ตุลาคม 29, 2024
Blockchain Infrastructure คือบริษัทหรือองค์กรที่ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น ถ้าในโลกคริปโตฯ คือองค์กรที่ให้บริการเกี่ยวกับการทำงานของระบบบล็อกเชนและสกุลเงินดิจิทัล โครงสร้างพื้นฐานเหล่านี้รวมถึงการจัดหาเครือข่ายที่มั่นคงและปลอดภัย การให้บริการการจัดเก็บและการเข้าถึงข้อมูล การจัดการโหนด (Node Management) การสนับสนุนการทำธุรกรรม และการพัฒนาสัญญาอัจฉริยะ (Smart Contract) รวมถึงการสร้างและรักษาสภาพแวดล้อมที่ช่วยให้นักพัฒนาสามารถสร้างและเปิดตัวแอปพลิเคชันแบบกระจายศูนย์ (Decentralized Applications หรือ DApps) ได้
อาจจะยังไม่เข้าใจความหมายที่เป็นศัพท์เทคนิค เรามายกตัวอย่างกันง่าย ๆ ให้เข้าใจกันดีกว่า Blockchain Infrastructure คือทุกอย่างที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานในโลกการเงินแบบดั้งเดิมจะถูกยกขึ้นมาบนโลกบล็อกเชนหรือโลก Web3.0 ทั้งหมด ยกตัวอย่างเช่น ธนาคารที่ทำหน้าที่ปล่อยกู้ก็จะถูกแทนที่ด้วย Lending Protocal อย่าง Aave กระดานเทรดหรือตัวกลางค่อยส่งคำสั่งซื้อและขายอย่างโบรกเกอร์ ก็จะถูกแทนที่ด้วยสัญญาอัจฉริยะหรือ Swap Prptocal อย่าง Uniswap และให้เราสามารถเก็บสินทรัพย์ดิจิทัลได้ด้วยตนเอง แต่เบื้องหลังถูกจัดสรรทรัพยากรที่ทำให้การทำงานอะไรต่าง ๆ เป็นไปได้ด้วยโหนด สัญญาอัจฉริยะต่าง ๆ
โลกการเงินแบบดั้งเดิมและโลกดิจิทัลมีลักษณะและแนวทางที่แตกต่างกันในการจัดการและดำเนินธุรกรรมทางการเงิน นี่คือการเปรียบเทียบที่ชัดเจนระหว่างสองโลกนี้ :
จะเห็นได้ว่ามีความแตกต่างกันระหว่างโลกการเงินแบบดั้งเดิมและโลกการเงินแบบดิจิทัล ซึ่งโลกการเงินแบบดั้งเดิมยังต้องการตัวกลางอยู่ ในขณะที่โลกดิจิทัลไม่ต้องการตัวกลางเลย แต่ทุกอย่างมีข้อดีข้อเสีย โลกแห่งตัวกลางไม่ได้ดีสำหรับทุกคน และโลกที่ไม่มีตัวกลางเลยก็ไม่ได้ดีสำหรับทุกคน จึงเกิดการควบรวมกันระหว่าง Infrastructure ของโลกดิจิทัลและตัวกลางในโลกการเงินแบบดั้งเดิม โดยยังมีการกำกับดูแลจากตัวกลางที่น่าเชื่อถูกอยู่แต่ถูกลดลงในบางส่วน และแทนที่โดย Infrastructure ของบล็อกเชน
จากที่กล่าวไปข้างต้นว่ามีการควบรวมกันระหว่างโลกการเงินแบบดั้งเดิมและโลกคริปโตฯ หน้าที่ของ Blockchain Infrastructure คือคนกลางที่เข้ามาดูแลการควบรวมระหว่างทั้งสองโลก ซึ่ง Infrastructure เหล่านี้ในมุมมองของนักลงทุนอย่างเรา ๆ ถือว่าได้เป็นนวัตกรรมที่เปลี่ยนแปลงโลกการลงทุนจากหน้ามือเป็นหลังมือเลย เพราะเป็นการเปิดสิ่งใหม่ ๆ ที่โลกการลงทุนแบบดั้งเดิมไม่สามารถทำได้
โดยสรุป Blockchain Infrastructure ทำหน้าที่เป็นคนกลางในการควบรวมโลกการเงินดั้งเดิมและคริปโตฯ เข้าด้วยกัน โดยมีบทบาทสำคัญในการรักษาความปลอดภัยด้วยการเข้ารหัสบล็อกเชน การกระจายศูนย์ผ่าน Consensus Mechanism การเข้าถึงทั่วโลก และการแบ่งย่อยสินทรัพย์ดิจิทัล เช่น Ethereum ที่แบ่งหน่วยได้ถึง 16 หลัก
โดยปกติโลกการเงินแบบดั้งเดิมจะดึงศักยภาพออกมาใช้ได้ไม่ถึงที่สุด แต่การรวมกันระหว่างโลกการเงินแบบดั้งเดิมและโลกคริปโตฯ ทำให้สิ่งเหล่านี้ถูกดึงออกมาใช้และเกิดประโยชน์สูงสุด แต่การใช้บล็อกเชนก็โดยตรงอย่างเดียวก็เกิดปัญหาสำหรับคนบางกลุ่มที่ไม่เชี่ยวชาญในด้านเทคโนโลยีมาก Blockchain Infrastructure เลยเข้ามาดูแลในส่วนนี้แทน
ในการเก็บรักษาความปลอดภัยของสินทรัพย์ในโลกบล็อกเชน ต้องใช้ความรู้มากในการระมัดระวังตัว การเชื่อมต่อสัญญาอัจฉริยะมั่ว อาจทำให้สูญเสียสินทรัพย์ทั้งหมดได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มนักลงทุนสถาบันที่ไม่ได้มีหน่วยงานดูแลคริปโตฯ แบบโดยตรง ต้องยืมให้คนอื่นช่วยดูแลคริปโตฯ ให้ ว่าง่าย ๆ คือกลุ่มคนที่มองหาคนอื่นมาดูแลในส่วนนี้แทนตนเองที่ไม่มีเวลาดูนั่นเอง
การเข้ามาลงทุนสินทรัพย์ดิจิทัลเองไม่ใช่เรื่องยาก แต่ต้องการความรู้ทางเทคโนโลยีค่อนข้างมาก ซึ่งในอนาคตที่มีการให้ความรู้ที่เหมาะสมทุกคนจะสามารถเข้าถึงคริปโตฯ ได้อย่างง่าย แต่ในปัจจุบันที่ทางหน่วยงานกำกับดูแลยังไม่ออกกฏดูแลอย่างครอบคลุม ทำให้ยังไม่มีใครกล้าทำอะไรมาก พร้อมทั้งความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีบล็อกเชนที่ยังคงซับซ้อนและไม่ค่อยเห็นภาพนัก ดังนั้นในช่วงนี้ Blockchain Infrastructure ถึงเข้ามาดูแลในส่วนนี้แทนนักลงทุนที่ไม่มีเวลา
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือกองทุนบล็อกเชนต่าง ๆ ที่ทางธนาคารเสนอ กอง Fund Manager ต่าง ๆ และล่าสุด ETFs ที่ออกโดยฝั่งสหรัฐอเมริกาที่ทำให้การเข้ามาลงทุนในโลกสินทรัพย์ดิจิทัลไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป โดยมีทั้ง Bitcoin ETF ที่อนุมัติไปแล้ว และ Etheruem ETF ที่กำลังรอตัวเต็มอนุมัติ ผลิตภัณฑ์การลงทุนเหล่านี้ทำให้คนทั่วไปเข้าถึงสินทรัพย์ดิทัลได้ง่ายขึ้นและเป็นการเพิ่มโอกาสในการลงทุนสินทรัพย์ดิจิทัล
ในส่วนนี้มีทั้งการเข้ามาของฝั่งธนาคารกลางและฝั่งเอกชน ในฝั่งธนาคารกลางได้มีการพัฒนา Central Bank Digital Currency ขึ้นมาก่อน ในขั้นต้นได้สร้าง Wholesale CBDC ขึ้นมาใช้กันเองระหว่างธนาคารเพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการโอนเงินระหว่างประเทศ ต่อมาได้มีความพยายามในการพัฒนา Retail CBDC เพื่อเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำหรับประชาชนให้ใช้งานกัน แต่รูปร่างยังไม่ชัดเจนนักในตอนนี้ เลยยังไม่มีภาพให้อธิบายมาก แต่ทางนักวิเคราะห์คิดว่าน่าจะเหมือนกับการใช้งานบล็อกเชน แบบ On-chain แต่ในส่วนของนักพัฒนาและผู้เข้ามาใช้งานต้องมีการ KYC ให้เรียบร้อย
ในทางของภาคเอกชนได้มีการสร้าง Stable Coin ขึ้นมา โดย Stable Coin คือสกุลเงินดิจิทัลที่ถูกออกแบบมาเพื่อรักษามูลค่าให้คงที่ โดยผูกค่าไว้กับสินทรัพย์ที่มีเสถียรภาพ เช่น ดอลลาร์สหรัฐ ทองคำ หรือสกุลเงินดิจิทัลอื่น ๆ จุดประสงค์หลักของ Stable Coin คือการลดความผันผวนของราคา ซึ่งเป็นปัญหาที่พบบ่อยในสกุลเงินดิจิทัลทั่วไป เช่น Bitcoin หรือ Ethereum ซึ่ง Stable Coin ถูกสร้างเพื่อเป็นตัวกลางในการนำเงินเข้า (Ramp-in) และพักเงินสำหรับนักลงทุน และในบางประเทศหรือบางคนที่ต้องการถือเงินสกุลสหรัฐอเมริกา การถือ Stable Coin เพื่อกระจายความเสี่ยงหรือป้องกันความเสี่ยงจากการเสื่อมค่าของเงินสกุลต้นทาง ก็เป็นตัวเลือกที่ดี
ตัวอย่างของ Stable Coin ทางฝั่งเอกชนคือ Tether และ Circle ที่สร้างเหรียญ USDT และ USDC ขึ้นมาโดยผูกกับสินทรัพย์ที่มีเสถียรภาพ เช่น 1 Stablecoin = 1 ดอลลาร์สหรัฐ เป็นประเภท Fiat-collateralized Stablecoin หรือ Stablecoin ที่มีการค้ำประกันด้วยเงินสดหรือสินทรัพย์ที่มีมูลค่าเทียบเท่า ในส่วน Stable Coin รูปแบบอื่น ๆ ยังไม่ได้ถูกกำกับดูแลนักและไม่ได้มีสัดส่วนที่ใหญ่ในตลาด
การลงทุนในคริปโตเคอร์เรนซีที่มีอนาคตและมีการใช้งานจริงมีข้อดีมากมาย เช่น ความเสถียรและความมั่นคง ความเสี่ยงที่ต่ำกว่า การยอมรับในวงกว้าง โอกาสในการเติบโตและพัฒนา และการเข้าถึงข้อมูลและการวิเคราะห์ที่ดีกว่า ทั้งนี้นักลงทุนควรพิจารณาความเหมาะสมและความเสี่ยงที่ตนเองยอมรับได้ในการลงทุน อย่างไรก็ตามโลกคริปโตเคอร์เรนซีเปลี่ยนไปเร็วมาก ๆ ต้องติดตามตลาดตลอดเวลา คอยหาความรู้เทคโนโลยีใหม่ ๆ และอัพเดทเทรนคริปโตฯ อยู่เสมอ ซึ่งต้องใช้ทรัพยากรเวลาเป็นอย่างมาก ทาง Merkle Capital เลยเข้ามาแก้ไขปัญหาจุดนั้นโดยเสนอกองทุน คริปโตเคอร์เรนซีที่ลงทุนเฉพาะ Blockchain Infrastructure ให้นักลงทุนได้เข้าถึงกันอย่างง่ายดาย
Blockchain Infrastructure มีบทบาทสำคัญในการเชื่อมโยงโลกการเงินแบบดั้งเดิมและโลกคริปโตฯ โดยทำหน้าที่ดูแลการควบรวมทั้งสองโลกเข้าด้วยกัน พวกเขาจัดหาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น เช่น ความปลอดภัยในการรักษาสินทรัพย์ดิจิทัลด้วยการเข้ารหัส Cryptography Hash Function และการจัดการโหนดแบบกระจายศูนย์ (Decentralization) นอกจากนี้ ยังมีการพัฒนาแพลตฟอร์มที่เปิดโอกาสให้ผู้คนทั่วโลกสามารถเข้าถึงและใช้งานสินทรัพย์ดิจิทัลได้อย่างง่ายดาย ทั้งมีการแบ่งย่อยสินทรัพย์ดิจิทัล (Fractionalization) ที่ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นในการลงทุน และทำให้เงินดิจิทัลใช้งานได้กว้างขวาง ตัวอย่างเช่น การสร้าง Stable Coin ที่มีมูลค่าคงที่เพื่อใช้ในการทำธุรกรรมและการเก็บรักษามูลค่า การพัฒนากองทุนบล็อกเชนและ ETFs ที่ทำให้การลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นเรื่องง่ายและปลอดภัยมากขึ้น อีกทั้งยังส่งเสริมให้เงินดิจิทัลสามารถใช้งานได้อย่างกว้างขวางในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะการพัฒนา Central Bank Digital Currency (CBDC) และผลิตภัณฑ์การเงินดิจิทัลอื่น ๆ ที่เป็นนวัตกรรมในการเปลี่ยนแปลงวิธีการทำธุรกรรมทางการเงินในยุคดิจิทัล
คริปโทเคอร์เรนซีและโทเคนดิจิทัลมีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจำนวนและสินทรัพย์ดิจิทัลมีความเสี่ยง และ ผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอนาคต โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
Disclaimer