยนได้ตลอดเวลาแม้แต่พอร์ตระยะยาวเองก็ตาม หากกองทุนหรือหุ้นตัวไหนสามารถให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าได้ การเลือก Take Profit ออกมาบ้างตามจังหวะก็ไม่ใช่เรื่องเสียหายเนื่องจากอาจจะเกิดความผันผวนที่ไม่คาดคิดจากการลงทุนได้

 

5. การนำ Strategic Asset Allocation และ Tactical Asset Allocation มาผนวกเข้าด้วยกัน โดย Strategic Asset Allocation (SAA) คือการจัดพอร์ตผสมสินทรัพย์ เพื่อลงทุนสร้างผลตอบแทนในระยะยาวสามารถจัดตามช่วงอายุ ดังนั้น ระยะความมั่งคั่งเป็นตัวกำหนดกลยุทธ์การลงทุน SAA ของเราในระยะยาวการผสมสินทรัพย์ อย่าง หุ้น บอนด์ และตราสารทางเลือก อย่าง ทองคำ น้ำมัน สินค้าโภคภัณฑ์และ REIT สามารถกระจายความเสี่ยงจากการลงทุนได้ สินทรัพย์ทุกประเภทไม่มีผู้ชนะตลอดเวลา มีการเคลื่อนไหวของราคาที่ไม่สอดคล้องกัน ผลัดกันทำผลตอบแทนและขาดทุนได้ ดังนั้นการจัดพอร์ต จะทำให้ความผันผวนโดยรวมลดลง และสร้างผลตอบแทนได้ตามรอบระยะเศรษฐกิจขึ้นและลงโดยเฉพาะอย่างยิ่ง สินทรัพย์อย่างหุ้นเป็นสินทรัพย์เสี่ยงที่สามารถให้ผลตอบแทนระยะยาวได้ เป็นสัดส่วนที่ควรนำมาพิจารณาลำดับแรก ๆ ว่า ถ้าเราต้องการสร้างความมั่งคั่งในระยะยาว 5-10 ปีขึ้นไป ดังนั้นสำหรับระยะสะสมและระยะมั่งคั่ง การเลือกลงทุนในหุ้นเป็นสัดส่วนที่มากหน่อย จะสร้างผลตอบแทนได้ และระยะเวลาที่นานพอจะทำให้เราปล่อยวางจากการลงทุนได้ แม้ในยามตลาดขาลง เมื่อเราสามารถจัดสัดส่วน SAA ได้แล้ว บางคนมีความสามารถในการวิเคราะห์สภาวะเศรษฐกิจดี หรือมีความเชี่ยวชาญในการจับจังหวะตลาด อาจจะใช้ TAA หรือ การทำ Tactical ของสัดส่วนสินทรัพย์ในช่วงเวลาสั้น ๆ เช่น 1 ปี หรือ 1 ปีครึ่ง เพื่อสร้างผลตอบแทนระยะสั้นเราสามารถนำปัจจัยทางเศรษฐกิจ เช่นอัตราการเติบโตของหุ้นและประเทศที่ลงทุน อัตราเงินเฟ้อ นโยบายการเงิน การเมือง มาปรับสัดส่วนออกจาก SAA ได้ แต่ไม่มากเกินไป เช่นสูงสุด 20-30% เป็นต้น 

 

6. มีสติในทุกการตัดสินใจลงทุนความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้เสมอและมีตัวอย่างให้เห็นอยู่ตลอดมาดังอ้างอิงจากข้อที่แล้ว สิ่งสำคัญที่สุดสำหรับนักลงทุน คือ “การมีสติในทุกการลงทุน” พร้อมรับความเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ รู้จักรอในเวลาที่เหมาะสม รู้จักเข้าใจเวลาที่ควร เพื่อการตัดสินใจที่ดีที่สุด

จะเห็นได้ว่าจากคำแนะนำในการแบ่งพอร์ตการลงทุนหรือการแบ่งพอร์ตการลงทุนนั้นควรเริ่มจากสิ่งที่เป็นเรื่องการตรวจสอบเรื่องส่วนตัวของนักลงทุนเองก่อนไม่ว่าจะเป็นการกำหนดเป้าหมายการลงทุนลงนักลงทุนเองตามหลัก SMART เพื่อให้นักลงทุนมีกรอบเป้าหมายการลงทุนที่ชัดเจนและการประเมินความเสี่ยงเพื่อให้นักลงทุนรู้ว่าตนเองเหมาะสมกับรูปแบบการลงทุนแบบไหนจึงค่อยเริ่มที่จะเลือกสินทรัพย์ในการลงทุนและค่อยๆทยอยปรับเปลี่ยนลักษณะการแบ่งพอร์ตการลงทุนให้เหมาะสมกับนักลงทุนมากยิ่งขึ้นโดยนี่คือทั้งหมดของวิธีในการสร้างพอร์ตการลงทุนให้เหมาะกับตนเองนั้นเอง

 

หมายเหตุ

 

คริปโทเคอร์เรนซีและโทเคนดิจิทัลมีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจำนวนและสินทรัพย์ดิจิทัลมีความเสี่ยง และ ผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอนาคต โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้

เรื่องราวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

Merkle Capital คือผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัลแห่งแรกในประเทศไทย ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานก.ล.ต. บริษัทให้การดูแลและบริหารเงินลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลแก่ลูกค้าด้วยกลยุทธ์ที่หลากหลายโดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนและการบริหารจัดการ