เงิน Fiat คืออะไร

พฤษภาคม 28, 2024

thumbnail

เงิน Fiat คืออะไร

ในโลกการลงทุนแบ่งประเภทของเงินตราออกเป็นหลายประเภท หนึ่งในนั้นที่เป็นที่รู้จักและใช้กันอย่างแพร่หลายคือ ‘เงิน Fiat (เงินเฟียต)’ โดยคำว่า 'Fiat' นั้นมีรากฐานมาจากภาษาละติน โดยความหมายของคำว่าเงิน Fiat คือ การตราไว้โดยผู้ที่มีอำนาจ ซึ่งตรงกับความหมายของสกุลเงินทั่วไป เช่น เงินบาท (THB) , ดอลล่าห์สหรัฐ (USD) , ยูโร (EUR) ฯลฯ โดยทั้งหมดที่กล่าวมา มูลค่าของสกุลเงินเหล่านั้นจะถูกกำหนดโดยหน่วยงานกลาง เช่น รัฐบาลและธนาคารกลาง 

 

เงิน Fiat คืออะไร


เงิน Fiat คืออะไร


เงิน Fiat คืออะไร สกุลเงินFiat คือสกุลเงินที่สามารถใช้เพื่อชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย โดยผู้มีหน้าที่กำหนดมูลค่าของสกุลเงินFiat คือรัฐบาลที่ออกสกุลเงินดังกล่าว อย่างในประเทศไทย ผู้ที่มีหน้าที่กำหนดปริมาณเงินบาทในระบบการเงิน ซึ่งส่งผลทำให้ค่าเงินบาทเปลี่ยนแปลง คือ ธนาคารแห่งประเทศไทย (BOT) และข้อแตกต่างของสกุลเงินอื่น ๆ และสกุลเงิน Fiat คือ สกุลเงิน อื่น ๆ เป็น สกุลเงินที่มูลค่าของสกุลเงินได้รับอิทธิพลจากสินทรัพย์อ้างอิงที่ใช้เทียบเคียง เช่น ทองคำ เงิน ฯลฯ 

และในสหรัฐอเมริกาที่มีสกุลเงิน Fiat คือ ดอลล่าห์สหรัฐ (USD) ก็มีหน่วยงานธนาคารกลาง เช่น Federal Reserve มีหน้าที่ควบคุมปริมาณเงินภายในประเทศประเทศ แต่แม้ว่าธนาคารกลางจะสามารถร่วมมือกับสถาบันทางการเงินของรัฐ เช่น กระทรวงการคลังของสหรัฐอเมริกา เพื่อพิมพ์เงินและผลิตเหรียญใหม่ได้ โดยธนาคารกลางสามารถอัดฉีดเม็ดเงินใหม่ ๆ เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจของประเทศโดยการซื้อพันธบัตรรัฐบาลหรือสินทรัพย์อื่น ๆ ได้ และในทำนองเดียวกัน พวกเขาก็สามารถลดปริมาณเงินได้โดยใช้นโยบายทางการเงิน โดยกลยุทธ์ในการควบคุมปริมาณเงินหรือควบคุมมูลค่าของเงิน fiat คือกลยุทธ์ที่ เรียกว่าการดำเนินการตลาดแบบเปิด (Open Market Operations : OMOs)

 

เงิน Fiat หรือ เงินตรา กำเนิดมาจากอะไร

เงิน Fiat คือสกุลเงินที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน โดยมีต้นกำเนิดมาจากประเทศจีนในศตวรรษที่ 10 ราว ๆ ราชวงศ์หยวน ถัง ซ่ง และหมิง ในสมัยราชวงศ์ถัง (ค.ศ. 618 - ค.ศ. 907) ความต้องการสกุลเงินโลหะสูงขึ้งมากซึ่งส่งผลให้โลหะเกิดความขาดแคลน ผู้คนในสมัยนั้นจึงหันมาใช้ใบลดหนี้ซึ่งมีมูลค่าแทนเหรียญโลหะที่หายาก ต่อมาจึงพัฒนากลายเป็นเงินกระดาษมาจนถึงปัจจุบัน


เงิน Fiat หรือ เงินตรา


โดยการขาดแคลนเหรียญโลหะทำให้ผู้คนหันมาใช้ธนบัตรแทนเหรียญเพื่อชำระมูลค่าสินค้าอุปโภค บริโภค ในช่วงราชวงศ์ซ่ง (ค.ศ. 960 - ค.ศ. 1276) โดยในช่วงนั้นธุรกิจในมณฑลเสฉวนมีความเจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก และนำไปสู่ความขาดแคลนเหรียญทองแดงที่สมัยนั้นใช้ในการชำระราคาสินค้า ผู้ค้าในสมัยนั้นจึงเริ่มออกธนบัตรส่วนตัวที่มีทุนสำรอง และถือเป็นการชำระเงินด้วยกระดาษตามกฎหมายเป็นครั้งแรกของโลก และกลายเป็นเงินที่ชำระได้ตามกฎหมายเพียงชนิดเดียวในราชวงศ์หยวน (ค.ศ. 1276 - ค.ศ. 1367) และหน้าที่ในการออกธนบัตรเป็นของกระทรวงการคลังในสมัยราชวงศ์หมิง (ค.ศ. 1368 - ค.ศ. 1644)

และชาวตะวันตกเริ่มใช้ธนบัตรใน ศตวรรษที่ 18 จากการล่าอาณานิคมของอเมริกา ฝรั่งเศส ทำให้สภาคองเกรสภาคพื้นทวีปเริ่มออกตั๋วเงินเพื่อใช้ในการชำระเงิน รัฐบาลท้องถิ่นได้ออกระเบียบซึ่งกำหนดว่าผู้ถือตั๋วเงินจะต้องจ่ายภาษีให้กับเจ้าหน้าที่และการออกตั๋วเงินมากเกินไปจะทำให้เกิดปัญหาเศรษฐกิจเนื่องจากภาวะเงินเฟ้อ

ในบางภูมิภาค ตั๋วเงินอ่อนค่าลงอย่างมาก ส่งผลให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ปรับตัวสูงขึ้นเนื่องจากตั๋วเงินมีมูลค่าน้อยลงเช่น ในช่วงสงคราม ประเทศต่าง ๆ หันมาใช้สกุลเงิน fiat เพื่อรักษามูลค่าของทองคำและเงิน ตัวอย่างเช่น ในช่วงสงครามกลางเมืองอเมริกา รัฐบาลกลางของสหรัฐอเมริกาหันมาใช้สกุลเงินที่เรียกว่า "ธนบัตรดอลลาร์" และรัฐบาลจึงหยุดการแลกธนบัตรเป็นทองคำหรือเงินในช่วงสงครามกลางเมืองนี้


เงิน Fiat หรือ เงินตรา


ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 รัฐบาลและธนาคารได้ประกาศว่าจะอนุญาตให้มีการแลกธนบัตรและเหรียญไปเป็นทอง หรือ เงินได้ตามปกติ อย่างไรก็ตาม สงครามกลางเมืองอเมริกามีค่าใช้จ่ายสูงมาก และมีความจำเป็นที่ต้องใช้เงินในการสร้างเศรษฐกิจขึ้นมาใหม่ ส่งผลให้รัฐบาลต้องยกเลิกประกาศนี้ไปก่อน

ข้อตกลงเบรตตันวูดส์ (Bretton Woods Agreement) ได้กำหนดให้มูลค่าของทองคำหนึ่งทรอยออนซ์เท่ากับ 35 ดอลลาร์สหรัฐ แต่อย่างไรก็ตาม ในปี ค.ศ. 1971 ประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสันแห่งสหรัฐอเมริกาก็ได้ออกมาตรการทางเศรษฐกิจหลายฉบับ ซึ่งรวมถึงการยกเลิกการแปลงเงินดอลลาร์เป็นทองคำโดยตรง เนื่องจากปริมาณทองคำสำรองที่ลดลง และตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ประเทศอื่น ๆ ก็ใช้วิธีนำเงิน fiat มาแลกเปลี่ยนกันระหว่างสกุลเงิน fiat แต่ละประเทศ

 

Fiat Currency vs Cryptocurrency ต่างกันยังไง


Fiat Currency vs Cryptocurrency


ความคล้ายคลึงกันของสกุลเงินดิจิทัล และสกุลเงิน Fiat คือถูกใช้สำหรับทำธุรกรรมและใช้ชำระสินค้าบางอย่าง แต่อย่างไรก็ตามมีความแตกต่างกันหลายประการ ได้แก่

  • การทำธุรกรรมระหว่างประเทศ

การโอนเงินทั่วไปจากประเทศหนึ่งไปยังอีกประเทศหนึ่งอาจทำได้ช้าและมีค่าธรรมเนียมราคาแพง เนื่องจากธุรกรรมประเภทนี้จำเป็นต้องมีตัวกลาง แต่ Cryptocurrency ช่วยให้การทำธุรกรรมระหว่างประเทศเกิดขึ้นได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ เพราะ Cryptocurrency ใช้สัญญาอัจฉริยะเพื่อทำธุรกรรมบล็อกเชนอัตโนมัติ ซึ่งหมายความว่าไม่จำเป็นต้องมีตัวกลางมาเกี่ยวข้อง

  • ความมั่นคงของมูลค่า

โดยจุดแข็งของสกุลเงิน Fiat คือสามารถให้ความมั่นคงของมูลค่ามากกว่า Cryptocurrency เพราะมีรัฐบาลออกนโยบายเพื่อป้องกันการแข็งค่าหรืออ่อนค่าของสกุลเงิน Fiat อยู่ แต่ราคาของ Cryptocurrency สามารถขึ้นและลงด้วยความเร็วรวด เช่น BTC เคยมีมูลค่าประมาณ 100 ดอลลาร์ในปี 2013 แต่มูลค่าของมันสามารถเพิ่มขึ้นเป็น 40,000 ดอลลาร์ในปี 2021 ก่อนที่จะสูญเสียมูลค่าประมาณ 45% ในปีถัดมา โดยเกิด Stablecoins ขึ้นเพื่อจัดการกับความผันผวนของราคาที่รุนแรงนี้ 

  • กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ

สกุลเงิน Fiat ได้รับการควบคุมอย่างเข้มงวดโดยหน่วยงานกลางเพื่อป้องกันการฉ้อโกง การฟอกเงิน และธุรกรรมที่ผิดกฎหมาย โดยมีธนาคารกลางควบคุมปริมาณเงินและอัตราดอกเบี้ยโดยร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐอื่น ๆ เพื่อกำหนดนโยบายการเงิน

แต่สภาพแวดล้อมการกำกับดูแลสกุลเงินดิจิทัลยังพัฒนาน้อยกว่ามาก หน่วยงานกำกับดูแลก็พยายามตามให้ทันเมื่อผู้คนเริ่มยอมรับ Cryptocurrency กันมากขึ้น ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ทำเนียบขาว สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และหน่วยงานรัฐบาลอื่น ๆ ในสหรัฐอเมริกาได้เริ่มออกกฎหมายและระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการใช้ Cryptocurrency มากขึ้น

แต่บางภูมิภาคก็ยังจุดยืนเกี่ยวกับ Cryptocurrency ที่ต่างออกไป ตัวอย่างเช่น ประเทศจีนสั่งห้ามการแลกเปลี่ยนสกุลเงินดิจิทัลจากธุรกรรมภายในประเทศ ในขณะที่ออสเตรเลียกำหนดให้ผู้ใช้งานและถือครอง Cryptocurrency ต้องลงทะเบียนกับศูนย์รายงานและวิเคราะห์ธุรกรรมของออสเตรเลีย

 

สรุป

เงิน Fiat คือสกุลเงินที่รัฐบาลกำหนดมูลค่าและใช้ในการชำระหนี้ตามกฎหมาย ในขณะเดียวกัน Cryptocurrency เป็นสกุลเงินดิจิทัลที่ไม่มีอำนาจกำหนดมูลค่าโดยรัฐบาล แต่มีความยืดหยุ่นและปลอดภัยมากกว่าเงิน Fiat ระหว่างสองคำนี้มีความแตกต่างในการทำธุรกรรมระหว่างประเทศและความมั่นคงของมูลค่า

 

หมายเหตุ

คริปโทเคอร์เรนซีและโทเคนดิจิทัลมีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจำนวนและสินทรัพย์ดิจิทัลมีความเสี่ยง และ ผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอนาคต โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้

 

เรื่องราวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

Merkle Capital คือผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัลแห่งแรกในประเทศไทย ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานก.ล.ต. บริษัทให้การดูแลและบริหารเงินลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลแก่ลูกค้าด้วยกลยุทธ์ที่หลากหลายโดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนและการบริหารจัดการ