ราคา Ceiling & Floor คืออะไร รับมือได้อย่างไรบ้าง

พฤษภาคม 20, 2024

thumbnail

ราคา Ceiling & Floor คืออะไร รับมือได้อย่างไรบ้าง

Ceiling คืออะไร ? แล้วราคา Floor คืออะไร ? ถ้าหากใครที่เพิ่งเคยลงทุนในตลาดหุ้น อาจจะเคยได้ยินคำว่า ราคา “Ceiling” และ ราคา “Floor” ที่เข้ามาช่วยลดความผันผวนของตลาด ซึ่งอาจจะยังไม่ได้เข้าใจความหมายว่ามันคืออะไร วันนี้ผมจะพาไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับคำว่าราคา Ceiling & Floor ว่ามันคืออะไร 

 

ราคา Ceiling & floor คืออะไร


ราคา Ceiling และ floor


ราคา Ceiling (ราคาเพดาน) & floor (ราคาพื้น) จะเป็นราคาซื้อ-ขายหุ้น สูงสุด และ ตํ่าสุด ที่จะถูกกำหนดในแต่ละวัน เพื่อรองรับความผันผวนของตลาดหุ้น โดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กำหนดราคา Ceiling และ Floor ไม่เกิน +/-30% จากราคาปิดวันก่อนหน้านี้ เพื่อปกป้องนักลงทุนจากการถูกปั่นราคา และถูกขายทำกำไร

ตัวอย่างเช่น เมื่อวาน หุ้น A ราคาปิดอยู่ที่ 10 บาท ซึ่งการกำหนดราคา Ceiling กับ ราคา Floor จะ +/- ไม่เกิน 30% ทำให้ราคา Ceiling จะเท่ากับ 13 บาท ส่วนราคา Floor จะเท่ากับ 7 บาท นั้นเอง

หากอธิบายให้เข้าใจแบบกระชับเข้าใจง่ายการกำหนดราคา Ceiling และ Floor มีจุดประสงค์หลักคือเพื่อป้องกันความเสี่ยงในการลงทุน โดยรัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถกำหนดราคาเหล่านี้เพื่อป้องกันการเกิดความผันผวนในราคาที่มากเกินไปนั่นเอง

 

ความแตกต่างระหว่างเพดานและพื้นราคา


ความแตกต่างระหว่างเพดานและพื้นราคา


อย่างที่ได้มีการกล่าวไปในข้างต้นว่าราคาเพดาน หรือ Ceiling คืออะไร และ ราคาพื้น หรือ Floor คืออะไร โดยจุดประสงค์นั้นคือเพื่อลดความผันผวนของตลาด แต่ก็มีจะลักษณะที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งจะมีความแตกต่างดังนี้ 

Price Ceiling หรือ ราคา Ceiling คือราคาสูงสุดของหุ้นในวันนั้นๆที่เราจะสามารถซื้อได้ เพื่อลดความผันผวน ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดการเก็งกำไรได้ ที่อาจจะส่งผลกระทบต่อตลาดได้ ซึ่งการที่มีราคาเพดานจะช่วยให้นักลงทุนเพิ่มเวลาในการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆเพื่อใช้ในการตัดสินใจลงทุนได้ดีมากยิ่งขึ้น ทำให้ตลาดมีความเสถียรภาพ

Price Floor หรือ ราคา Floor คือจะเป็นราคาตำ่สุดในวันนั้นๆที่เราจะสามารถซื้อได้ ซึ่งจะเพื่อลดความผันผวนของตลาดเช่นกัน แต่จะเป็นในรูปแบบการถูกเทขายอย่างหนัก เนื่องจากความตื่นตระหนก โดยอาจจะมีข่าวในเชิงลบที่ส่งผลต่อราคา และบางครั้งตลาดอาจจะมีการตอบสนองที่เกินจริง ทำให้ราคาลงอย่างรวดเร็ว ส่วนนี้จะช่วยให้ราคามีเสถียรภาพมากขึ้นเช่นกัน

โดยสรุปแล้วจุดประสงค์ของราคา Ceiling คือเพื่อไม่ให้ราคาหุ้นพุ่งสูงแล้วทำให้เกิดความเสียหายต่อนักลงทุนได้ ส่วนจุดประสงค์ของ ราคา Floor คือในกรณีที่มีข่าวที่อาจจะส่งผลเสียต่อหุ้นตัวนั้นๆอาจจะทำให้มีการเทขาย หรือมีการตอบสนองที่เกินจริง ซึ่งเป็นการลดความผันผวนของหุ้นที่มีการขึ้นแรง หรือ ลงแรง ผิดปกตินั้นเอง 

 

ข้อควรระวังเกี่ยวกับราคา ceiling และ floor 


ข้อควรระวังเกี่ยวกับราคา ceiling และ floor


การกำหนดราคา Ceiling และ ราคา Floor ทำให้ราคาหุ้นอาจจะถูกจำกัดความสามารถ และ ไม่สามารถสะท้อนมูลค่าที่แท้จริงได้

  1. จำกัดความเคลื่อนไหวของราคา : การกำหนดราคา Ceiling และ ราคา Floor ทำให้ราคาหุ้นอาจจะถูกจำกัดความสามารถ และ ไม่สามารถสะท้อนมูลค่าที่แท้จริงได้
  2. ความผันผวนเมื่อเปิดตลาดใหม่: หากในวันก่อนราคาหุ้นมีการเคลื่อนไหวชนกับราคา Ceiling หรือ ราคา Floor อาจจะทำให้เกิดความผันผวนอย่างมากในวันถัดไป 
  3. การสร้างความเสี่ยงจากการตอบสนองที่เกินจริง: อาจทำให้นักลงทุนตอบสนองต่อข่าวสารหรือเหตุการณ์บางอย่างอย่างเกินจริง เนื่องจากพวกเขาอาจพยายามทำการซื้อขายก่อนที่หุ้นจะถึงราคา Ceiling และ ราคา Floor
  4. ความยากในการซื้อขาย: ทำให้เกิดความยากลำบากในการซื้อหรือขายหุ้นนั้นๆ เนื่องจากอาจทำให้ไม่มีผู้ซื้อหรือผู้ขายที่ต้องการทำการซื้อขายในราคานั้นๆ
  5. การวิเคราะห์ที่ท้าทาย: เกิดความท้าทายในการวิเคราะห์ ซึ่งการที่ราคามีความผันผวนทำให้นักลงทุนสายเทคนิคลงทุนได้ยาก เนื่องจากการเคลื่อนไหวของราคาอาจไม่สะท้อนถึงพฤติกรรมตามปกติของตลาด

 

สรุป ราคา Ceiling & Floor

ราคา Ceiling และ ราคา Floor เป็นการจำกัดราคาซื้อ-ขายหุ้น สูงสุด และ ตำ่สุด ที่นักลงทุนสามารถซื้อ-ขายได้นั้น เพื่อเป็นการลดความผันผวนในตลาด แต่การที่ราคาหุ้นนั้นวิ่งไปชนราคา Ceiling หรือ ราคา Floor ก็อาจจะเป็นการตอบสนองข่าวต่างๆที่เกินจริงของนักลงทุนก็เป็นได้ แล้วอาจจะส่งผลต่อความผันผวนเมื่อตลาดเปิดใหม่อีกด้วย เพราะฉะนั้นนักลงทุนอาจจะต้องหาข้อมูล เพื่อประกอบการพิจารณา และลงทุนอย่างระมัดระวังมากยิ่งขึ้น หากว่าหุ้นตัวนั้นๆมีการปรับตัวไปชนกับราคา Ceiling หรือ ราคา Floor

 

หมายเหตุ

คริปโทเคอร์เรนซีและโทเคนดิจิทัลมีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจำนวนและสินทรัพย์ดิจิทัลมีความเสี่ยง และ ผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอนาคต โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้

 

เรื่องราวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

Merkle Capital คือผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัลแห่งแรกในประเทศไทย ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานก.ล.ต. บริษัทให้การดูแลและบริหารเงินลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลแก่ลูกค้าด้วยกลยุทธ์ที่หลากหลายโดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนและการบริหารจัดการ