Tokenomic คืออะไร

มิถุนายน 25, 2024

thumbnail

ทำความเข้าใจ Tokenomics

 

ทำความเข้าใจ Tokenomics

 

ก่อนอื่นต้องปรับความเข้าใจของทุกคนให้มาเห็นภาพเดียวกันก่อน Token ที่ออกมาขายก็คือการระดมทุนรูปแบบหนึ่งเท่านั้นเอง เพื่อให้เขาใจภาพง่ายขึ้น ลองนึกถึงตลาดหุ้นที่ระดมทุนผ่านการขายสัดส่วนความเป็นเจ้าของแลกกับเงินของนักลงทุน เช่นเดียวกัน โปรเจกต์คริปโตฯ ก็ระดมทุนผ่านการขายสินทรัพย์ดิจิทัลเพื่อแลกกับเงินของนักลงทุน แต่ในตลาดหุ้น สิ่งตอบแทนในตลาดหุ้นคือเงินปันผล และราคาหุ้นจะสะท้อนปัจจุบันและอนาคตของบริษัท ซึ่งโปรเจกต์คริปโตฯ ก็คล้ายๆ กัน แต่ในตามปกติหรือถ้าใช้คำในวงการหน่อยคือวัฒนธรรมคริปโตฯ (Crypto Culture) ที่ตลาดคริปโตฯ ส่วนใหญ่มีแต่การเก็งกำไร ส่วนใหญ่เขาจะไม่ได้มองว่าเหรียญโปรเจกต์คริปโตฯ นั้น ๆ สะท้อนปัจจุบันและอนาคตของบริษัทได้ แต่เขาจะมองว่าเหรียญที่ออกมาทำอะไรได้มากกว่า

 

นั้นจึงเป็นที่มาของคำว่า Tokenomics ซึ่ง Tokenomics คือ คำที่รวมคำว่า Token กับ Economics เข้าด้วยกัน หมายความถึงการสร้าง Economics บน Token นั้น ๆ Tokenomics ในโลกคริปโตฯ การศึกษา Tokenomics เป็นเรื่องที่สำคัญมาก ๆ เพราะมีบางครั้งที่เกิดการหลอกลวงไปลงทุน โดนขาย Initial Coins Offering (ICO) หรือขายเหรียญแบบ Public Sales โดยที่เหรียญไม่มีคุณค่าอะไรเลยหรือเอาไปทำอะไรไม่ได้เลยนอกจากเก็งกำไร ทั้งนี้ยังต้องคำนึงถึงการจัดการเหรียญ การปลดล็อกเหรียญ หรือหน้าที่ของเหรียญที่เอาไว้สร้างแรงจูงใจ ที่หมายถึงการเกิดแรงงานตามมาเป็นปริมาณมหาศาลและแรงงานเป็นเวลานาน ซึ่งไม่ส่งผลดีต่อนักลงทุนอย่างแน่นอน

 

Tokenomics ประกอบด้วยอะไรบ้าง ?

 

Tokenomics ประกอบด้วยอะไรบ้าง

 

อย่างที่กล่าวไปข้างต้นการศึกษา Tokenomics เป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับโลกคริปโตฯ นักลงทุนคริปโตฯ “ต้องรู้” เกี่ยวกับ Tokenomics ก่อนที่จะลงทุน โดย Tokenomics ที่ต้องรู้จะประกอบด้วย

 

  • อุปทานเหรียญทั้งหมด (Supply) : สิ่งนี้เป็นตัวกำหนดแรงขายในอนาคตของเหรียญได้ เช่นบางเหรียญจะมีความเฟ้อของเหรียญและทำให้จำนวนเหรียญเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ การเพิ่มขึ้นของเหรียญเป็นการลดมูลค่าหรือราคาของเหรียญลงได้

 

  • การกระจายเหรียญ (Distribution) : การดูการกระจายเหรียญเป็นการดูว่าในอนาคตจะมีแรงขายขนาดไหน เพราะในการที่โปรเจกต์คริปโตฯ จะเกิดขึ้นมาได้ จะมีการขาย Seed Round, Private Sales, Series A, Series B มากมาย ซึ่งคนเหล่านี้จะเทขายเหรียญเพื่อทำกำไรทันทีเมื่อเหรียญปลดล็อก คนเหล่านี้จะได้เข้าซื้อเหรียญก่อนนักลงทุนทั่วไปและได้ในราคาที่ตำ่จาก Public Sales มาก ๆ ซึ่งได้เปรียบนักลงทุนทั่วไปที่เข้ามาช่วงสุดท้าย

 

ยกตัวอย่างเช่น เหรียญ A จำนวน 1000 เหรียญ 

Public Sales : 300 

Private Sales : 100

Series A : 100

Team : 400

Marketing : 100

จากตัวอย่างนักลงทุนจริงๆ ถือเหรียญอยู่เพียง 300 หรือ 30% จะมี Private Sales, Series A, Marketing และ Team คอยขายเหรียญเพื่อทำกำไรหรือหาเงินไปขยายกิจการต่อ ซึ่งจะส่งผลให้ราคาของเหรียญลดลงในอนาคต

 

  • เหรียญเอาไปทำอะไรได้ (Utility) : สำหรับโลกคริปโตฯ สินทรัพย์ดิจิทัลต้องคำนึงถึงด้วยว่าเหรียญเอาไปทำอะไรได้ เป็นเหมือนสิ่งที่คอยให้นักลงทุนยึดมั่นได้ว่าจะอะไรเป็นผลตอบแทนกลับมาหรือเปล่า หรือเป็นเหมือนคำมั่นสัญญาว่าโปรเจกต์นั้น ๆ จะดำเนินการต่อไปทางไหนและคิดถึงนักลงทุนขนาดไหน เนื่องจากคริปโตฯ เป็นตลาดที่เปิดกว่าง การโกงบนโลกคริปโตฯ มีมาทุกรูปแบบ การโกงเกี่ยวกับ Utillity ของเหรียญเองก็เป็นหนึ่งในนั้น เคยมีโปรเจกต์ที่มีแนวโน้มว่าจะดี แต่กลับทำเหรียญที่ไม่มีประโยชน์ออกมาโดยไม่บอกอะไร

 

ตัวอย่าง Utilly ของเหรียญ

  • Gas Fees : ใช้เป็ค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรม เช่น BTC, ETH เป็นต้น
  • Governance : ใช้โหวตหัวข้อต่าง ๆ บนโปรเจกต์ เช่น OP, ARB เป็นต้น
  • Incentive : ใช้เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจให้คนเข้ามาใช้งาน จะเห็นได้ตาม Defi ที่กำลังทำ Marketing อย่าง Scallop, BAT เป็นต้น
  • Discount : ใช้เป็นส่วนลดในการเข้าใช้งาน เช่น BNB
  • ซื้อคืนและเผา (Buy Back and Burn) : ในบางโปรเจกต์จะเขียนไว้กับ Tokenomics เลยว่าจะมีการนำเหรียญบางส่วนที่ได้ หรือนำกำไรบางส่วนที่ได้มาไปซื้อเหรียญคืนและทำการเผาเหรียญ (เผาคือการโอนไปไว้ในที่ที่ใครก็ไม่สามารถเข้าถึงได้) เช่น Merit Cercle หรือ BEAM หรือบางโปรเจกต์ก็ได้มีการเผาโดยหักจากบางส่วนของกำไรไปเลย เช่นการเผาเหรียญที่จากบางส่วนของค่าธรรมเนียมธุรกรรมที่เกิดขึ้นจริงบนบล็อกเชน เช่น AVAX, Injective, BNB หรือ Etheruem ที่เรารู้จักกัน

 

ซึ่งการเผาเหรียญเป็นการลด Total Supply ของเหรียญลง และในทางคณิตศาสตร์การที่มูลค่าเท่าเดิม จำนวนเหรียญลดลง จะทำให้ราคาเพิ่มขึ้น ในอีกมุมหนึ่งวิธีการนี้เป็นวิธีที่ดีมากในการสร้าง Tokenomics ที่ทุกคนมีความสุขในการลงทุนระยะยาว

 

  • เทคโนโลยี (Technology) : แน่นอนว่าถึงจะวิเคราะห์ Tokenomics ไปมากแค่ไหนแล้วพบว่า Tokenomics ดีขนาดไหน แต่จริงๆ แล้ว Tokenomics เป็นเพียงแค่ Game Theory รูปแบบหนึ่งเท่านั้นเอง ปัจจัยที่อยู่ล่างสุดและสำคัญที่สุดคือ “โปรเจกต์จะสามารถทำตามที่พูดไว้ได้ไหม” หาก Tokenomics ดีแค่ไหนแต่ถ้าไม่มีคนใช้งาน หรือตัวเทคโนโลยีไม่ดีจริง มันจะไม่ใช่การลงทุนที่ดีแน่นอน

 

โดยสรุป สิ่งที่นักลงทุนอย่างเรา ๆ ต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก มี 2 อย่างคือตัวโปรเจกต์ หรือเทคโนโลยี และ Tokenomics หากทั้งสองอย่างสอดคล้องกัน ทั้งเทคโนโลยีดีมาก และ Tokenomics ดีมาก มักจะเป็นการลงทุนที่ดีในอนาคต แต่ถ้า Tokenomics ถูกออกแบบมาไม่ดี การลงทุนอาจจะลำบาก และสุดท้ายถ้าเทคโนโลยีไม่ดี นั่นหมายถึงไม่ใช่การลงทุนที่ดีแน่นอน

 

ตัวแปรหลักที่ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของ Tokenomics

ตัวแปรหลักที่ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของ Tokenomics การเปลี่ยนแปลงของ Tokenomics มีปัจจัยหลายด้านที่ส่งผลต่อมูลค่าและการใช้งานของเหรียญในระบบคริปโตฯ 

ปัจจัยแรกคือ “อุปทานเหรียญ (Supply)” ซึ่งจำนวนเหรียญทั้งหมดและอัตราการเพิ่มขึ้นมีผลต่อภาวะเฟ้อและแรงขายในตลาด อีกทั้ง “การกระจายเหรียญ (Distribution)” ที่ระบุถึงวิธีและช่วงเวลาการปลดล็อกเหรียญของนักลงทุนรายใหญ่ ซึ่งอาจก่อให้เกิดแรงขายสูงในอนาคต “Utility” หรือประโยชน์ใช้งานของเหรียญก็เป็นตัวบ่งชี้ความน่าเชื่อถือของโปรเจกต์ ไม่ว่าจะเป็นการชำระค่าธรรมเนียมหรือการเข้าร่วมกระบวนการโหวต นอกจากนี้ กลไก “Buy Back & Burn” ที่ช่วยลดจำนวนเหรียญในตลาดก็มีส่วนสำคัญ เทคโนโลยีที่โปรเจกต์ใช้งานและความสามารถในการปฏิบัติตามสัญญาก็มีผลเช่นกัน ปัจจัยภายนอกอย่างแนวโน้มตลาดและนโยบายของรัฐก็เป็นส่วนหนึ่งที่ต้องพิจารณา โดยองค์ประกอบเหล่านี้คือพื้นฐานสำคัญที่นักลงทุนต้องวิเคราะห์เพื่อประเมินศักยภาพและความเสี่ยงของโปรเจกต์ในระยะยาว

 

ศึกษา Tokenomics ได้จากที่ไหน ?

 

ศึกษา Tokenomics ได้จากที่ไหน

 

ศึกษา Tokenomics ได้หลากหลายที่ เช่น Coinmarketcap, Token Unlock แต่อาจมีบางส่วนของข้อมูลหายไป ซึ่งที่ที่ ดีทีสุดในการศึกษา Tokenomics คือที่ตัวโปรเจกต์เอง เช่น Docs หรือ Gitbook ในตัวโปรเจกต์จะมีคำอธิบาย Tokenomics ให้อยู่แล้วตั้งแต่ต้นจนจบ หรือถ้าให้ดีศึกษาให้เข้าใจไปถึงเทคโนโลยีของโปรเจกต์เลย โดยการอ่าน Whitepaper ประกอบการตัดสินใจในการลงทุน

 

สรุป

Tokenomics คือการศึกษาเศรษฐศาสตร์ของ Token ในโลกคริปโตฯ ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของการระดมทุน คล้ายกับการขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ แต่แทนที่จะได้รับเงินปันผล นักลงทุนคริปโตฯ จะได้รับเหรียญที่มีคุณค่าตามการใช้งาน (Utility) ตัวอย่างการใช้งานของเหรียญ ได้แก่ การชำระค่าธรรมเนียม (Gas Fees), การโหวต (Governance), การสร้างแรงจูงใจ (Incentive), และการให้ส่วนลด (Discount) การศึกษา Tokenomics จำเป็นต้องคำนึงถึงอุปทานเหรียญทั้งหมด (Supply), การกระจายเหรียญ (Distribution), และประโยชน์ของเหรียญ (Utility) เพื่อประเมินศักยภาพการลงทุนในโปรเจกต์คริปโตนั้นๆ นอกจากนี้การซื้อคืนและเผาเหรียญ (Buy Back and Burn) และเทคโนโลยีที่โปรเจกต์ใช้งานเป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องพิจารณา

 

หมายเหตุ

คริปโทเคอร์เรนซีและโทเคนดิจิทัลมีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจำนวนและสินทรัพย์ดิจิทัลมีความเสี่ยง และ ผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอนาคต โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้

เรื่องราวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

Merkle Capital คือผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัลแห่งแรกในประเทศไทย ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานก.ล.ต. บริษัทให้การดูแลและบริหารเงินลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลแก่ลูกค้าด้วยกลยุทธ์ที่หลากหลายโดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนและการบริหารจัดการ