มิถุนายน 18, 2024
ในตอนที่เราลงทุนกองทุนรวมต่าง ๆ บางครั้งอาจจะประสบปัญหาเกี่ยวกับการหาข้อมูลเกี่ยวกับกองทุนนั้น ๆ แต่รู้หรือไม่ว่าที่จริงแล้วข้อมูลบางอย่างของกองทุนที่เราต้องการนั้น ถูกรวมไว้อยู่ใน Fund Fact Sheet
การซื้อกองทุนรวมตัวใหม่เข้ามาในพอร์ตก็จำเป็นที่จะต้องดู ‘โปรไฟล์’ ของตัวกองทุนรวมที่สนใจด้วยเช่นกัน แต่แทนที่จะเข้าไปดูหน้าตาและจำนวนเพื่อนที่มีร่วมกันเหมือนกับการเพิ่มเพื่อนบนโลกออนไลน์ นักลงทุนจะต้องศึกษา ‘โปรไฟล์’ ของกองทุนรวมที่สนใจผ่าน Fund Fact Sheet ที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) หรือ สถาบันทางการเงินแต่ละแห่งจัดทำขึ้น โดยโปรไฟล์ของกองทุนรวมอย่าง Fund Fact Sheet จะเป็นหนังสือชี้ชวนที่จะทำการสรุปข้อมูลสำคัญของกองทุนรวมให้นักลงทุนได้พิจารณารายละเอียดก่อนตัดสินใจลงทุน
ข้อมูลที่อยู่ใน Fund Fact Sheet ไม่เพียงแต่จะช่วยให้เข้าใจถึงระดับความเสี่ยงของกองทุนแต่ละตัวเท่านั้น แต่ยังสามารถช่วยนักลงทุนวางแผนการลงทุนเพื่อสร้างโอกาสรับผลตอบแทนที่มีประสิทธิภาพ ทั้งจากการพิจารณาผลประกอบการในอดีต ปัจจัยที่ส่งผลต่อการลงทุน รวมไปถึงความผันผวนที่อาจเกิดขึ้น
Fact Sheet กองทุนรวมโฉมใหม่นี้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ใหม่จากทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต. ภายใต้โครงการ Simplified Disclosure ระยะที่ 2 และโครงการ Regulatory Guillotine ซึ่งสะท้อนถึงความตั้งใจจริงของ ก.ล.ต. ที่จะทำให้ผู้ลงทุนได้รับข้อมูลที่สำคัญและย่อยง่าย ขณะเดียวกันก็ยกเลิกหรือปรับปรุงข้อมูลที่หมดความจำเป็นออกไป
ซึ่งหลักเกณฑ์ที่ว่าก็มีผลบังคับใช้เรียบร้อยแล้ว โดย Factsheet ของกองทุนรวมตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2565 จะเป็นรูปแบบใหม่ตามหลักเกณฑ์ใหม่นี้ทั้งหมด และจะต้องมีการอัปเดตใหม่ทุกเดือน
โดยมีสิ่งที่โดนตัดออกไป
สิ่งที่เพิ่มเข้ามามากขึ้น
1. Chart และตารางแสดงผลการดำเนินงาน และดัชนีชี้วัดย้อนหลัง เดิมจะแสดงให้เห็นเฉพาะการเปรียบเทียบระหว่างตัวกองทุนและดัชนีชี้วัด แต่ Factsheet ใหม่ก็ได้เพิ่มข้อมูลค่าเฉลี่ยกองทุนอื่นที่มีนโยบายแบบเดียวกัน (Peer Average) เข้ามาเปรียบเทียบให้เห็นไปพร้อมกันด้วย แบบนี้ก็จะเห็นกันไปเลยว่ากองนี้เมื่อเทียบกับกองอื่น ๆ แล้วมีผลการดำเนินงานที่ดีกว่าหรือแย่กว่ามากน้อยแค่ไหน
2. เพิ่มข้อมูลสถิติสำคัญใหม่ ๆ เข้ามาใน Factsheet เช่น
3. สำหรับกองทุนตราสารหนี้ มีการเพิ่มข้อมูล Yield to Maturity ซึ่งเป็นผลตอบแทนการลงทุนตราสารหนี้กรณีถือจนครบกำหนดอายุ
และมีข้อมูลส่วนที่ถูกระบุใน Factsheet รูปแบบเก่าเช่นกัน เพียงแต่ย้ายตำแหน่งให้เห็นได้ชัดขึ้น เช่น Maximum Drawdown, อัตราส่วนหมุนเวียนการลงทุน, Tracking Error และประวัติจ่ายเงินปันผล
Fund Fact Sheet คือ หนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสำคัญของกองทุนรวม ซึ่งจะแสดงข้อมูลสำคัญหลัก ๆ ของกองทุนไว้ Fund Fact Sheet องค์ประกอบมีดังนี้
ขั้นตอนแรกควรดูชื่อและประเภทของกองทุนรวมที่เราสนใจจะลงทุนก่อนเสมอ เช่น กองทุนเปิดกรุงไทยตราสารตลาดเงิน (KTSS) เป็นกองทุนรวมตลาดเงินที่ลงทุนในเงินฝาก ตราสารหนี้ภาครัฐและภาคเอกชนในประเทศ อายุไม่เกิน 1 ปี เช่น เงินฝากธนาคาร พันธบัตร ตั๋วเงินหลัง และตั๋วแลกเงิน เป็นต้น อีกทั้งจะทำให้เรารู้ว่า กองทุนนั้น ๆ มีกลยุทธ์การบริหารกองทุนแบบเชิงรุก (Active Management) หรือ กองทุนแบบเชิงรับ (Passive Management) ซึ่งทั้งสองกลยุทธิ์นี้มีนโยบายที่แตกต่างกัน จึงต้องตรวจสอบก่อนเสมอ เพื่อให้ตรงกับเป้าหมายของการลงทุนที่เราต้องการ
มุ่งหวังให้ผลตอบแทนสูงกว่าดัชนีชี้วัด บริหารโดยผู้จัดการกองทุนที่มีความสามารถในการบริหารจัดการและคัดเลือกสินทรัพย์
มุ่งหวังผลตอบแทนตามดัชนีชี้วัด
ก่อนจะเริ่มต้นลงทุน เราต้องสำรวจตัวเองก่อนว่าสามารถรับความเสี่ยงในการลงทุนได้ระดับใด ซึ่งกองทุนรวมจะถูกแบ่งระดับความเสี่ยงออกเป็น 8 ระดับ เรียงจากระดับความเสี่ยงต่ำที่สุดไปจนถึงระดับความเสี่ยงสูงมาก ได้แก่
ระดับ 1 (ความเสี่ยงต่ำ) : กองทุนรวมตลาดเงินที่ลงทุนเฉพาะในประเทศ
ระดับ 2 (ความเสี่ยงปานกลางค่อนข้างต่ำ) : กองทุนรวมตลาดเงินที่ลงทุนในต่างประเทศบางส่วน
ระดับ 3 (ความเสี่ยงปานกลางค่อนข้างต่ำ) : กองทุนรวมพันธบัตรรัฐบาล
ระดับ 4 (ความเสี่ยงปานกลางค่อนข้างต่ำ) : กองทุนรวมตราสารหนี้
ระดับ 5 (ความเสี่ยงปานกลางค่อนข้างสูง) : กองทุนรวมผสม
ระดับ 6 (ความเสี่ยงสูง) : กองทุนรวมตราสารทุน
ระดับ 7 (ความเสี่ยงสูง) : กองทุนรวมหมวดอุตสาหกรรม
ระดับ 8 (ความเสี่ยงสูงมาก) : กองทุนที่มีการลงทุนในทรัพย์สินทางเลือก
เมื่อดูระดับความเสี่ยงแล้ว ขั้นตอนต่อไปให้ดูที่สัดส่วนของประเภทสินทรัพย์ที่กองทุนได้ลงไว้ โดยใน Fund Fact Sheet จะบอกข้อมูลสินทรัพย์ 5 อันดับแรก ที่กองทุนนำเงินไปลงทุน โดยหากเป็นกองทุนที่ลงทุนในหุ้นก็จะระบุเป็น กลุ่มอุตสาหกรรม ประเภทหลักทรัพย์ และชื่อหลักทรัพย์ แต่ถ้าหากเป็นกองทุนที่ลงทุนในตราสารนี้ก็จะบอกอันดับความน่าเชื่อถือและชื่อผู้ออกตราสาร 5 อันดับแรกด้วย เพื่อเช็กดูว่ากองทุนนั้นมีการลงทุนในอะไรเป็นหลัก แบ่งสัดส่วนออกเป็นยังไงบ้าง ตรงกับที่เราต้องการหรือไม่
ถ้าอยากรู้ว่า กองทุนที่เราสนใจมีผลประกอบการย้อนหลังเป็นอย่างไรบ้าง ก็สามารถดูได้ที่ผลการดำเนินงานย้อนหลังใน Fund Fact Sheet ซึ่งแสดงอัตราผลตอบแทนย้อนหลังของกองทุนตั้งแต่ 3 เดือน 6 เดือน 1 ปี 5 ปี 10 ปี หรือตั้งแต่ปีที่จัดตั้งกองทุน ทำให้เราทราบถึงผลการดำเนินงานของกองทุนและผลการบริหารกองทุนว่าสอดคล้องกับนโยบายการลงทุนหรือไม่
หลังจากที่ดูข้อมูลอื่น ๆ กันไปจนครบแล้ว ขั้นตอนสุดท้ายก็จะเป็นส่วนของข้อมูลค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกี่ยวข้องในการบริหารกองทุนรวม เพื่อให้เรารู้ว่าการลงทุนครั้งนี้จะมีการถูกเรียกเก็บค่าธรรมเนียมอะไรบ้างและจำนวนเท่าไร ปกติแล้วใน Fund Fact Sheet จะแบ่งค่าธรรมเนียมออกเป็น 2 ประเภทด้วยกัน คือ
1. ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากกองทุนรวม
โดยคิดเป็น % ต่อปี ของค่าทรัพย์สินสุทธิ หรือ NAV (Net Asset Value) เป็นค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของกองทุนรวม เช่น ค่าธรรมเนียมผู้ดูแลผลประโยชน์ (Trustee Fee) ค่านายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ ค่าธรรมเนียมการจัดการ (Management Fee) ค่าโฆษณาประชาสัมพันธ์กองทุน ค่านายทะเบียนหน่วยลงทุน ค่าผู้สอบบัญชี ค่าใช้จ่ายในการจัดทำและแจกจ่ายหนังสือชี้ชวน เป็นต้น
2. ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากนักลงทุนโดยตรง
คือ ค่าธรรมเนียมการทำรายการต่าง ๆ ของผู้ถือหน่วยลงบนกองทุน เช่น ค่าธรรมเนียมการขาย (Front-end-fee) และค่าธรรมเนียมการรับซื้อคืน (Back-end-fee) ค่าธรรมเนียมในการสับเปลี่ยนหน่วยลงทุน ค่าธรรมเนียมในการโอนหน่วยลงทุนให้กับบุคคลอื่น หรือค่าปรับกรณีขายคืนหน่วยลงทุนก่อนระยะเวลาถือครองที่กำหนดในโครงการ (Exit Fee) เป็นต้น
ก่อนที่จะเพิ่มเพื่อนใหม่อย่างกองทุนรวมเข้ามาในพอร์ตการลงทุน นักลงทุนจะต้องรู้จักวิธีพิจารณาโปรไฟล์อย่าง Fund Fact Sheet ด้วยเช่นกัน สำหรับใครที่ยังไม่แน่ใจว่าควรโฟกัสข้อมูลส่วนไหนก่อนดี ลองมาทำตาม 5 เคล็ดลับการอ่าน Fund Fact Sheet เบื้องต้น ดังนี้
1. ดูระดับความเสี่ยงของกองทุน
นักลงทุนควรเลือกซื้อกองทุนรวมให้เหมาะกับประสบการณ์การลงทุน ความเสี่ยงที่รับไหวและเป้าหมายทางการเงินที่ต้องการ ในส่วนของความเสี่ยง เราสามารถดูได้ง่าย ๆ 2 อย่าง ผ่าน คะแนนความเสี่ยง และค่า Maximum Drawdown โดยที่ คะแนนความเสี่ยง เป็นตัวชี้วัดความเสี่ยงจากประเภทสินทรัพย์ที่กองทุนได้เข้าไปลงทุน โดยแบ่งออกเป็น 8 ระดับ ทั้งนี้นักลงทุนควรเลือกการลงทุนที่เหมาะสมกับความเสี่ยงที่ตัวเองรับได้ ถ้าเสี่ยงได้น้อยอาจจะเลือกลงทุนตราสารหนี้หรือกองทุนรวมผสม แต่ถ้าเสี่ยงได้สูง ๆ อาจเป็นกองทุนรวมหุ้นที่ลงทุนกระจุกตัวรายธีม เป็นต้น
ค่า Maximum Drawdown คือการบอกผลตอบแทนติดลบที่มากที่สุด เนื่องจากการลงทุนในกองทุนรวมไม่ใช่การฝากเงิน ดังนั้นมูลค่าของการลงทุนย่อมมีเหวี่ยงขึ้นเหวี่ยงลง การทราบค่า Maximum Drawdown จะทำให้นักลงทุนจะได้ทำใจไว้ล่วงหน้าว่ากองทุนที่เราลงทุนเคยขาดทุนสูงสุดกี่ % เช่น Maximum Drawdown = -35.94% แปลว่ากองทุนนี้เคยขาดทุน 35.94% จากราคาสูงสุด เป็นต้น
ตัวอย่างในการดูความเสี่ยง หากตอนนี้มีอายุมากขึ้น ภาระทางการเงินรอบตัวเริ่มมีมากขึ้น ทั้งจากการซื้อบ้าน คอนโด และรถยนต์ แต่ยังต้องการสะสมผลตอบแทนเพื่อเป้าหมายเกษียณอายุ นักลงทุนก็สามารถเลือกลงทุนกองทุนรวมที่มีระดับความเสี่ยงตั้งแต่ 1 - 4 ที่เน้นการสร้างผลตอบแทนอย่างต่อเนื่องในระยะยาวได้
2. พิจารณานโยบายและประเภทของกองทุน
กองทุนรวมแต่ละประเภท มีนโยบายการลงทุนที่แตกต่างกัน ไม่เพียงแต่จะมีความเสี่ยงที่แตกต่างกันเท่านั้น แต่กองทุนรวมคนละประเภทก็มีค่าธรรมเนียมในการลงทุนที่ไม่เท่ากันด้วย
กองทุนรวมตราสารทุน กองทุนรวมตราสารหนี้ กองทุนรวมผสม ถึงชื่อจะฟังดูคล้าย ๆ กัน แต่ในความเป็นจริงแล้วแทบจะแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง เพราะว่าสินทรัพย์แต่ละชนิด มีลักษณะการเคลื่อนไหวของราคาและผลตอบแทนที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ ถึงแม้จะเป็นกองทุนกลุ่มเดียวกัน แต่บางทีกลยุทธ์การลงทุนอาจจะแตกต่างกัน ยกตัวอย่างเช่น กองทุนหุ้น กองทุนหนึ่งอาจจะเจาะจงไปที่การลงทุนหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีสหรัฐฯ โดยเฉพาะ ในขณะที่อีกกลุ่มอาจจะเจาะจงลงทุนที่หุ้นจีนแผ่นดินใหญ่ เป็นต้น การทราบว่ากองทุนที่เราจะลงทุนนั้นลงทุนอะไร และลงทุนด้วยกลยุทธ์อะไรนั้นสำคัญมาก
ดังนั้น หากต้องการบริหารความเสี่ยงจากการลงทุนกองทุนรวมให้มีประสิทธิภาพตลอดจนเป็นการวางแผนด้านต้นทุนในการลงทุน อย่าลืมพิจารณานโยบายการลงทุน กลยุทธ์ในการลงทุน รวมถึงเงื่อนไขพิเศษอย่างนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน วันหยุดกองทุน และไทม์โซนของกองทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกองทุนต่างประเทศ
3. ตรวจสอบสัดส่วนการลงทุน
กองทุนรวมแต่ละตัวจะมีการระบุสัดส่วนของสินทรัพย์ที่นำไปลงทุน ตลอดจนสินทรัพย์ 5 อันดับแรกที่นำเงินไปลงทุน โดยนักลงทุนจำเป็นที่จะต้องตรวจสอบสัดส่วนการลงทุนในส่วนนี้ เพื่อเป็นการวางแผนรับมือกับสถานการณ์ความผันผวนในอนาคต เช่น หากเป็นกองทุนรวมลงทุนในตลาดหุ้นต่างประเทศ นักลงทุนต้องพิจารณาถึงผลประกอบการ ความมั่นคง และสถานการณ์ของบริษัทแต่ละแห่งที่ทางบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนไปร่วมลงทุน รวมไปถึงสถานการณ์การเมือง เศรษฐกิจในประเทศ รวมถึงอัตราแลกเปลี่ยนที่ส่งผลกระทบต่อผลตอบแทนของการลงทุนด้วย
4. ตรวจสอบผลการดำเนินงานย้อนหลังควบคู่กับกลยุทธ์ของทางบลจ.
การตรวจสอบผลการดำเนินงานย้อนหลังสามารถช่วยให้นักลงทุนทราบถึงประสิทธิภาพในการบริหารจัดการกองทุน ผลตอบแทนที่ผ่านมา ตลอดจนผลการบริหารที่สอดคล้องกับนโยบายและกลยุทธ์การลงทุนที่ทางบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนได้นำเสนอไว้
เริ่มต้นพิจารณาได้ง่าย ๆ จากการตรวจสอบตัวดัชนีชี้วัดก่อน ซึ่งหากเป็นกองทุนรวมนโยบายการลงทุนเชิงรุก บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนจะต้องสร้างผลการดำเนินงานที่เอาชนะดัชนีชี้วัดที่ผ่านมาให้ได้มากที่สุดอย่างต่อเนื่อง แต่หากพบว่าไม่สามารถบริหารกองทุนให้ตรงกับดัชนีชี้วัดที่ระบุไว้ นักลงทุนก็ควรพิจารณาความเสี่ยง ความผันผวน ตลอดจนการดำเนินงานด้านอื่น ๆ เอาไว้ให้ดีด้วย
5. คำนวณค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนทั้งหมด
ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน นอกจากเงินต้นที่ต้องใช้ในการซื้อกองทุนรวมแล้ว นักลงทุนยังต้องคำนวณ ‘ค่าธรรมเนียมเรียกเก็บจากกองทุน’ และ ‘ค่าธรรมเนียมเรียกเก็บจากผู้ถือหน่วยลงทุน’ ด้วย โดย ‘ค่าธรรมเนียมเรียกเก็บจากกองทุน’ จะเป็นการหักค่าธรรมเนียมออกจากค่าทรัพย์สินสุทธิ หรือ NAV (Net Asset Value) ที่อัปเดตทุกวัน แต่จะคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ต่อปี เช่น หากกองทุนรวมมีค่าธรรมเนียม 2% ต่อปี แปลว่า กองทุนจะหักค่า NAV ออกไป 2% / 365 วัน = 0.00547945% ต่อวัน ในขณะที่ ‘ค่าธรรมเนียมเรียกเก็บจากผู้ถือหน่วยลงทุน’ เป็นค่าใช้จ่ายที่คิดจากมูลค่าซื้อขาย มีหน่วยเป็นเปอร์เซ็นต์ ตัวอย่างเช่น หากนักลงทุนต้องการซื้อกองทุนรวมที่ราคา 15 บาท มีค่าธรรมเนียมการซื้อขายอยู่ที่ 1% นักลงทุนจะต้องซื้อในราคา 15 + (1% ของ 15) = 15.15 บาท แต่หากต้องการขาย นักลงทุนจะได้ผลตอบแทนอยู่ที่ 15 - (1% ของ 15) = 14.85 บาท
กองทุนแต่ละประเภท ความเสี่ยงแต่ละระดับ จากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนที่แตกต่างกันจะมีค่าธรรมเนียมที่แตกต่างกันด้วย ดังนั้น นักลงทุนจึงควรศึกษาและคำนวณค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ให้รอบคอบ เพื่อสร้างผลตอบแทนที่มีประสิทธิภาพสูงสุด
คริปโทเคอร์เรนซีและโทเคนดิจิทัลมีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจำนวนและสินทรัพย์ดิจิทัลมีความเสี่ยง และ ผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอนาคต โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
Disclaimer