พฤษภาคม 21, 2024
Decentralized คืออะไร ? ทำไมระบบการเงินถึงต้องมีความ Decentralized ผมเชื่อว่าหลายๆคนคงเคยได้ยินคำว่า Decentralized Finance หรือ DeFi ผ่านหูกันมาบ้างแล้ว ซึ่งที่ว่ากันว่าจะเข้ามาเปลี่ยนแปลงระบบการเงินในอนาคต โดยทำให้สามารถทำธุรกรรมโดยไม่ต้องพึ่งพาตัวกลางได้ วันนี้ผมจะพาทุกท่านไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับ Decentralized Finance และ Decentralized คืออะไร มีความเสี่ยงว่ามีอะไรบ้าง และ แตกต่างจากระบบการเงินดั้งเดิมอย่าง Centralized Finance อย่างไร
Decentralized Finance (DeFi) คือ การเปลี่ยนแปลงจากบริการทางการเงินแบบเก่าที่จะถูกควบคุมด้วยตัวกลางเป็นแบบไร้ตัวกลาง โดย Decentralized คือการที่มีความกระจายศูนย์ไม่ถูกควบคุมโดยใครคนใดคนหนึ่ง ส่วน Finance คือการเงิน รวมการเป็นระบบการงานแบบไร้คนกลาง โดยจะมีการใช้ระบบบล็อกเชนเข้ามาช่วย ซึ่งทำให้เราสามารถสร้างผลิตภัณฑ์ทางการเงินรูปแบบต่างๆได้ โดยการใช้ Smart Contract ซึ่งมีแนวคิดว่า Code is law หรือ โค้ดเป็นตัวกำหนดทุกสิ่งนั้นเอง
โดยจะสามารถสร้างเป็นแอปพลิชันต่างๆได้เช่น
โดย Decentralized Finance หรือ DeFi ถือว่าได้รับความนิยมอย่างมากในช่วงปลายปี 2020 ซึ่ง Uniswap เป็นตัวจุดกระแสจากนั้นก็เกิดเป็นยุคทองของ DeFi ขึ้นมา โดยมีแพลตฟอร์มเกิดใหม่ในช่วงนั้นมากมาย โดยการนำโค้ดของ Uniswap ไปต่อยอดพัฒนานั้นเอง
Decentralized Finance เป็นรูปแบบบริการทางการเงินแบบใหม่ก็จริง แล้วมันดีกว่าระบบเดิมอย่าง Centralized Finance อย่างไร ผมเชื่อว่าหลายๆคนน่าจะสงสัย โดยด้านล่างจะเป็นความแตกต่างระหว่าง Centralized กับ Decentralized Finance โดยรวมจะมีดังนี้
Centralized Finance |
Decentralized Finance |
ต้อง KYC |
ไม่ต้อง KYC |
การทำงานของระบบจะมีตัวกลางดูแล |
ไม่มีตัวกลางทุกอย่างถูกกำหนดด้วย Code |
ถูกกำกับโดยหน่วยงานรัฐของแต่ละประเทศ |
ไม่ได้อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของหน่วยรัฐ |
คนทั่วไปไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ |
ข้อมูลมีความโปร่งใส คนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ |
ตัวกลางเป็นผู้ดูแลเงินของเรา |
ผู้ใช้งานดูแลเงินด้วยตนเอง |
ไม่มีความเป็นส่วนตัว |
มีความเป็นส่วนตัว |
โดยรวม Decentralized Finance จะเข้ามาช่วยเรื่องความเชื่อใจ โดยที่เราสามารถทำธุรกรรมได้โดยที่ไม่ต้องพึ่งพาตัวกลาง, ไม่ต้องทำ KYC ที่เป็นขั้นตอนการยืนยันตัวตน, ทุกอย่างมีความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ และที่สำคัญคือเราเป็นผู้ดูแลเงินด้วยตนเอง ตาม Concept ที่ว่า “Not your key Not your coin”
ซึ่ง Centralized Finance จะเป็นผู้ดูแลเงินของเราทั้งหมดถึงแม้ว่าเงินจะขึ้นอยู่บนหน้าจอเราว่าเรามีเงินอยู่เท่าไหร่ก็ตาม โดยตัวอย่างที่เห็นได้ชัดมากที่สุดเลยคือ กรณีการล้มสลายของอดีต Centralized Exchange เบอร์ 2 อย่าง FTX ที่หลังจากล้มสลายแล้วมีคนที่ไม่สามารถถอนเงินจากแพลตฟอร์มได้จำนวนมาก ซึ่งอาจจะทำให้กลุ่มคนที่ผลักดันเรื่องความ Decentralized ของระบบการเงินมองว่าความ Decentralized คือสิ่งที่สำคัญ เพราะจะช่วยให้ระบบมีความโปร่งใสสามารถตรวจสอบได้ และ จะไม่ถูกควบคุมโดยใครคนใดคนหนึ่งนั้นเอง
แต่แน่นอนว่าทั้งระบบการเงินแบบ Centralized หรือ Decentralized นั้นก็มีข้อดี และ ข้อเสียที่แตกต่างกัน ซึ่งในกรณีของ Decentralized Finance หากเกิดความผิดพลาดเงินเราอาจจะหายไปเลย แต่ของ Centralized Finance ยังมีโอกาสที่จะกู้คืนได้
ผมเชื่อว่าหลายๆคนคงตั้งคำถามกับ Decentralized Finance ว่ามูลค่ามาจากไหน, มีมูลค่าจริงมั้ย ต้องบอกว่ามูลค่าของทุกอย่างจริงๆแล้วนั้นขึ้นอยู่กับความต้องการกับตลาด (Demand) และการที่เราจะสร้าง Demand เราจะต้องสามารถแก้ปัญหาให้ตอบโจทย์กับผู้ใช้งานได้ หรือหา Product Market Fit นั้นเอง
ขอบคุณภาพจาก https://defillama.com/
จากข้อมูลบน Defillama ระบุว่า TVL หรือ จำนวนเงินที่อยู่ใน DeFi จะเห็นได้ว่าในช่วงปี 2021 มี TVL เพิ่มขึ้นสูงถึงระดับ $180 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และในช่วงตลาดขาลงก็ได้มีการปรับตัวลงมาอยู่ที่ $35-40 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่ในช่วงที่เป็นขาลงก็ได้มีการพัฒนาโปรเจกต์อยู่เรื่อยๆ จน ณ ตอนนี้ยอด TVL กลับมาอยู่ที่ $96 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นว่าทุกอย่างจะขึ้นอยู่กับความต้องการ และ มูลค่าก็ลดลงเมื่อมีคนใช้งานน้อยลง ซึ่งถ้าหากไม่มีผู้ใช้งาน หรือ ขาดความต้องการไป มันอาจจะไม่ได้มีมูลค่าเลยก็ได้
แต่หนึ่งสิ่งที่ทำให้ Decentralized Finance นั้นเพิ่มมูลค่าได้มากมายมหาศาลนั้นคือการที่ระบบสามารถทำงานได้ด้วย Smart Contract ซึ่งรูปแบบการทำธุรกรรมต่างๆจะถูกกำหนดโดยปราศจากคนกลางคอยควบคุม และมีความโปร่งใสกว่าระบบการเงินดั้งเดิมอยู่มาก ทำให้ลดต้นทุนการดำเนินงานได้จำนวนมาก
ถึงแม้ Decentralized Finance จะเข้ามาปลดล็อคศักยภาพของระบบการเงินยุคใหม่ และ มีข้อดีมากมายก็ตาม แต่ความเสี่ยงก็มีอยู่มากเช่นกัน และแน่นอนว่าก็เป็นความเสี่ยงที่ทุกคนที่ลงทุนไม่ควรมองข้ามอย่างเด็ดขาด โดยความเสี่ยงของ Decentralized Finance มีดังนี้
ด้วยความที่ทุกอย่างทำงานด้วยโค้ด ถ้าหากเกิดปัญหาเล่านี้ อาจจะทำให้เราศูนย์เสียเงินที่เราลงทุนไปทั้งหมดก็เป็นได้ จึงต้องทำการศึกษาและเลือกลงทุนเท่ากับความเสี่ยงที่เราสามารถรับได้ และควรเลือกใช้งานกับแพลตฟอร์มที่ผ่านการ Audit หรือมีผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบแล้วว่าแพลตฟอร์มนี้ปลอดภัย จะช่วยให้เงินที่เราฝากไปปลอดภัยมากขึ้น
Decentralized Finance เป็นระบบการเงินรูปแบบใหม่ที่มีการนำเทคโนโลยีบล็อกเชนเข้ามาช่วย ทำให้เกิดความโปร่งใส และ ลดตัวกลาง ทำให้เราไม่จำเป็นต้องเชื่อใจตัวกลางอีกต่อไป เพราะเราจะเป็นคนดูแลเงินด้วยตัวของเราเอง แต่ในทางกลับกันเราอาจจะต้องดูแลเงินของเราให้ดีมากยิ่งขึ้น เพราะถ้าหาก Private Key ที่เปรียบเสมือนกุญแจในการเข้าถึงเงินของเราหายจะไม่มีใครสามารถช่วยเราได้
อีกทั้งความเสี่ยงอีกหลายข้อที่ตามมาเช่นกันไม่ว่าจะเป็นโอกาสที่ Smart Contract จะเกิด Bug, โปรเจกต์โดนแฮก หรือแม้กระทั่งมีโอกาสโดน Rugpull เป็นต้น ซึ่งเรื่องเหล่านี้ถือเป็นความเสี่ยงทั้งหมดที่อาจจะเกิดขึ้นกับ DeFi แต่การที่ DeFi สามารถตัดตัวกลางในการทำธุรกรรมออกไปได้นั้น ในระยะยาวจะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพให้กับระบบการเงินได้อย่างมหาศาลอย่างแน่นอน
หมายเหตุ
คริปโทเคอร์เรนซีและโทเคนดิจิทัลมีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจำนวนและสินทรัพย์ดิจิทัลมีความเสี่ยง และ ผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอนาคต โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
Disclaimer