Layer 2 คืออะไร?

มิถุนายน 21, 2024

thumbnail

Layer 2 คืออะไร แตกต่างจาก Layer 1 อย่างไร เหตุใดระบบบล็อกเชน (Blockchain) ในยุคปัจจุบันถึงเริ่มไม่ตอบโจทย์ในการรองรับการทำธุรกรรมจึงส่งผลให้เกิดการแข่งขันการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานรูปแบบใหม่อย่าง Layer 2

 

Blockchain Layer 2 คืออะไร?

นักลงทุนหน้าใหม่มักมีคำถามว่า Layer 2 คืออะไร? มาหาคำตอบไปด้วยกันได้ในบทความนี้Blockchain layer 2 เป็นหนึ่งในนวัตกรรมที่สำคัญของระบบบล็อกเชนและคริปโตเคอร์เรนซี โดยเป้าหมายหลักคือการแก้ปัญหาเรื่องความสามารถในการปรับขนาด (Scalability) และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำธุรกรรมของเครือข่ายบล็อกเชน เนื่องจากปัจจุบันเครือข่ายบล็อกเชนหลายเครือข่ายเผชิญปัญหากับความล่าช้าในการทำธุรกรรมและค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรม (Gas Fee) ที่สูงมากจนส่งผลกระทบต่อผู้ใช้งานจนถึงผู้พัฒนา dApps (Decentralized applications) ทำให้เกิดความลำบากในการพัฒนาและต่อยอดเทคโนโลยีนี้

 

จึงทำให้แนวคิด Layer 2 ถูกพัฒนาขึ้น ซึ่ง Layer 2 นั้นถูกออกแบบมาเพื่อทำงานควบคู่กับ Layer 1 ซึ่งเป็นระบบบล็อกเชนหลัก เพื่อทำให้บล็อกเชนดั้งเดิมที่มีผู้ใช้งานจำนวนมากนั้น มีการประมวลผลที่รวดเร็วขึ้นและลดค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมลงเพื่อให้ผู้ใช้งานได้รับประสิทธิภาพสูงสุด

 

กล่าวได้ว่าเครือข่าย Layer 2 คือเครือข่ายบล็อกเชนเสริมที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อจัดการธุรกรรมขนาดเล็กแทนเครือข่ายหลัก (Mainchain) โดยมีจุดประสงค์เพื่อบรรเทาภาระและลดความหนาแน่นของเครือข่ายหลัก การทำธุรกรรมบน Layer-2 มักจะมีความเร็วสูงและค่าธรรมเนียมที่ต่ำกว่า เมื่อถึงเวลาที่กำหนด Layer-2 จะสรุปข้อมูลธุรกรรมทั้งหมดที่เกิดขึ้นและส่งข้อมูลเหล่านี้กลับไปเก็บในเครือข่ายหลักอีกครั้ง

 

Layer 2 คืออะไร

 

ทำไมต้องมี Layer 2 ?

เมื่อพูดถึงเหตุผลที่นักพัฒนาเครือข่ายบล็อกเชนจำเป็นต้องพัฒนา Layer 2 เนื่องจากการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำธุรกรรมทั้งด้านจำนวน ความซับซ้อน และระยะเวลาการทำธุรกรรมล้วนมีความสำคัญต่ออนาคตของระบบบล็อกเชนและคริปโตเคอร์เรนซี่อย่างมาก โดยสามารถสรุปเหตุผลของประโยชน์ของบล็อกเชน Layer 2 ได้ดังนี้

 

  • ความสามารถในการปรับขนาด : บล็อกเชนหลายเครือข่าย เช่น Ethereum มีปัญหาจากจำนวนธุรกรรมที่สูงมากเกินไปในบางครั้ง ส่งผลให้การทำธุรกรรมช้าลงและค่าธรรมเนียมในขณะนั้นสูงตามไปด้วย Layer 2 จึงถูกออกแบบมาเพื่อเพิ่มความสามารถในการประมวลผลธุรกรรมโดยไม่ต้องเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพื้นฐานของ Layer 1
  • ค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรม : เมื่อธุรกรรมบน Layer 1 คล่องตัวต่อเนื่องจากการช่วยเหลือของ Layer 2 ส่งผลให้ค่าธรรมเนียมของในการทำธุรกรรมลดลง
  • ความเร็วในการทำธุรกรรม : ความล่าช้าในการทำธุรกรรมเป็นปัญหาที่ถูกพบบ่อยบนระบบบล็อกเชน ซึ่ง Layer 2 สามารถเพิ่มความเร็วในการทำธุรกรรมได้โดยการประมวลผลธุรกรรมนอกเครือข่ายหลัก
  • เพิ่มความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัย การทำธุรกรรมบน Layer 2 ช่วยเพิ่มความเป็นส่วนตัว เนื่องจากข้อมูลการทำธุรกรรมบางส่วนไม่ถูกบันทึกลงในบล็อกเชนหลักทั้งหมด นอกจากนี้ การใช้ Layer 2 ยังช่วยเพิ่มความปลอดภัยโดยลดความเสี่ยงจากการถูกโจมตีเนื่องจากมีการตรวจสอบและยืนยันการทำธุรกรรมที่ Layer 1

 

Layer 2

 

ประโยชน์ของ Layer 2

เมื่อเข้าใจถึงปัญหาของ Layer 1 รวมถึงเหตุผลในการพัฒนา Layer 2 และวิธีการทำงานแล้ว สามารถวิเคราะห์และสรุปถึงโอกาสที่ Layer 2 จะสร้างประโยชน์ให้กับวงการคริปโตเคอร์เรนซีได้ดังนี้

  1. การเพิ่มความสามารถในการปรับขนาด (Scalability) : Layer 2 ช่วยเพิ่มความสามารถในการปรับขนาดของบล็อกเชนโดยการประมวลผลธุรกรรมนอกบล็อกเชนหลัก ซึ่งทำให้ Layer 1 สามารถรองรับปริมาณธุรกรรมที่มากขึ้นได้โดยประสิทธิภาพเท่าเดิมหรือสูงขึ้น ซึ่งเป็นหนึ่งใน Blockchain Trilemma หรือแนวคิดคิดที่ Vitalik Buterin ผู้สร้าง Ethereum ได้ระบุไว้ว่าอุปสรรคสำคัญที่ต้องแก้ไขหากต้องการใช้เครือข่ายบล็อกเชนจะพัฒนาจนสามารถเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างสมบูรณ์
  2. การลดค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรม : Layer 2 ช่วยลดค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมในทางตรงและทางอ้อม โดยการย้ายการประมวลผลธุรกรรมออกจาก Layer 1 ทำให้ผู้ใช้สามารถทำธุรกรรมได้ในราคาที่ถูกลง และเมื่อบล็อกเชนหลักมีจำนวนธุรกรรมแออัดน้อยลง จะส่งผลให้ค่าธุรกรรมต่ำลงเช่นกัน
  3. ความเร็วในการทำธุรกรรมสูงขึ้น : Layer 2 ช่วยเพิ่มความเร็วในการทำธุรกรรมด้วยการประมวลผลธุรกรรมนอกบล็อกเชนหลัก ทำให้ธุรกรรมสามารถดำเนินการได้อย่างรวดเร็วและลดความแออัดที่มักเกิดขึ้นกับ Layer 1 ในยุคก่อน
  4. การเพิ่มความปลอดภัย : Layer 2 ยังคงใช้ความปลอดภัยของบล็อกเชนหลัก (เช่น Ethereum Chain) ในการยืนยันธุรกรรม ซึ่งช่วยให้ธุรกรรมที่ประมวลผลบน Layer 2 มีความปลอดภัยและน่าเชื่อถือเช่นเดียวกันกับการทำธุรกรรมบน Layer 1

 

ตัวอย่าง Layer 2

เนื่องจาก Layer 2 ถูกสร้างขึ้นจากกลุ่มนักพัฒนาจำนวนมาก ทำให้หลักการและวิธีการทำงานต่างกัน ซึ่งมีตัวอย่างการทำงานหลักของ Layer 2 ด้วยกันดังนี้

1. Lightning network - Lightning network เป็นโปรโตคอล Layer 2 ที่ออกแบบมาเพื่อเพิ่มความสามารถในการปรับขนาดของ Bitcoin Chain การทำงานหลักคือ สร้างช่องทางการชำระเงินนอกเครือข่าย (Off-chain Payment Channels) ซึ่งช่วยให้สามารถทำธุรกรรมระหว่างผู้ใช้ได้อย่างรวดเร็วและค่าธรรมเนียมต่ำ

การทำงานของ Lightning Network

  • ผู้ใช้งานทั้ง 2 ฝ่ายสามารถเปิดช่องทางการชำระเงินระหว่างกันโดยการฝาก Bitcoin ไว้ในที่อยู่พิเศษบนเครือข่ายหลัก
  • เมื่อพบช่องทางการชำระที่เปิดแล้ว ผู้ใช้สามารถทำธุรกรรมระหว่างกันได้อย่างไม่จำกัด โดยไม่ต้องบันทึกธุรกรรมบนเครือข่ายหลัก
  • เมื่อต้องการปิดช่องทาง การทำธุรกรรมสุดท้ายจะถูกบันทึกลงบนเครือข่ายหลัก ซึ่งจะสรุปยอดคงเหลือของผู้ใช้ทั้งสอง

 

การทำงานของ Lightning Network

  • ผู้ใช้งานทั้ง 2 ฝ่ายสามารถเปิดช่องทางการชำระเงินระหว่างกันโดยการฝาก Bitcoin ไว้ในที่อยู่พิเศษบนเครือข่ายหลัก
  • เมื่อพบช่องทางการชำระที่เปิดแล้ว ผู้ใช้สามารถทำธุรกรรมระหว่างกันได้อย่างไม่จำกัด โดยไม่ต้องบันทึกธุรกรรมบนเครือข่ายหลัก
  • เมื่อต้องการปิดช่องทาง การทำธุรกรรมสุดท้ายจะถูกบันทึกลงบนเครือข่ายหลัก ซึ่งจะสรุปยอดคงเหลือของผู้ใช้ทั้งสอง

2. Rollups - Rollups เป็นเทคโนโลยี Layer 2 ที่รวมกลุ่มธุรกรรมหลาย ๆ จำนวนมากให้เหลือเพียงธุรกรรมเดียว และบันทึกลงบนเครือข่ายหลักในรูปแบบของข้อมูลรวม (Aggregated Data) เพื่อลดภาระและเพิ่มความสามารถในการปรับขนาดของ Layer 1

การทำงานของ Rollups : Rollups ที่เกิดขึ้นจนถึงปี 2024 มี 2 ประเภทคือ Optimistic Rollups และ ZK-Rollups

  • Optimistic rollups : ทำงานโดยตั้งสมมติฐานว่าธุรกรรมทั้งหมดถูกต้องและจะตรวจสอบความถูกต้องเมื่อพบข้อสงสัยหรือความผิดพลาด
  • ZK-rollups : ทำงานโดยใช้ระบบ Zero-knowledge Proof เพื่อพิสูจน์ความถูกต้องขอธุรกรรมทั้งหมดโดยไม่เปิดเผยข้อมูลคำนวณเบื้องหลัง

การทำงานของ Rollups : Rollups ที่เกิดขึ้นจนถึงปี 2024 มี 2 ประเภทคือ Optimistic Rollups และ ZK-Rollups

  • Optimistic rollups : ทำงานโดยตั้งสมมติฐานว่าธุรกรรมทั้งหมดถูกต้องและจะตรวจสอบความถูกต้องเมื่อพบข้อสงสัยหรือความผิดพลาด
  • ZK-rollups : ทำงานโดยใช้ระบบ Zero-knowledge Proof เพื่อพิสูจน์ความถูกต้องขอธุรกรรมทั้งหมดโดยไม่เปิดเผยข้อมูลคำนวณเบื้องหลัง

นอกจาก Layer 2 จะถูกใช้ภายในวงการคริปโตเคอร์เรนซีแล้ว ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับอุสาหกรรมอื่นๆ ได้ เช่น

  • การเงินและธนาคาร : Layer 2 ช่วยเพิ่มความสามารถในการประมวลผลธุรกรรมทางการเงิน และยังลดค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมได้ เช่น การใช้ Lightning Network สำหรับการชำระเงินระหว่างประเทศหรือการโอนเงินระหว่างบุคคล
  • เกมและสื่อบันเทิง : อุตสาหกรรมเกมและสื่อบันเทิงสามารถใช้เทคโนโลยี Layer 2 เพื่อเพิ่มความสามารถในการประมวลผลธุรกรรมภายในเกม และลดค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรม เช่น การใช้ Plasma สำหรับเกมที่ต้องการธุรกรรมที่รวดเร็วและมีความปลอดภัยสูง
  • โลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทาน : Layer 2 สามารถใช้ในการติดตามและยืนยันการเคลื่อนไหวของสินค้าในระบบที่ถูกบันทึกไว้ได้ ทำงานโดยสร้างบล็อกเชนย่อยเพื่อบันทึกข้อมูลและธุรกรรมที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะช่วยเพิ่มความโปร่งใสและความน่าเชื่อถือของระบบทั้งหมด

 

ทำไมอนาคตของ Layer 2 ถึงน่าจับตามอง ?

ในโลกของบล็อกเชน Layer 2 ได้รับความสนใจมากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากเป็นโซลูชันที่ออกแบบมาเพื่อแก้ไขข้อจำกัดของ Layer 1 (Mainnet) เช่น Ethereum ซึ่งมักประสบปัญหาค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมที่สูงและความล่าช้าในช่วงที่เครือข่ายแออัด

Layer 2 ทำงานโดยการสร้างเครือข่ายที่แยกออกจาก Layer 1 เพื่อประมวลผลธุรกรรมจำนวนมาก ก่อนที่จะส่งข้อมูลกลับไปยัง Layer 1 เพื่อความปลอดภัย ตัวอย่างของ Layer 2 เช่น Optimistic Rollups, zk-Rollups และ Sidechains ช่วยเพิ่มความเร็วและลดค่าธรรมเนียมได้อย่างมีประสิทธิภาพอนาคตของ Layer 2 น่าจับตามองเพราะ:

1.การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งาน: ช่วยให้บล็อกเชนรองรับผู้ใช้งานได้จำนวนมากขึ้น รองรับแอปพลิเคชันที่ซับซ้อน เช่น DeFi และเกมบล็อกเชน

2.การลดต้นทุน: ค่าธรรมเนียมที่ต่ำกว่าช่วยให้ผู้ใช้งานทั่วไปเข้าถึงได้ง่ายขึ้น

3.การขยายตัวของเครือข่าย: ด้วยการสนับสนุนจากโครงการใหญ่ เช่น Ethereum 2.0 และการพัฒนาเทคโนโลยี Layer 2

ดังนั้น Layer 2 ไม่เพียงช่วยพัฒนาบล็อกเชนในปัจจุบัน แต่ยังสร้างโอกาสใหม่ ๆ ในการขยายระบบนิเวศของ Web3 ในอนาคตอีกด้วย

 

ความท้าทายและข้อจำกัดของ Layer 2

  • การพัฒนาด้านเทคนิค : การพัฒนา Layer 2 นั้นใช้เทคโนโลยีที่ซับซ้อนและใช้การร่วมมือกันของนักพัฒนาจำนวนมาก ทั้งระดับแพลตฟอร์มไปจนถึงระดับบล็อกเชน
  • ความปลอดภัย : แม้ว่า Layer 2 จะเพิ่มความสามารถในการปรับขนาดและลดค่าธรรมเนียม แต่ก็ยังมีความเสี่ยงด้านความปลอดภัย เนื่องจากการประมวลผลธุรกรรมบางส่วนเกิดขึ้นนอกบล็อกเชนหลักแม้ส่วนมากจะใช้ความปลอดภัยจาก Layer 1 ในการยืนยันธุรกรรมก็ตาม
  • การยอมรับในวงกว้าง : แม้ Layer 2 จะถูกยอมรับเพิ่มมากขึ้นในกลุ่มผู้ใช้งานคริปโตเคอร์เรนซีแต่ในระดับนักลงทุนทั่วไปนั้นยังคงเป็นความท้าทาย เนื่องจากผู้ใช้งานทุกกลุ่มและนักพัฒนายังต้องปรับตัวเข้าหากันและเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ ๆ ร่วมกัน

 

สรุป

แม้ Layer 2 จะถูกนับว่าเป็นนวัตกรรมใหม่ แต่ Layer 2 นั้นก็เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่มีความสำคัญอันดับต้นๆ ในการพัฒนาบล็อกเชนให้มีประสิทธิภาพและเพิ่มความสามารถในการปรับขนาดมากขึ้น ด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น Lightning Network, Plasma, และ Rollups โดย Layer 2 ช่วยแก้ปัญหาทั้งการเพิ่มความเร็วธุรกรรม ลดค่าธรรมเนียม และเพิ่มความปลอดภัยของบล็อกเชนได้

แม้ว่า Layer 2 นั้นยังมีความท้าทายและข้อจำกัดที่ควรพิจารณา แต่การนำ Layer 2 มาใช้ในวงกว้างยังคงเป็นโอกาสสำคัญในการพัฒนาและเพิ่มการเข้าถึงเทคโนโลยีบล็อกเชน ทั้งการสร้างความเข้าใจ การพัฒนาซอฟต์แวร์ และการสนับสนุนจากภาคอุตสาหกรรมจะทำให้ Layer 2 ถูกนำมาใช้งานมากขึ้นไปจนถึงการรองรับการใช้งานในระดับมหภาคได้ในอนาคต

 

หมายเหตุ

คริปโทเคอร์เรนซีและโทเคนดิจิทัลมีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจำนวนและสินทรัพย์ดิจิทัลมีความเสี่ยง และ ผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอนาคต โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้

เรื่องราวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

Merkle Capital คือผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัลแห่งแรกในประเทศไทย ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานก.ล.ต. บริษัทให้การดูแลและบริหารเงินลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลแก่ลูกค้าด้วยกลยุทธ์ที่หลากหลายโดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนและการบริหารจัดการ