พฤษภาคม 23, 2024
สำหรับนักลงทุนในโลกคริปโตฯ หรือนักล่า Airdrop รวมไปถึงบุคคลที่เคยทำธุรกรรมโอนผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัล ก็คงจะคุ้นเคยกันดีกับความหมายของค่า Gas แต่สำหรับมือใหม่นั้น ค่า Gas คือหนึ่งสิ่งที่ควรจะศึกษาไว้ เพราะจะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ลงทุน ในบทความนี้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับค่าแก๊สคืออะไร
สำหรับคำถามที่ว่า ค่าแก๊สคืออะไร ค่า Gas คือ ค่า Fee ที่ผู้ใช้บริการต้องจ่าย ให้แก่ผู้ให้บริการสำหรับการทำธุรกรรมนั่นเอง
เมื่อพูดถึงค่า Gas คืออะไร คำนวณยังไง คงจะมีหลายคนไม่น้อยเลยทีเดียวที่ไม่เข้าใจว่าทำไมค่าแก๊สบางที่ถึงแพง และบางที่ถึงถูก ยกตัวอย่างเช่น ค่า Gas ของ ERC-20 หรือ Ethereum chain ซึ่งนับว่ามีค่าแก๊สที่สูงมาก เมื่อนำไปเทียบกับ Layer 2 chain อย่างเช่น Arbitrum chain
ก่อนที่จะไปคำนวณค่าแก๊สแบบลึกซึ้ง และนี่คือตัวอย่างที่ทำให้เข้าใจง่ายขึ้น เช่น การเดินทางโดยใช้รถไฟฟ้า X สถานี ต้องใช้เงินในการจ่าย Y บาท เช่นเดียวกับกรณีของการโอนเงิน ถ้าเราต้องการที่จะโอนเงินจำนวณ X บาทไปที่บัญชีของเพื่อน เราต้องจ่ายเงินค่าธรรมเนียมเป็นเงิน Y บาทและสรุปในกรณีของค่าแก๊สได้ว่า X มูลค่าของธุรกรรมที่ผู้ใช้งานจะทำ และ Y คือค่าดำเนินการโดยจะจ่ายให้กับผู้ประมวลผลการทำธุรกรรม ค่าดำเนินการนี่คือค่าที่จะทำ ให้กระบวนการนั้นเกิดขึ้น
การคำนวณค่า Gas คือการที่ชี้ให้เห็นถึงกระบวนการคำนวณค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้จากการบริโภคหรือทำธุรกรรมบนบล็อกเชนเป็นการชำระค่าธรรมเนียมที่ผู้ใช้ต้องจ่ายชดเชยให้กับพลังงานที่ใช้ประมวลผล ในการทำธุรกรรมบนบล็อกเชน เมื่อบล็อกเชนใช้ปริมาณพลังงานดังกล่าวจนถึงขีดจำกัดสูงสุด แล้วนั้น จะเรียกว่า Gas Limit พูดง่าย ๆ ก็คือ ตัวเลขจำกัดพลังงานที่ใช้ในการทำ ธุรกรรมแต่ละครั้งนั่นเอง
แต่วิธีการคำนวณค่าแก๊ส หรือ Gas fee ของแต่ละเครือข่ายก็จะแตกต่างกันออกไป ยกตัวอย่างในเครือข่ายของ Ethereum วิธีคำนวณค่าแก๊สโดยอิงจาก EIP-1559 จะมีสูตรคำนวณค่าแก๊สคือ
((Base fee + Priority fee)x Units of Gas used) หรือ
((ค่าธรรมเนียมพื้นฐาน + ค่าธรรมเนียมเพื่อจัดลำดับความสำคัญ) x หน่วยของแก๊สที่ใช้)
สำหรับเครือข่ายที่ตรวจสอบธุรกรรมได้ช้า ก็มีโอกาสที่เครือข่ายจะเกิดความแออัด ได้มากกว่าเครือข่ายที่สามารถตรวจสอบธุรกรรมได้อย่างรวดเร็ว แต่ถ้าเครือข่ายที่สามารถตรวจสอบธุรกรรมได้อย่างรวดเร็วแต่มีผู้ใช้งานเครือข่ายเยอะก็อาจจะเป็นหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดความแออัดได้เช่นเดียวกันอย่างไรก็ตาม เครือข่ายจะตรวจสอบข้อมูลธุรกรรมได้ช้าหรือเร็วนั้น ก็มาจากปัจจัยหลายๆ อย่าง เช่น ความนิยมของเครือข่าย, เหตุการณ์สำคัญใดๆ ที่ทำให้คนเข้ามาทำธุรกรรมบนเครือข่ายมากยิ่งขึ้น, การช่วยเหลือของเครือข่าย Layer 2, หรือ กลไกฉันทามติที่เครือข่ายนั้นๆ เลือกใช้งาน เป็นต้น
ในกรณีของค่าแก๊สบนเครือข่าย Ethereum มีสาเหตุหลายประการที่ทำให้ค่าแก๊ส Ethereum สูงในช่วงเวลาหนึ่ง
และในกรณีของ Ethereum และที่มีทางแก้สำหรับผู้ใช้งานที่ต้องเจอกับสถานการณ์ที่ค่าแก๊สนั้นแพงมากนั่นคือแผนที่จะพัฒนาเป็น Ethereum 2.0 เนื่องด้วยตัวปัญหาของความแออัดของเครือข่ายที่มีผู้คนไหลเข้ามาใช้จำนวณมาก เป็นเหตุให้เครือข่ายมีความล่าช้าและยังมีค่าแก๊สที่แพงสำหรับผู้ใช้งานอีกด้วย และการพัฒนามาเป็น Ethereum 2.0 ส่งผลให้เวลาตรวจสอบและยืนยันธุรกรรมสามารถทำได้รวดเร็วขึ้นถึง 1,000 ธุรกรรมต่อหนึ่งวินาที เทียบกับเวลาเดิมที่ 15 ธุรกรรมต่อหนึ่งวินาที ยังทำให้เครือข่าย Ethereum 2.0 รองรับจำนวนผู้ใช้งานได้มากขึ้นกว่าเดิม และผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องมีคอมพิวเตอร์แรงๆ และเป็นการสนับสนุนให้ Ethereum 2.0 เป็น Decentralized Platform หรือ แพลตฟอร์มกระจายศูนย์ตามเป้าหมายที่แท้จริงของ Ethereum อีกด้วย
เรื่องนี้คงจะคลายความสงสัยของนักลงทุนหน้าใหม่ที่มีคำถามว่า ค่า Gas คืออะไร โดยถ้าให้สรุปแบบสั้นๆ ค่า Gas คือ ค่าที่ต้องจ่ายให้การทำธุรกรรมนั่นเอง ถ้าไม่จ่ายค่าแก๊สธุรกรรมก็ไม่สามารถที่จะทำได้ ค่า Gas ยังเป็นแรงขับเคลื่อนสำหรับ เครือข่ายต่างๆให้สามารถทำงานต่อได้อย่างราบรื่น โดยค่าแก๊สนั่นจะเป็นรางวัลให้ แก่ผู้ตรวจสอบหรือผู้ประมวลผลการธุรกรรมเพื่อรักษาความปลอดภัยให้แก่เครือข่ายนั้นๆ โดยปัจจุบันเครือข่ายมากมายที่พยายามที่จะทำค่าแก๊สให้ต่ำลงและมีความรวดเร็ว ในการธุรกรรมมากขึ้นเพื่อที่จะเป็นจุดสนใจแก่นักลงทุนที่ต้องการทำธุรกรรม
หมายเหตุ
คริปโทเคอร์เรนซีและโทเคนดิจิทัลมีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจำนวนและสินทรัพย์ดิจิทัลมีความเสี่ยง และ ผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอนาคต โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
Disclaimer