กันยายน 10, 2024
การวางแผนภาษีเป็นกระบวนการที่สำคัญสำหรับทุกคนที่มีรายได้ การวางแผนให้เกิดผลประโยชน์สูงสุดไม่เพียงแต่ช่วยลดภาระภาษีเท่านั้น แต่ยังเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยเพิ่มความมั่งคั่งและป้องกันทรัพย์สินอย่างมีประสิทธิภาพ
การวางแผนภาษีเป็นกระบวนการที่สำคัญสำหรับทุกคนที่มีรายได้ การวางแผนให้เกิดผลประโยชน์สูงสุดไม่เพียงแต่ช่วยลดภาระภาษีเท่านั้น แต่ยังเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยเพิ่มความมั่งคั่งและป้องกันทรัพย์สินอย่างมีประสิทธิภาพ
การวางแผนภาษีเป็นกระบวนการที่สำคัญในการจัดการทรัพย์สินและรายได้เพื่อลดภาระภาษีให้มากที่สุดที่เป็นไปได้ตามกฎหมาย โดยการวางแผนภาษีไม่เพียงแค่การคำนวณภาษีที่ต้องจ่าย แต่เป็นการเลือกใช้เทคนิคต่าง ๆ เพื่อลดหย่อนภาษีอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ โดยภาษีที่วางแผนได้รวมถึงภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีธุรกิจ และภาษีอสังหาริมทรัพย์ เพื่อให้การเงินส่วนตัวหรือธุรกิจมีประสิทธิผลที่สูงสุดต่อไป
การวางแผนภาษีเพื่อลดภาระภาษี การวางแผนภาษีไม่ใช่เพียงแค่การตั้งคำถามกับตัวเอง "ภาษีที่จะจ่ายเท่าไหร่ ?" แต่เป็นการออกแบบวิธีการจัดการทรัพย์สินและรายได้ให้เกิดผลตอบแทนที่สูงสุด โดยคำนึงถึงเทคนิคการลดหย่อนภาษีอย่างถูกต้อง รวมถึงการใช้บริการที่เชี่ยวชาญเพื่อช่วยในการวางแผนเพื่อการเสียภาษีที่มีประสิทธิภาพ
การลงทุนและการออกแบบผลการเสียภาษี การลงทุนในทรัพย์สินที่มีการยกเว้นภาษีหรือภาษีลดหย่อนสามารถเป็นเครื่องมือสำคัญในการวางแผนภาษี การเลือกลงทุนให้เหมาะสม เช่น การลงทุนในกองทุนรวมหรือหุ้นที่มีการยกเว้นภาษี การลงทุนในบ้านหลังแรกหรือที่พักอาศัย สามารถช่วยลดหย่อนภาษีได้ตามกฎหมาย
การบริหารทรัพย์สินส่วนตัว การจัดการทรัพย์สินส่วนตัวให้มีรายได้และมีประสิทธิผลจะช่วยเพิ่มฐานะทางการเงิน การลงทุนในทรัพย์สินที่สร้างรายได้ เช่น การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์เพื่อเช่า การลงทุนในธุรกิจเสริมรายได้ เป็นต้น จะช่วยเพิ่มรายได้และลดภาระภาษี
การวางแผนการลดหย่อนภาษีในอนาคต การวางแผนภาษีไม่เพียงแค่ส่งมอบผลประโยชน์ในปัจจุบัน แต่ยังเป็นการมองไปในอนาคต เช่น การวางแผนการเงินส่วนตัว เพื่อปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ทางการเงินที่เปลี่ยนแปลง การวางแผนการเกษียณอายุ เพื่อสร้างกองทุนเพื่อค่าชีวิตหลังเกษียณอายุ การวางแผนการลดหย่อนภาษีที่เหมาะสมสำหรับอนาคตจะช่วยลดภาระภาษีอย่างมีประสิทธิภาพ
การวางแผนภาษีไม่ใช่เรื่องซับซ้อนและใช้เฉพาะกับคนรวยเท่านั้น แต่เป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยเพิ่มความมั่งคั่ง ลดภาระภาษี และป้องกันทรัพย์สินให้กับคนที่เรารักอย่างมีประสิทธิภาพ ควรเริ่มต้นวางแผนภาษีตอนที่ยังมีโอกาสเนื่องจากเป็นขั้นตอนที่ต้องเตรียมเอกสาร ศึกษารายละเอียดและข้อมูลเพื่อไม่ให้เกิดความเสี่ยงและการผิดพลาดที่จะก่อให้เกิดความผิดทางกฎหมายตามมา โดยส่วนใหญ่แล้วนิยมเริ่มต้นวางแผนภาษีตั้งแต่ต้นปีแต่สำหรับคนที่ไม่มีเวลาในการศึกษาข้อมูล ปัจจุบันมีบริการที่ปรึกษาทางการเงินที่จะช่วยออกแบบและวางแผนภาษีให้เหมาะกับระดับรายได้และความต้องการของแต่ละบุคคล
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ถือเป็นภาษีทางตรงที่บุคคลธรรมดาอย่างเราต้องเสีย โดยโครงสร้างในการคิดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะคำนวณได้จากการนำเงินได้สุทธิมาคูณกับอัตราภาษีซึ่งจะแตกต่างกันในแต่ละบุคคลตามระดับรายได้
โดยที่รายได้พึงประเมินคือรายได้ทั้งหมดหักด้วย
รายได้ที่ต้องนำมาคำนวณเพื่อเสียภาษีมีทั้งหมด 8 ประเภท แบ่งตามอาชีพและต้นทุนในการประกอบอาชีพที่แตกต่างกัน เพื่อความเป็นธรรมในการคำนวณและการจ่ายภาษีที่เกิดขึ้น แต่ในบางกรณีเงินได้ของบุคคลอาจถูกจัดเป็นเงินได้หลายประเภท ซึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะของสัญญาการจ้างงานหรือข้อตกลงทางธุรกิจ เพื่อให้เข้าใจหลักเกณฑ์ในการจำแนกประเภทของเงินได้อย่างถูกต้อง เพื่อให้การหักค่าใช้จ่ายเป็นไปอย่างคุ้มค่าที่สุด รายได้พึงประเมินมีตัวอย่างดังนี้
1. เงินได้ประเภทที่ 1 ได้แก่ เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน ไม่ว่าจะเป็น
เงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส เบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ
2. เงินได้ประเภทที่ 2 ได้แก่ เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้ ไม่ว่าจะเป็น
3. เงินได้ประเภทที่ 3 ได้แก่ ค่าความนิยม (Goodwill) ค่าลิขสิทธิ์หรือสิทธิอย่างอื่น เงินปี หรือเงินได้ที่มีลักษณะ เป็นเงินรายปีอันได้มาจากพินัยกรรม นิติกรรมอย่างอื่น หรือคำพิพากษาของศาล
4. เงินได้ประเภทที่ 4 ได้แก่ ดอกเบี้ย เงินปันผล เงินส่วนแบ่งกำไร เงินลดทุน เงินเพิ่มทุน ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนหุ้น เป็นต้น
5. เงินได้ประเภทที่ 5 เงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน เงินหรือประโยชน์อย่างอื่น
6. เงินได้ประเภทที่ 6 ได้แก่ เงินได้จากวิชาชีพอิสระ คือวิชากฎหมาย การประกอบโรคศิลปะ วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชี ประณีตศิลปกรรม หรือวิชาชีพอื่น ๆ ซึ่งจะได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดชนิดไว้
7. เงินได้ประเภทที่ 7 ได้แก่ เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระ ในส่วนสำคัญนอกจากเครื่องมือ
8. เงินได้ประเภทที่ 8 ได้แก่ เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง การขายอสังหาริมทรัพย์ หรือการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ในประเภทที่ 1 ถึงประเภทที่ 7
เมื่อพูดถึงสิ่งที่จะช่วยบริหารภาษี เพราะทุกคนที่มีรายได้ประจำตั้งแต่ 120,000 บาทต่อปีหรือมีรายได้ประเภทอื่น ๆ ตั้งแต่ 60,000 บาทต่อปี จะต้องเสียภาษีตามกฎหมาย ยิ่งรายได้สูง ภาษีก็สูงขึ้นตามไปด้วย หนึ่งในปัจจัยที่สำคัญที่สุด คือการใช้สิทธิลดหย่อนภาษีทั้งนี้สิทธิลดหย่อนภาษีที่กฎหมายได้ระบุไว้อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ ดังนั้นจึงควรหมั่นติดตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขในทุกปี เพื่อที่จะได้วางแผนลดหย่อนภาษีได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
สิทธิลดหย่อนภาษี คือ รายการที่กฎหมายกำหนดให้สามารถลดหย่อนจากรายได้ที่ได้รับได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายแล้ว วิธีการคำนวณมีดังนี้ :
รายได้ต่อปี - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน = เงินได้สุทธิ
เงินได้สุทธิ x อัตราภาษี = เงินภาษีที่ต้องจ่าย
สิทธิลดหย่อนภาษีจึงเป็นสิทธิพื้นฐานที่คนเสียภาษีทุกคนจะได้รับ โดยปกติคือค่าลดหย่อนส่วนตัวคนละ 60,000 บาท แต่หากสามารถค้นหาวิธีเพิ่มค่าลดหย่อนภาษีเพิ่มเติมได้ จะช่วยประหยัดเงินได้มากขึ้น
โดยสรุปการลดหย่อนภาษีนี้ช่วยให้ผู้เสียภาษีลดภาระภาษีได้มากขึ้น โดยการใช้สิทธิ์ลดหย่อนตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ด้านบนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเงินส่วนตัวและครอบครัวได้ดีขึ้น การวางแผนภาษีช่วยลดภาษีไม่เพียงทำให้เราจ่ายภาษีน้อยลง การมีเงินคงเหลือนี้สามารถใช้จ่ายในทางอื่นหรือเก็บเพื่อลงทุนเพิ่มได้เพื่อต่อยอดไปสู้เป้าหมายทางการเงินที่ได้วางไว้ในอนาคต
สำหรับวิธียื่นภาษีปัจจุบันสามารถทำได้ผ่านช่องทางออนไลน์ โดยที่สามารถแบ่งขั้นตอนแบบฉบับเข้าใจง่ายเหมาะสำหรับมือใหม่ที่อยู่ในช่วงเริ่มต้นวางแผนภาษีสามารถทำตามได้ง่าย ๆ ได้ดังนี้
เริ่มต้นจากเตรียมเอกสารสำคัญสำหรับการยื่นภาษีออนไลน์ โดยสามารถแบ่งการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ 2 ประเภทหลัก
จากนั้นเข้าสู่กระบวนการตรวจสอบข้อมูลของกรมสรรพากรเพื่อพิจารณาผลการยื่นแบบภาษีเมื่อทางสรรพากรทำการตรวจสอบข้อมูลแล้วจะเข้าสู่ขั้นตอนถัดไปคือการแจ้งผลการยื่นแบบภาษีซึ่งจะสามารถเข้าไปติดตามผลการประเมินได้ผ่านทางเว็บไซต์ โดยจะมีผลการยืนแบบทั้งหมด 2 ประเภท
ทั้งนี้การยื่นแบบภาษีประจำปี จะมีรายละเอียดที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาจากการออกนโยบายเพื่อสนับสนุนผู้เสียภาษีจากทางรัฐบาลผ่านโครงการต่าง ๆ ผู้ที่จำเป็นต้องยื่นแบบภาษีควรศึกษาข้อมูลรายละเอียดจากเว็บไซต์กรมสรรพากรเพื่อให้ไม่พลาดสิทธิในการลดหย่อนภาษี
คริปโทเคอร์เรนซีและโทเคนดิจิทัลมีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจำนวนและสินทรัพย์ดิจิทัลมีความเสี่ยง และ ผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอนาคต โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
Disclaimer