มิถุนายน 27, 2024
Crypto Wallet หรือกระเป๋าเงินคริปโตฯ คืออุปกรณ์หรือโปรแกรมที่ใช้ในการเก็บและจัดการสกุลเงินดิจิทัล เช่น Bitcoin Ethereum และคริปโตฯ อื่น ๆ กระเป๋าเงินคริปโตฯ ทำหน้าที่เหมือนกับบัญชีธนาคารในโลกดิจิทัล โดยมีหน้าที่หลักในการรับส่งสินทรัพย์ดิจิทัล ทั้งเหรียญคริปโตฯ หรือศิลปะอย่าง NFT และทำงานร่วมกันกับ Smart Contract บนโลกบล็อกเชน โดย Crypto Wallet จะมี 2 ส่วนสำคัญ ได้แก่ กุญแจส่วนตัว (Private Key) และกุญแจสาธารณะ (Public Key) ที่เกี่ยวข้องกับ Cryptocurrencies ที่คุณมี
Public Key สามารถเข้าถึงได้ผ่าน Wallet ที่อยู่บนเว็บ หรือ Desktop Wallet ได้เลย หลาย ๆ คนอาจเคยเห็นพวก Hardware Wallet เองก็มีกุญแจส่วนตัวไว้กู้ด้วยเช่นกัน แต่สำหรับ Private Key มักจะเขียนเก็บไว้บนกระดาษเพื่อความปลอดภัย
Crypto Wallet จะถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่ Custodial Wallet และ Non-Custodial Wallet แล้วทั้ง Custodial และ Non-Custodial Wallet คืออะไร ?
Non-Custodial Wallet หรือกระเป๋าเงินที่ไม่ต้องดูแลโดยบุคคลที่สาม เป็นกระเป๋าเงินดิจิทัลประเภทหนึ่งที่ผู้ใช้มีการควบคุมเต็มรูปแบบเหนือกุญแจส่วนตัว (Private Key) และสินทรัพย์ดิจิทัลของตนเอง โดยไม่มีบุคคลที่สามหรือผู้ให้บริการใดเข้ามาดูแลหรือเก็บรักษากุญแจส่วนตัวแทนผู้ใช้ เช่น Metamask Phantom Rabby Wallet เป็นต้น โดยกระเป๋าที่กล่าวมาจะเป็นกระเป๋าจำพวก Hot Wallet ที่เราใช้กันปกติบนอินเทอร์เน็ต
ดังนั้น การใช้ Non-Custodial Wallet จะไม่มีมือที่ 3 เข้ามาช่วยดูแลให้ ผู้ใช้งานจำเป็นจะต้องดูแลกุญแจสาธารณะ (Private Key) เอง ผู้ใช้จะต้องมีความรู้และพึงระวังสิ่งต่าง ๆ มาก ๆ เพราะหากเชื่อมต่อกับอะไรแปลก ๆ จะทำให้สูญเสียสินทรัพย์ทั้งหมดได้ แต่ Non-Custodial Wallet จะสามารถให้ผู้ใช้งานเข้าถึงการใช้งานโลกคริปโตฯ ที่หลากหลายกว่า รวมถึงเข้าถึง Defi ได้มากกว่าอีกด้วย
หลังจากรู้จัก Non-Custodial Wallet แล้วต้องรู้ด้วยว่าสิ่งที่ควรระวังและข้อดีข้อเสียของ Non-Custodial Wallet คืออะไร
ข้อดีของ Non-Custodial Wallet
ข้อเสียของ Non-Custodial Wallet
หากผู้ใช้งานเป็นกลุ่มคนที่มีความรู้ในการโดน Phishing Sign Scam หรือโดนหลอกลวงต่าง ๆ บนโลกคริปโตฯ การใช้ Non-Custodial Wallet จะสะดวกสบายและเข้าถึงโอกาสต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนโลกบล็อกเชนได้อย่างรวดเร็ว ทั้งนี้การใช้พร้อมกับ Hardware Wallet อย่าง Ledger หรือ Trezer จะทำให้ปลอดภัยมากขึ้น
Non-Custodial Wallet มีข้อดีคือ ผู้ใช้ควบคุมกุญแจส่วนตัวและทรัพย์สินดิจิทัลเอง จะเข้าถึง DeFi ง่าย ไม่มีการควบคุมจากบุคคลที่สาม และไม่ต้องผ่านการยืนยันตัวตน (KYC) อย่างไรก็ตาม ข้อเสียคือผู้ใช้ต้องมีความรู้และความรับผิดชอบสูงในการจัดการกุญแจส่วนตัว มีความเสี่ยงในการถูกโจรกรรมสินทรัพย์ดิจิทัล ธุรกรรมสามารถถูกติดตามได้ หากกุญแจส่วนตัวสูญหายหรือถูกขโมย จะไม่สามารถกู้คืนทรัพย์สินได้ และไม่มีบริการช่วยเหลือเมื่อเกิดปัญหา
Custodial Wallet หรือกระเป๋าเงินที่มีบุคคลที่สามดูแล เป็นกระเป๋าเงินดิจิทัลที่ผู้ใช้ไม่ต้องรับผิดชอบในการจัดเก็บและรักษากุญแจส่วนตัว (Private Key) ด้วยตนเอง แต่ให้ผู้ให้บริการ เช่น แพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนสกุลเงินดิจิทัล (Cryptocurrency Exchange : CEX) หรือบริการกระเป๋าเงินออนไลน์ เป็นผู้ดูแลและเก็บรักษากุญแจส่วนตัวแทนผู้ใช้ ยกตัวอย่างเช่น Binance Coinbase Bitkub เป็นต้น
อีกจุดหนึ่งที่น่าสนใจคือ Custodial Wallet เป็นที่นิยมทั้งทางรายย่อยและทางสถาบันการเงินต่าง ๆ มีบริษัทมากมายเกิดขึ้นมาเป็น Custodial Wallet ให้ทางสถาบันและทาง CEX เองก็พยายามปรับตัวและพัฒนาระบบหลังบ้านตัวเองเพื่อการเป็น Custodial Wallet ให้ทางสถาบันเช่นกัน ยกตัวอย่างบริษัทที่เป็น Custodial Wallet ของสถาบันได้แก่ Copper Bitcoin Suisse เป็นต้น
ทางรายย่อยเองก็เช่นกัน รายย่อยที่ไม่มีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันตัวเองในโลกคริปโตฯ การใช้ Custodial Wallet บน CEX อาจจะเหมาะสมมากกว่า เพราะมีคนคอยดูแลให้ ไม่ต้องกังวลการสูญเสียจากการลืมรหัส หรือการเสียหายของ Hardware (โทรศัพท์หรือแล็ปท็อป) แต่มีความเสี่ยงการปิดตัวของ CEX หรือการทำงานผิดพลาดของ CEX เอง
หลังจากรู้จักทั้ง Non-Custodial Wallet และ Custodial Wallet แล้ว ในความเป็นจริงข้อดีข้อเสียก็ต่างกันเพียงแค่สลับกันเท่านั้น แล้วข้อดีข้อเสียของ Custodial Wallet คืออะไร
ข้อดีของ Custodial Wallet
ข้อเสียของ Custodial Wallet
Custodial Wallet เป็นกระเป๋าเงินดิจิทัลที่มีบุคคลที่สามดูแลและจัดการกุญแจส่วนตัวแทนผู้ใช้ มีความสะดวกสบายและง่ายต่อการใช้งาน โดยเฉพาะสำหรับผู้ใช้ใหม่หรือผู้ที่ไม่เชี่ยวชาญทางเทคนิค อย่างไรก็ตาม มีความเสี่ยงด้านความปลอดภัยและการขาดการควบคุมเหนือทรัพย์สินดิจิทัล ซึ่งผู้ใช้ควรพิจารณาให้ดีก่อนเลือกใช้งาน
ถ้าดูกันแค่ข้อดีข้อเสียของทั้ง Custodial และ Non-Custodial Wallet หลาย ๆ คนอาจจะคิดว่า Custodial Wallet ดีกว่า Non-Custodial Wallet จริง ๆ แล้วอาจจะใช่หรือไม่ก็ได้แล้วแต่ความสะดวก ซึ่งในความเป็นจริงแล้วถ้าเรามีความรู้มากพอการเข้าถึงโลก Web 3.0 หรือโลก Defi ไม่ได้เป็นเรื่องที่ยากขนาดนั้น ความเสี่ยงต่าง ๆ หรือการสูญเสียต่าง ล้วนที่เกิดขึ้นจากความผิดพลาดของผู้ใช้งานเอง ถ้าเราระมัดระวังเป็นอย่างดี และรู้ในสิ่งที่ทำ จัดสรรความเสี่ยง มีหลาย ๆ Wallet เพื่อจุดประสงค์ที่ต่าง ๆ จะทำให้การอยู่บนโลกคริปโตฯ หรือ Web 3.0 ไม่ใช้เรื่องยาก
กลับกันสำหรับคนที่มีความรู้อยู่แล้วการฝากเงินไว้กับมือที่สาม เสี่ยงมากกว่าการเก็บเงินไว้กับตัวเองเสียอีก มีข่าวการโดนโจรกรรมหรือจงใจโจรกรรมเอง ในสินทรัพย์ดิจิทัลของบุคคลที่สามหรือ CEX มาบ่อยครั้งมาก ๆ และเกิดความเสียหายเป็นวงกว้างจนชาวคริปโตฯ มีวลีที่ชอบพูดกันบ่อย ๆ ว่า “Not Your keys, Not Your Coins” หรือเหรียญที่อยู่บน CEX ไม่ใช้ของคุณแต่เป็นของ CEX ดังนั้นถอนเหรียญของคุณมาเก็บไว้กับตัวเองจะดีกว่า ไม่ต้องกังวลความเสี่ยงการทำงานที่ผิดพลาดของบุคคลที่สาม
แต่อย่างไรก็ตาม Custodial Wallet ก็ข้อได้เปรียบอย่างมากอยู่ อย่างความสะดวกสบายในการใช้งาน ไม่ต้องใช้ค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมใด ๆ มีคู่เหรียญให้เทรดได้หลากหลาย เลย Custodial Wallet เลยนิยมมากในหมู่นักเก็ง
กำไรระยะกลาง ถึงระยะสั้น และก็มีส่วนเสริมอื่น ๆ ที่สำคัญสำหรับนักเก็งกำไรอย่าง Option Future Margin และ Earn ดังนั้น Custodial Wallet เองก็ยังเป็นที่นิยมในหมู่นักลงทุนเพราะความสะดวกสะบายที่โดดเด่น
หากคำถามเป็นใช้ Custodial Wallet หรือ Non-Custodial Wallet ? คำตอบที่ถูกต้องที่สุดคือต้องมีความรู้ทั้งสองอย่างและใช้ทั้งสองอัน ใช้ Custodial Wallet สำหรับการลงทุนระยะกลางและระยะสั้นหรือไว้ใช้ทำอะไรที่ Non-Custodial Wallet ทำไม่ได้ และใช้ Non-Custodial Wallet ไว้เก็บการลงทุนระยะยาว ไว้ใช้เล่น Defi ที่อยากไปเล่น อย่าให้โอกาสของคุณถูกจำกัดอยู่แค่ Custodial หรือ Non-Custodial Wallets อย่างใดอย่างหนึ่ง
แล้วถ้าจะเลือกใช้ Non-Custodial Wallet บนเชนที่ใช้งานง่ายผ่าน Web อันไหนจะเป็นน่าเชื่อถือและนิยมมากที่สุด เรามาเริ่มกันที่อันดับที่ 1 คือ
MetaMask เป็นกระเป๋าเงินดิจิทัลแบบ Non-Custodial ที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถจัดการ Ethereum และโทเค็น ERC-20 ได้อย่างง่ายดายผ่านเว็บเบราว์เซอร์ นิยมใช้บน EVM (Etheruem Virtual Machine) บล็อกเชน มันทำหน้าที่เป็นปลั๊กอินที่สามารถติดตั้งในเบราว์เซอร์ต่าง ๆ เช่น Google Chrome, Firefox, Brave และ Microsoft Edge
ข้อเสียของ Metamask คือเชื่อต่อได้แค่บล็อกเชนที่เป็น EVM (Etheruem Virtual Machine) เท่านั้นไม่สามารถเชื่อมต่อกับบล็อกเชนที่ใช้ภาษาอื่นได้ เช่น Solana, Sui, Bitcoin เป็นต้น แต่ก็ได้มีการแก้ไขสถาณการณ์โดยการออก Metamask Snap ออกมา แก้ไขปัญหาใช้นอก EVM ได้บ้างแต่ศักยภาพไม่ดีเท่า Native Wallet บนเชนนั้น ๆ
Coinbase Wallet เป็นกระเป๋าเงินดิจิทัลแบบ Non-Custodial ที่พัฒนาโดย Coinbase เพื่อให้ผู้ใช้สามารถควบคุมกุญแจส่วนตัวและจัดการสินทรัพย์ดิจิทัลของตนเองได้ โดยไม่ต้องพึ่งพาบุคคลที่สาม เป็นแอปพลิเคชันแยกออกมาจากแพลตฟอร์มการซื้อขายของ Coinbase ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากแอปพลิเคชันแบบกระจายอำนาจ (DApps) และบริการทางการเงินแบบกระจายอำนาจ (DeFi) จุดขายเด่น ๆ คือชื่อของ Coinbase ที่เป็น CEX อันดับที่ 1 ในสหรัฐอเมริกา และถูกกำกับดูแลผ่าน SEC เรียบร้อยแล้ว
Rabby Wallet เป็นกระเป๋าเงินดิจิทัลแบบ Non-Custodial ที่พัฒนาโดยทีมงาน DeBank เพื่อให้ผู้ใช้สามารถจัดการสินทรัพย์ดิจิทัลและโต้ตอบกับแอปพลิเคชันแบบกระจายอำนาจ (DApps) บนหลายบล็อกเชนได้อย่างง่ายดาย มันถูกออกแบบมาให้มีความปลอดภัยสูงและใช้งานง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ใช้ DeFi
ข้อดีคือจะมีเหมือน Security Check ให้ก่อนกดเซ็น Smart Contract ด้วย หรือเราจะไปเซ็นที่แพลตฟอร์มไหนก็จะมีบอกว่าแพลตฟอร์มนั้นมีชื่อเสียงขนาดไหน ให้ไว้ป้องกันความผิดพลาดด้วย และทำหน้าที่เหมือน One Stop Service สำหรับทุก EVM Chain มี Dash Board ที่รวมเอาทุกเชนมาไว้ด้วยกัน และเวลายืนยันธุรกรรมก็จะย้ายเชนให้เองไม่ต้องกดย้ายเหมือน Metamask
Binance Wallet เป็นกระเป๋าเงินดิจิทัลแบบ Custodial ที่ให้บริการโดย Binance ซึ่งเป็นหนึ่งในแพลตฟอร์มซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลที่ใหญ่ที่สุดในโลก กระเป๋าเงินนี้ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเก็บรักษา ส่ง และรับสกุลเงินดิจิทัลได้อย่างปลอดภัย ทั้งยังมีการผสานรวมกับบริการและฟีเจอร์ต่าง ๆ ของแพลตฟอร์ม Binance เพื่อให้การซื้อขายและการจัดการสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นไปอย่างสะดวกสบาย
ข้อดีคือ One Stop Service กับ Custodial Wallet ของ Binance เปิดสลับกันไปมาง่าย ซึ่งง่ายต่อการโอนระหว่าง CEX และ Wallet ที่มากไปกว่านั้นยังมีบริการเสริมที่ทาง Binance เพิ่มเข้ามาอย่างเช่นการยืนยันแพลตฟอร์ม Defi การนำเสนอ Defi ที่ให้ผลตอบแทนสูง ๆ เป็นต้น
OKX Wallet เป็นกระเป๋าเงินดิจิทัลแบบ Non-Custodial ที่พัฒนาโดย OKX ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีชื่อเสียง กระเป๋าเงินนี้ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเก็บรักษาและจัดการสินทรัพย์ดิจิทัลได้อย่างปลอดภัย พร้อมทั้งเชื่อมต่อกับแอปพลิเคชันแบบกระจายอำนาจ (DApps) และบริการทางการเงินแบบกระจายอำนาจ (DeFi) ได้ง่ายดาย OKX Wallet รองรับหลายบล็อกเชนและมีฟีเจอร์ความปลอดภัยที่ทันสมัย
ข้อดีคือ OKX Wallet เป็น One Stop Service กับ OKX Exchange และ OKX Wallet ยังรองรับเชนมากกว่า Non-Custodial Wallet อื่น ๆ เช่น EVM, Bitcoin, Ordinals, Sui, Solana มีมาทั้งหมดใน วอลเล็ตเดียว ที่มากไปกว่ามีการรองรับ One Stop Defi ในแอปเอง Real Time Interest หรือตลาด NFT มีให้ทั้งหมดในแอปเดียว
การเลือกใช้ Custodial หรือ Non-Custodial Wallet ขึ้นอยู่กับความรู้และวัตถุประสงค์ของแต่ละบุคคล ถึงแม้ Custodial Wallet จะมีความสะดวกสบายและเร็วกว่าในการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล แต่ Non-Custodial Wallet ถ้าหากมีความรู้มากพอ มักจะมีความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวที่สูงกว่า โดยผู้ใช้สามารถควบคุมกุญแจส่วนตัวได้เอง ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญในการป้องกันการโจรกรรมหรือการสูญเสียสินทรัพย์ดิจิทัล ในกรณีที่บริษัทผู้ให้บริการ Custodial ถูกโจมตีหรือเกิดปัญหา นอกจากนี้ Non-Custodial Wallet ยังเปิดโอกาสให้ผู้ใช้เข้าถึงโลกของ Decentralized Finance (DeFi) และพื้นที่ Web 3.0 โดยไม่ต้องพึ่งพาบุคคลที่สาม ดังนั้นผู้ใช้ควรพิจารณาความเหมาะสมของแต่ละแพลตฟอร์ม และปรับใช้ Wallet ตามวัตถุประสงค์และความต้องการของตนเองอย่างเหมาะสม การทำความเข้าใจเกี่ยวกับความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องและการใช้งานอย่างระมัดระวังจะช่วยลดความเสี่ยงในการสูญเสียสินทรัพย์ดิจิทัลและทำให้การอยู่ในโลกคริปโตฯ หรือ Web 3.0 เป็นเรื่องที่ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
คริปโทเคอร์เรนซีและโทเคนดิจิทัลมีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจำนวนและสินทรัพย์ดิจิทัลมีความเสี่ยง และ ผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอนาคต โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
Disclaimer