เทคโนโลยีบล็อกเชน คืออะไร มีประโยชน์อย่างไร

พฤษภาคม 17, 2024

thumbnail

เทคโนโลยีบล็อกเชน คืออะไร มีประโยชน์อย่างไร

ตั้งแต่ปี 2020 เป็นต้นมาคนทั่วไปได้ทำความรู้จักกับ Bitcoin ซึ่งเป็นสกุลเงินดิจิทัลบน ”เทคโนโลยีบล็อกเชน” โดยคำว่า บล็อกเชน หลายคนที่คลุกคลีอยู่ในวงการการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลก็คุ้นหูกันมาบ้าง แต่สำหรับคนทั่วไปคงยังมีข้อสงสัยว่าบล็อกเชนคืออะไร นอกจากจะเกี่ยวข้องกับวงการสกุลเงินดิจิทัลแล้วยังมีส่วนสำคัญกับอุตสาหกรรมอื่น ๆ อีกมากมาย 

 


เทคโนโลยีบล็อกเชน


บล็อกเชนคืออะไร มีต้นกำเนิดมาจากไหน

บล็อกเชนคืออะไร บล็อกเชน (Blockchain) คือเทคโนโลยีที่ช่วยให้การตรวจสอบและแบ่งปันข้อมูลได้อย่างปลอดภัย โดยข้อมูลจะถูกเก็บเอาไว้บนฐานข้อมูล และรายการธุรกรรมจะถูกบันทึกไว้บนสิ่งที่เรียกว่า ‘ฐานข้อมูลแบบกระจายศูนย์’ หรือ ‘Distributed Ledger Technology (DLT)’ โดยนับเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีระดับท็อปในปัจจุบัน

โดยบล็อกเชนสามารถเก็บบันทึกข้อมูลและธุรกรรมได้ถาวร ไม่สามารถปลอมแปลงได้ ไม่มีเวลาหมดอายุ มีความโปร่งใสและความปลอดภัยสูง ผู้ใช้งานจึงสามารถทำธุรกรรมอย่างการแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ที่มีมูลค่าได้อย่างสบายใจและความปลอดภัยของเทคโนโลยีบล็อกเชนนั้นก็เกิดขึ้นมาจากกระบวนการทำงานที่ล้ำสมัยและซับซ้อนเป็นอย่างยิ่ง เพื่อที่จะทำความเข้าใจว่าบล็อกเชนคืออะไรทางผู้เขียนขออธิบายว่ามันคือการทำงานร่วมกันของ 3 เทคโนโลยี ดังนี้

 

  • Cryptographic keys แบ่งออกเป็น 2 ลูกกุญแจ คือ Private key และ Public key โดยลูกกุญแจเหล่านี้จะเป็นตัวช่วยให้การดำเนินธุรกรรมระหว่างสองฝ่ายประสบความสำเร็จ ลูกกุญแจทั้ง 2 ดอกนี้ใช้เพื่อเข้าถึงและยืนยัน Secured Identity ซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของเทคโนโลยีบล็อกเชน สำหรับหรับในโลกของสกุลเงินดิจิทัล Secured Identity นี้เรียกว่า 'ลายเซ็นดิจิทัล' ซึ่งใช้ในการอนุมัติและดำเนินธุรกรรม
  • peer-to-peer network คือเครือข่ายที่เก็บรวบรวม 'ลายเซ็นดิจิทัล' 
  • การคำนวณเพื่อบันทึกการทำธุรกรรมและข้อมูลของเครือข่าย โดยธุรกรรมต่าง ๆ จะอนุมัติโดยการตรวจสอบทางคณิตศาสตร์ ทำให้เกิดความปลอดภัยในการทำธุรกรรม

 


เทคโนโลยีบล็อกเชน


สำหรับหลายคำถามว่าเทคโนโลยีบล็อกเชนคืออะไร เกิดเมื่อไหร่ถึงแม้ว่าจะพึ่งได้รับความสนใจมาได้ไม่นานแต่ก็เริ่มมีการคิดค้นกันมาตั้งแต่ปี 1991 โดยทีมนักวิทยาศาสตร์การวิจัยอย่าง Stuart Haber และ W. Scott Stornetta ที่ได้คิดค้นและนำเสนอระบบที่อนุญาตให้มีการประทับเวลาของเอกสารโดยไม่สามารถแก้ไขประทับเวลาได้และเอกสารที่มีการประทับเวลาจะถูกจัดเก็บไว้ใน ‘Blockchain’

และในปี 2000 Stefan Konst ก็ได้ตีพิมพ์ทฤษฎีเกี่ยวกับ Cryptographic Secured เครือข่ายที่ใช้การเข้ารหัสเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการจัดเก็บข้อมูลและการทำธุรกรรม และได้เปิดตัวระบบเงินตราดิจิทัลที่เรียกว่า “Reusable Proof of Work” โดยใช้แนวคิดในการเป็นเจ้าของ Token บนเครือข่ายที่น่าเชื่อถือ

และในปี 2008 บุคคลที่ใช้นามแฝงว่า Satoshi Nakamoto ได้เขียนและเผยแพร่สมุดปกขาวหรือ White Paper เรื่อง “ระบบเงินตราอิเล็กทรอนิกส์แบบ Peer-to-Peer” โดยสร้างจากแนวคิดข้างต้น และได้เขียนถึงแนวความคิดเกี่ยวกับ Distributed Blockchain ในรายงาน โดย Satoshi Nakamoto อ้างว่า Blockchain จะสร้างกระบวนการทำธุรกรรมแบบ Peer-to-Peer ที่ได้รับความไว้วางใจมากจนไม่ต้องไม่ต้องพึ่งบุคคลที่สามอย่าง ธนาคารหรือรัฐบาล อีกต่อไป โดยระบบของ Nakamoto ยังมีประสิทธิภาพมากจนบล็อกเชนกลายเป็นรากฐานของการเข้ารหัสหรือ Cryptography และ Nakamoto ยังให้คำจำกัดความของเหรียญอิเล็กทรอนิกส์ว่าเป็น “chain ของลายเซ็นดิจิทัล” ที่ช่วยให้เจ้าของเหรียญสามารถโอนเหรียญให้กันและกันได้อย่างปลอดภัยและไม่ผ่านตัวกลาง

หนึ่งปีต่อมาแนวคิดที่เคยอยู่ในสมุดปกขาวก็กลายเป็นความจริง Bitcoin ของ Nakamoto ถูกขุดบล็อกแรกเมื่อวันที่ 3 มกราคม 2552 มีจำนวนรางวัลในการขุดทั้งสิ้น 50 bitcoin และเมื่อวันที่ 12 มกราคม ธุรกรรมของ Bitcoin ก็เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อ Nakamoto ส่ง 10 Bitcoin ให้กับ Finney และก่อนสิ้นปี Nakamoto ได้เปิดตัวตลาด Bitcoin ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มสาธารณะที่ผู้คนสามารถแลกเปลี่ยนเงินเฟียตเป็น Bitcoin และเข้าร่วมการซื้อขายได้

แต่ทุกวันนี้ นักขุดต้องใช้เวลาในการขุด Bitcoin มากขึ้นโดยต้องคำนวณสมการทางคณิตศาสตร์ในการทำธุรกรรมโดยใช้คอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง หลังจากคำนวณสมการทางคณิตศาสตร์แล้วจะได้รับรางวัลจากการคำนวณนั้น นักขุดจะต้องแก้โจทย์การเข้ารหัสเพื่อตรวจสอบธุรกรรม โดยนักขุดคนแรกที่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องจะได้รับ Bitcoin เป็นรางวัล

 

ประโยชน์ของ Blockchain มีอะไรบ้าง


ประโยชน์ของ Blockchain


สำหรับคำถามยอดนิยมของผู้ที่พึ่งเริ่มศึกษาเทคโนโลยีบล็อกเชนคือประโยชน์ของเทคโนโลยีบล็อกเชนคืออะไรบ้าง โดยเทคโนโลยีบล็อกเชนนั้นเป็นเครือข่ายแบบกระจายอำนาจ ซึ่งหมายความว่าไม่มีจุดศูนย์กลางมาควบคุม ในด้านระบบเงินตราแบบ Federal Reserve จะมีศุนย์กลายมาควบคุมมูลค่าของเงินดอลลาร์ และในระบบแบบดั้งเดิม ศูนย์กลางจะควบคุมทุกอย่าง แต่ในโลกบล็อกเชน ข้อมูลจะถูกกระจายและเข้าถึงได้ผ่านอุปกรณ์หลายเครื่อง โดยไม่มีศูนย์กลางมาควบคุม เทคโนโลยีนี้จะสร้างเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นซึ่งช่วยรักษาข้อมูลให้ปลอดภัยยิ่งขึ้น

เทคโนโลยีบล็อกเชนมีความปลอดภัยสูงโดยในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น Healthcare ซึ่งความปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญ เทคโนโลยีบล็อกเชนสามารถช่วยได้อย่างมาก โดยอนุญาตให้เฉพาะผู้ที่มี Private Key เท่านั้นที่สามารถเข้าถึงบันทึกของผู้ป่วยแต่ละรายได้ โดยการรักษาความปลอดภัยระดับสูงนี้จะช่วยเพิ่มความไว้วางใจให้ฝ่ายต่าง ๆ เชื่อถือข้อมูลที่ได้รับ และการทำงานยังสามารถดำเนินต่อไปได้โดยมีความล่าช้าน้อยลง

เทคโนโลยีบล็อกเชนยังสามารถทำงานร่วมกันได้อีกด้วย บล็อกเชนสามารถใช้การสื่อสารระหว่างกันได้ ทำให้สามารถส่งข้อความข้ามบล็อกเชนได้ โดยบล็อกเชนสามารถอ่านข้อมูลจากบล็อกเชนอื่นๆ ซึ่งเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจสอบข้อมูลของการดำเนินงานต่อ Blockchain มีประโยชน์หลายประการโดยสำหรับเทคโนโลยีบล็อกเชน ประการแรก Blockchain ไม่เคยหลับใหล ธุรกรรมที่ดำเนินการบน Blockchain สามารถตรวจสอบได้ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง ไม่ใช่แค่ในช่วงเวลาทำการปกติ และเมื่อใดที่ธนาคารควบรวมเทคโนโลยีบล็อกเชนเข้ากับการดำเนินงานของธนาคาร ลูกค้าจะสามารถเห็นธุรกรรมที่ประมวลผลแบบเรียลไทม์ตลอด 24 ชั่วโมง แม้ในวันหยุดสุดสัปดาห์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ และผลประโยชน์นี้จะเอื้อประโยชน์อย่างมากในวงการการซื้อขายหุ้นและการลงทุน

โดยสิ่งนี้จะช่วยให้หลายอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมอาหารและอุตสาหกรรมการค้าปลีกให้มีระบบที่สามารถติดตามผลิตภัณฑ์ในการดำเนินงานในขั้นตอนต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

 

Blockchain สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างไร


Blockchain สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างไร


การที่นักลงทุนเข้าใจแล้วว่าบล็อกเชนคืออะไร จะนำไปสู่หนึ่งในความท้าทายของการใช้บล็อกเชนในปัจจุบันคือต้องการที่จะให้มีการใช้บล็อกเชนในหลากหลายอุตสาหกรรมนอกเหนือจากสกุลเงินดิจิทัล แต่ความท้ายทายนี้ทำให้ผู้ใช้งานต้องเผชิญกับปัญหาของระบบที่ไม่สามารถรับมือกับจำนวนธุรกรรมที่เพิ่มขึ้นทำให้เกิดความล่าช้าได้ แต่ในปัจจุบันมีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน ในทางปฏิบัติมากมาย โดยในโลกเศรษฐกิจปัจจุบัน นอกเหนือจากสกุลเงินดิจิทัล เทคโนโลยีบล็อกเชนยังคงเป็นตัวเลือกยอดนิยมให้บริษัทต่างๆ สามารถใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนในการจัดการเรื่องกระบวนการทำงานหรือ Supplier การรักษาเอกสารและข้อมูลต่าง ๆ ให้ปลอดภัย และอำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรมทางการเงิน และยังนำเทคโนโลยีบล็อกเชนไปใช้แก้ปัญหาในการดำเนินงานต่าง ๆ อีกมากมาย เช่น

  • ทำให้การโอนเงินระหว่างประเทศที่มีความรวดเร็วมากขึ้นและปัญหาด้านความปลอดภัยน้อยลง
  • การตัดบัญชีและการชำระเงินในตลาดทุนรวดเร็วยิ่งขึ้น
  • การเพิ่มความรวดเร็วในการทำธุรกรรมการเงิน
  • การป้องกันการฟอกเงิน
  • ความง่ายในการทำธุรกรรมแบบ peer-to-peer
  • การคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา

และในอนาคตเทคโนโลยีบล็อกเชนจะปฏิวัติอุตสาหกรรมการเงิน โดยปรับปรุงความโปร่งใสของอุตสาหกรรมและลดข้อผิดพลาดของการดำเนินงาน เช่น

  • ระบบการชำระเงินบนบล็อกเชน – ระบบเหล่านี้มีความปลอดภัยและโปร่งใสสูง แต่ไม่ต้องพึ่งพาบุคคลที่สาม ทำให้ต้นทุนต่ำและรวดเร็วยิ่งขึ้น
  • การรักษาความปลอดภัยและการจัดการสินทรัพย์ – ช่วยเพิ่มความแม่นยำและความปลอดภัยในสินทรัพย์มากขึ้น
  • ประยุกต์ใช้กับการทำงานของธนาคารได้ – เทคโนโลยีบล็อกเชนสามารถเพิ่มการเข้าถึงบริการของธนาคารในพื้นที่ต่างๆ ที่โครงสร้างพื้นฐานของธนาคารอ่อนแอได้
  • การป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ – เนื่องจากการโจมตีทางไซเบอร์เกิดขึ้นบ่อยครั้งในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ความสามารถในการป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ก็เป็นหนึ่งในข้อดีของเทคโนโลยีบล็อกเชน และอาจส่งผลให้เทคโนโลยีบล็อกเชนได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน
  • สัญญาอัจฉริยะ (Smart Contract) – สัญญาอัจฉริยะที่จัดเก็บไว้ในบล็อกเชนจะไม่สามารถแก้ไขได้ และช่วยลดความจำเป็นในการมีคนกลางหรือบุคคลที่สามในการรับรองเอกสารดังกล่าว โดยเทคโนโลยีนี้ยังช่วยให้คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายสามารถวางเงื่อนไขในสัญญาเพื่อให้สัญญามีประสิทธิภาพมากขึ้นเมื่อทำธุรกรรมทางการเงินที่ซับซ้อนซึ่งต้องการความไว้วางใจสูงระหว่างคู่สัญญา

 

สรุป

เทคโนโลยีบล็อกเชนช่วยลดต้นทุนทางธุรกิจ ช่วยให้บริษัทต่างๆ ในอุตสาหกรรมการเงินและการบัญชีสามารถให้บริการลูกค้าด้วยธุรกรรมที่ปลอดภัยและเชื่อถือได้ พร้อมสามารถติดตามประวัติการทำธุรกรรมได้โดยไม่ต้องมีพึ่งตัวกลาง โดยเทคโนโลยีบล็อกเชนยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นการเปิดโอกาสให้อาชีพใหม่ ๆ เกิดขึ้นเพื่อการเติบโตในเศรษฐกิจดิจิทัล โดยคาดว่าโอกาสเหล่านี้ จะเติบโตมากขึ้นตามการเติบโตของเทคโนโลยี

หมายเหตุ
คริปโทเคอร์เรนซีและโทเคนดิจิทัลมีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจำนวนและสินทรัพย์ดิจิทัลมีความเสี่ยง และ ผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอนาคต โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้

เรื่องราวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

Merkle Capital คือผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัลแห่งแรกในประเทศไทย ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานก.ล.ต. บริษัทให้การดูแลและบริหารเงินลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลแก่ลูกค้าด้วยกลยุทธ์ที่หลากหลายโดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนและการบริหารจัดการ