Liquid Staking Derivatives (LSD) คืออะไร? มีข้อดีอะไรบ้าง ทำไมคนถึงนิยม

มิถุนายน 19, 2024

thumbnail


ใครที่เริ่มศึกษาคริปโตเคอร์เรนซีเบื้องต้นมักจะเจอคำว่า Proof of stake ทำให้เกิดความสงสัยว่าการ Stake เหรียญ คืออะไร โดยเฉพาะจากการทำงานหลักบนระบบของ Ethereum ซึ่งการ Staking ถือว่าเป็นอีกหนึ่งในกระบวนการสำคัญที่ทำให้คริปโตเคอร์เรนซีเติบโตและพัฒนามาจนถึงปัจจุบัน แต่การทำ Staking บน Ethereum นั้นใช้ต้นทุนที่สูง จึงเกิดกระแส Liquid staking derivatives (LSD) ที่เติบโตแรงมากในช่วงปี 2024 ซึ่งวันนี้มาทำความรู้จักพร้อมกัน


Liquid staking

 

Liquid Staking คืออะไร?

ก่อนจะทำความเข้าใจ Liquid Staking ได้นั้น จำเป็นต้องเข้าใจพื้นฐานของการ Staking ก่อน ว่าการ Stake เหรียญ คืออะไรโดยการ “Stake” หรือ “Staking” คือการล็อกสกุลเงินดิจิทัลเพื่อเป็นส่วนช่วยในการดำเนินการของบล็อกเชนแบบ Proof of Stake (PoS) ซึ่งผู้ที่ทำการ Stake จะได้รับผลตอบแทนในรูปแบบของเหรียญใหม่ที่ถูกสร้างขึ้นและกำหนดผ่านบล็อกเชนนั้น ๆ เพื่อเป็นรางวัลตอบแทนสำหรับความร่วมมือในการทำให้บล็อกเชนนั้นปลอดภัยและสมบูรณ์มากขึ้นโดยสามารถแบ่งเป็นประเภทหลักได้ 2 ประเภทและมีลักษณะเฉพาะตัวได้แก่

  • การ Stake ขั้นพื้นฐาน (Traditional Staking): มีลักษณะเฉพาะตัวอย่าง
    • ระยะเวลาล็อกเหรียญ : สกุลเงินดิจิทัลที่ถูก Stake นั้นจะถูกล็อคอยู่ในกระเป๋าที่กำหนดและไม่สามารถใช้งานได้จนกว่าจะถึงเวลาที่กำหนด
    • ผลตอบแทน : การ Staking มักได้รับผลตอบแทนในรูปแบบของเหรียญเพิ่มเติมตามที่กำหนดทั้งสกุลเงินเดิมหรือสกุลเงินใหม่
    • การปลดล็อก : หากต้องการยกเลิกการ Stake หรือ Unstaking ต้องใช้ขั้นตอนจำนวนมากเช่นการปลดล็อก การโอน-ถอน ซึ่งเวลาในการดำเนินการขึ้นกับแต่ละบล็อกเชนที่กำหนดไว้
  • ดังนั้น Liquid staking คือ
    • Liquid staking เป็นวิธีการ Stake สกุลเงินดิจิทัลที่มีความยืดหยุ่นมากกว่าการ Stake ขั้นพื้นฐาน โดยทั่วไป Liquid staking ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถรับผลตอบแทนจากการ Stake ในขณะที่ยังสามารถใช้สกุลเงินดิจิทัลได้อย่างอิสระ 
    • ช่วยเพิ่มการเข้าถึงระบบ Staking มากขึ้นสำหรับบางบล็อกเชนเช่น การ Staking บน Ethereum chain เริ่มต้นที่ 32 $ETH หากใช้งานผ่านแพลตฟอร์ม Liquid staking จะช่วยทำให้ต้นทุนการ Staking เริ่มต้นเพียง 1 $ETH หรือต่ำกว่านั้น

Liquid Staking ทำงานอย่างไร?

หากหลักการทำงานของ Staking ขั้นพื้นฐาน (Traditional Staking) คือการล็อกสกุลเงินดิจิทัลเพื่อสร้างผลตอบแทนและเป็นส่วนหนึ่งในเครือข่ายที่ทำให้บล็อกเชนสามารถดำเนินการได้สมบูรณ์มากขึ้น Liquid staking นั้นก็มีหลักการทำงานพื้นฐานใกล้เคียงกัน เพียงเพิ่มจุดเด่นที่สามารถตอบโจทย์ผู้ใช้งานในเครือข่ายหลัก ๆ ดังนี้

  • การรับโทเค็นแทนที่ (Liquid Tokens) : เมื่อทำการ Stake สกุลเงินดิจิทัลในแพลตฟอร์ม Liquid Staking แล้วผู้ที่ Staking จะได้รับโทเค็นแทนที่ทันที ซึ่งแสดงถึงมูลค่าของเหรียญทั้งหมดถูก Stake ไว้ โทเค็นเหล่านี้สามารถตรวจสอบและนำไปใช้ในตลาดหรือแพลตฟอร์มอื่น ๆ ต่อได้ หมายถึงสภาพคล่องของพอร์ตการลงทุนของผู้ Staking หลักจากใช้งาน Liquid Staking นั้นไม่ได้ลดลงแตกต่างจากการ Stake รูปแบบปกติ
  • การซื้อขายและการแลกเปลี่ยน : โทเค็นแทนที่ที่ได้จากการทำ Liquid Staking สามารถซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนได้ในตลาดทั้ง Centralized และ Decentralized exchange เช่นเดียวกับสกุลเงินดิจิทัลอื่น ๆ ทำให้สภาพคล่องของระบบเครือข่ายที่ใช้ Liquid Staking สูงกว่าเครือข่ายประเภทอื่น ๆ
  • ผลตอบแทนต่อเนื่อง : ผู้ใช้งานยังคงได้รับผลตอบแทนจากการ Stake ในขณะที่ใช้หรือไม่ใช้งานโทเค็นแทนที่ก็ตามซึ่งจุดเด่นนี้คือจุดเด่นที่ทำให้การทำ Liquid Staking แตกต่างและดึงดูดผู้ใช้งานอย่างมีนัยยะสำคับ

 

Liquid Staking

Liquid Staking ต่างจากการ Stake แบบเดิมๆ อย่างไร?

เดิมทีนั้นการ Stake คือการนำเหรียญไปฝากไว้ในระยะเวลาที่กำหนดเพื่อแลกรับรางวัล อย่างไรก็ตาม วิธีการนี้มีข้อจำกัดหลายอย่างที่ไม่เหมือนกับ Liquid Staking เช่น เมื่อเรานำเหรียญไป Stake แบบดั้งเดิม เหรียญเหล่านั้นจะถูกล็อกและไม่สามารถนำไปทำกิจกรรมอื่นได้ ในขณะที่ Liquid Staking ได้เข้ามาแก้ปัญหานี้ ทำให้เราสามารถใช้เงินลงทุนเดิมในการทำกิจกรรมอื่น ๆ ได้มากขึ้น ซึ่งส่งผลให้ระบบเครือข่ายสามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็ว

 

นอกจากนี้ Liquid Staking ยังเป็นวิธีที่ดีในการรับผลตอบแทนเพิ่มเติม ยกตัวอย่างเช่น หากบล็อกเชนจ่ายผลตอบแทนการ Staking ที่ X% นักลงทุนที่ใช้ Liquid Staking สามารถเพิ่มผลตอบแทนเป็น Y% ได้ โดยใช้โทเค็นที่ถูก Stake ไว้แล้ว (wrapped staked tokens) เป็นสินทรัพย์ที่ออกผลตอบแทน ซึ่งวิธีนี้ถือเป็นประโยชน์ทั้งต่อผู้ที่ทำการ Stake และระบบบล็อกเชนเอง จึงทำให้สามารถจัดกลุ่มความแตกต่างระหว่าง Liquid Staking กับการ Stake แบบเดิม ๆ ได้ดังนี้

 

การล็อกเหรียญ

  • Stake แบบเดิม : ผู้ใช้งานจะถูกล็อกสกุลเงินดิจิทัลในกระเป๋าที่กำหนด และไม่สามารถใช้งานได้จนกว่าจะสิ้นสุดระยะเวลาการ Stake
  • Liquid staking : ผู้ใช้งานสามารถ Stake สกุลเงินดิจิทัลและรับโทเค็นแทนที่ ซึ่งสามารถใช้ซื้อขายหรือทำธุรกรรมอื่นๆ ได้อย่างอิสระ

 

ผลตอบแทน

  • Stake แบบเดิม : ผลตอบแทนจากการ Stake จะได้รับในรูปแบบของเหรียญเพิ่มเติมตามที่กำหนด
  • Liquid staking : ผลตอบแทนจากการ Stake ยังคงได้รับเช่นเดิมและสามารถใช้โทเค็นแทนที่ในการสร้างโอกาสกำไรเพิ่มเติมได้

 

สภาพคล่องของพอร์ตลงทุน

  • Stake แบบเดิม : ผู้ใช้งานมีความเสี่ยงจากการล็อกเหรียญและไม่สามารถควบคุมสภาพคล่องของพอร์ตได้
  • Liquid staking : ผู้ใช้งานสามารถใช้สภาพคล่องได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยการใช้โทเค็นแทนที่

 

ความเสี่ยง

  • Stake แบบเดิม : ความเสี่ยงหลักมาจากการเปลี่ยนแปลงของราคาเหรียญในระหว่างที่ทำการ Stake
  • Liquid staking : สามารถจัดการความเสี่ยงได้ดีขึ้น โดยการขายโทเค็นแทนที่หากราคาของเหรียญดิจิทัลตกลง กต่ขณะเดียวกันก็มีความเสี่ยงจากการใช้แพลตฟอร์มตัวกลางในการช่วยทำ Liauid staking

 

ด้วยความแตกต่างเหล่านี้ Liquid Staking จึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนที่ต้องการเพิ่มผลตอบแทนและความยืดหยุ่นในการลงทุน ขณะเดียวกันยังช่วยส่งเสริมการเติบโตของเครือข่ายบล็อกเชนโดยรวม

ข้อดี-ข้อเสียของ Liquid Staking

ข้อดีของ Liquid Staking คือ

  • พอร์ตลงทุนมีสภาพคล่องสูง : Liquid Staking ทำให้ผู้ใช้งานสามารถใช้สภาพคล่องได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น จากการใช้โทเค็นแทนที่ในการทำธุรกรรมหรือลงทุนเพิ่มเติม
  • การลดความเสี่ยง : ในการ Stake แบบเดิม หนึ่งในความเสี่ยงหลักคือการล็อกเหรียญและการเปลี่ยนแปลงของราคาเหรียญ แต่การมีโทเค็นแทนที่ของแพลตฟอร์ม Liquid Staking ช่วยให้จัดการความเสี่ยงได้ดีขึ้น โดยการขายโทเค็นแทนที่เมื่อราคาของสกุลเงินดิจิทัลลดลง 
  • ต้นทุนขั้นต่ำลดลง : ขั้นต่ำในการล็อกที่น้อยลง (เช่น Ethereum Chain) ทำให้กระจายความเสี่ยงในการลงทุนง่ายขึ้น
  • การเพิ่มโอกาสในการทำกำไร : โทเค็นแทนที่ที่ได้รับจาก Liquid Staking สามารถนำไปใช้ในการทำกำไรเพิ่มเติม เช่น การให้ยืมใน DeFi (Decentralized Finance) การแลกเปลี่ยนกับเหรียญที่มีโอกาสเติบโต หรือการลงทุนอื่นๆ
  • การเข้าถึงตลาดซื้อ-ขายที่หลากหลาย : โทเค็นแทนที่สามารถซื้อขายได้ในตลาดที่หลากหลายทั้ง Centralized และ Decentralized exchange ทำให้มีโอกาสลงทุนที่มากขึ้น

 

ข้อเสียของ Liquid Staking คือ

  • ความเสี่ยงด้านความปลอดภัย : Liquid Staking ต้องพึ่งพาโปรโตคอลและแพลตฟอร์มที่รองรับการทำงาน ทำให้มีความเสี่ยงเพิ่มเติมจากการถูกแฮกหรือการดำเนินงานของโปรโตคอลล้มเหลว
  • ค่าธรรมเนียม : บางแพลตฟอร์มที่ให้บริการ Liquid Staking นั้นมีค่าธรรมเนียมในการใช้บริการ ทำให้ผลตอบแทนจากการ Stake ลดลง

มีบล็อกเชนไหนได้บ้างที่รองรับ Liquid Staking ?

ปัจจุบันมีบล็อกเชนและแพลตฟอร์มจำนวนมากที่รองรับ Liquid Staking ซึ่งบล็อกเชนหลักที่ถูกใช้งานมากเป็นพิเศษคือ Ethereum Chain (ERC-20) เพราะมีพื้นฐานเป็นระบบ Proof of Stake โดยก่อนหน้านี้ Ethereum ได้มีการอัปเกรด The Merge ซึ่งเป็นการเปลี่ยนกลไลการทำงานจากกลไก Proof of Work (PoW) ไปเป็น Proof of Stake (PoS) ในปี 2022 ที่ผ่านมาถึงแม้ว่าเครือข่าย Ethereum จะเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่และเป็นหนึ่งในเครือข่ายที่มีผู้ใช้งานมากที่สุดในโลกแต่ในด้านแพลตฟอร์มในการทำ Liquid Staking นั้นผู้ที่สนใจจะต้องศึกษาให้ดีก่อนใช้งาน โดยสามารถศึกษาจากตัวอย่าง Liquid Staking และบล็อกเชนที่รองรับ Liquid Staking ได้ดังนี้

 

ตัวอย่าง แพลตฟอร์มในการทำ Liquid Staking ที่น่าสนใจ


1. Lido Finance : Lido เป็นแพลตฟอร์ม Liquid staking ที่ได้รับความนิยมในการ Stake เหรียญ Ethereum (ETH) โดยผู้ใช้งานสามารถ Stake $ETH และรับโทเค็นแทนที่ stETH ซึ่งสามารถทำธุรกรรมหรือลงทุนต่อได้ โดย Lido เป็นแพลตฟอร์มที่มี Total value locked (TVL) สูงที่สุดในกลุ่ม Liquid staking platform
2. Rocket Pool : Rocket Pool เป็นแพลตฟอร์ม Liquid staking ที่เน้นการ Stake บน Ethereum chain เช่นกัน โดยผู้ใช้งานสามารถ Stake $ETH และรับโทเค็นแทนที่ rETH เพื่อนำไปใช้ในการทำธุรกรรมหรือลงทุนต่อได้
3. Jito : อีกหนึ่งตัวอย่างแพลตฟอร์ม Liquid staking ที่ถูกใช้งานบน Solana chain โดยหลักการพื้นฐานเหมือนกับ 2 แพลตฟอร์มข้างต้น แต่กลุ่มผู้ใช้งานต่างกันเนื่องจาก Solana ไม่ได้ใช้งานระบบ Ethereum virtual machine (EVM)

 

ตัวอย่างบล็อกเชนที่รอบรับการทำ Liquid Staking ที่น่าสนใจ

    1. Ethereum ผู้ใช้งานเครือข่ายสามารถทำ Liquid Staking บน Ethereum ได้ผ่านการใช้งานแอปพลิเคชันที่พัฒนาโดยบุคคลที่สาม (Third-Party Applications) แอปพลิเคชันเหล่านี้จะทำการฝาก ETH ลงใน Ethereum Staking Contract และคืนกลับมาเป็นโทเค็นอนุพันธ์ (Derivative Token) ซึ่งโทเค็นที่ถูก Wrapped นี้สามารถนำไปใช้ใน DeFi ต่าง ๆ ได้ ตัวอย่างผู้ให้บริการรายใหญ่บนเชนของ Ethereum ได้แก่ Lido และ Rocket Pool ที่ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถทำ Liquid Staking ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเพิ่มความยืดหยุ่นในการใช้โทเค็น

 

    2. BNB Chain ก็รองรับการทำ Liquid Staking เช่นกันผ่านโปรโตคอล Web 3 ได้แก่ Ankr, Stader และ pStake การใช้งานเหมือนกับแพลตฟอร์มอื่น ๆ โดยเหรียญที่ถูก Wrapped สามารถโอนหรือย้ายไปยังแพลตพอร์มอื่น ๆ ได้อย่างอิสระหรือสามารถ Unwrap เพื่อเคลมเหรียญคืนได้ กระบวนการนี้ช่วยเพิ่มสภาพคล่องของผู้ใช้งานและดึงดูดผู้ใช้งานที่สนใจเข้าร่วมลองใช้ DeFi ได้อย่างหลากหลายรูปแบบ

 

    3. Solana ในโลก DeFi ที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพของ Solana โปรโตคอล Marinade (MNDE) ครองตำแหน่งสูงสุดในฐานะราชาแห่ง Liquid Staking ผู้ใช้สามารถทำ Liquid Staking ผ่าน Marinade และได้รับโทเค็นอนุพันธ์ที่สามารถนำไปใช้ในกิจกรรม DeFi ต่าง ๆ บน Solana ได้ กระบวนการนี้ไม่เพียงแค่เพิ่มผลตอบแทนให้กับผู้ใช้ แต่ยังช่วยส่งเสริมความเติบโตของระบบนิเวศ DeFi บน Solana อีกด้วย



อนาคตของ Liquid Staking

Liquid Staking เป็นเทรนต์ที่เติบโตในคริปโตเคอร์เรนซีอย่างต่อเนื่อง และมีศักยภาพมากเพียงพอที่จะเปลี่ยนแปลงวิธีการลงทุนและการจัดการสินทรัพย์ดิจิทัล ในอนาคต Liquid Staking อาจมีการพัฒนาเพิ่มเติมและเป็นทางเลือกหลักในการหารายได้สำหรับนักลงทุนทั้งมือใหม่และมือเก๋า นอกจากนี้ การรวม Liquid Staking เข้ากับแพลตฟอร์ม DeFi (Decentralized finance) หรือแพลตฟอร์มทางการเงินอื่น ๆ นั้นยังเป็นการเปิดโอกาสในการสร้างนวัตกรรมทางการเงิน ที่ทำให้การลงทุนมีความยืดหยุ่นและประสิทธิภาพสูงมากขึ้นในอนาคต

 

สรุป Liquid Staking

จากจุดเริ่มต้นที่หาคำตอบว่าการ Stake เหรียญ คืออะไร ต่อยอดทำให้มารู้จักกับการทำ Liquid Staking ที่เป็นนวัตกรรมใหม่ที่พัฒนาขึ้นจากการต่อยอดการ Stake แบบเดิมเพื่อให้มูลค่าสกุลเงินดิจิทัลที่ถูกล็อคไว้มีประสิทธิภาพสูงมากขึ้น แม้ว่าจะมีข้อดีหลายประการ เช่น การมีสภาพคล่องสูง การกระจายความเสี่ยงที่ง่ายขึ้นและการเพิ่มโอกาสในการทำกำไร แต่ Liquid Staking นั้นยังคงมีความเสี่ยงและข้อควรระวังที่นักลงทุนควรพิจารณา

 

การเลือกแพลตฟอร์มที่น่าเชื่อถือ การตรวจสอบค่าธรรมเนียม การประเมินความเสี่ยงของพอร์ตลงทุนนั้นเป็นขั้นตอนสำคัญที่ช่วยให้ใช้งาน Liquid Staking ได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสูงขึ้น มากไปกว่านั้น การติดตามข่าวสารคริปโตเคอร์เรนซี่โดยเฉพาะ Liquid Staking จะช่วยให้นักลงทุนได้รับข้อมูลที่รวดเร็วขึ้นและสามารถวิเคราะห์ ปรับปรุงแผนการลงทุนได้อย่างเหมาะสมในแต่ละสถานการณ์

หมายเหตุ

คริปโทเคอร์เรนซีและโทเคนดิจิทัลมีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจำนวนและสินทรัพย์ดิจิทัลมีความเสี่ยง และ ผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอนาคต โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้

เรื่องราวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

Merkle Capital คือผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัลแห่งแรกในประเทศไทย ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานก.ล.ต. บริษัทให้การดูแลและบริหารเงินลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลแก่ลูกค้าด้วยกลยุทธ์ที่หลากหลายโดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนและการบริหารจัดการ