สิงหาคม 19, 2024
การบริหารการเงิน ปัจจัยสำคัญที่จะนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายทางการเงินในระยะยาว การเงินไม่ใช่แค่เรื่องของตัวเลข แต่เป็นเรื่องของเป้าหมายและวิถีชีวิต เราทุกคนล้วนมีเป้าหมายในชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการออมเงินเพื่อการเกษียณที่สบาย หรือการลงทุนเพื่ออนาคตที่ดีกว่า การจัดการทางการเงินจะช่วยให้ตัดสินใจได้ดีขึ้นและมั่นใจมากขึ้นว่ากำลังเดินไปในทิศทางที่ถูกต้อง
การบริหารการเงิน เป็นหัวใจสำคัญของทุกสถาบัน ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจ บุคคลทั่วไป หรือแม้แต่องค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร การบริหารการเงิน คือ แนวทางและกลยุทธ์ในการบริหาร จัดการ ควบคุม และติดตามทรัพยากรทางการเงินทั้งหมด เพื่อบรรลุเป้าหมายทางการเงินขององค์กรหรือสถาบันนั้น ๆ ไม่ว่าจะเป็นเป้าหมายในระยะสั้นหรือระยะยาว และเพื่อรักษาเสถียรภาพทางการเงิน การวางแผนบริหารการเงินล้วนจำเป็นทั้งสิ้น
การจัดการทางการเงินมีความสำคัญอย่างยิ่งไม่ว่าจะสำหรับบุคคล องค์กร หรือธุรกิจ เพราะมันช่วยให้เกิดเสถียรภาพทางการเงิน สนับสนุนการตัดสินใจ บรรลุเป้าหมาย และเพิ่มสุขภาพทางการเงินที่ดี นี่คือเหตุผลสำคัญบางประการที่ทำให้การจัดการทางการเงินมีความสำคัญ
การจัดการทางการเงินที่มีประสิทธิภาพ ช่วยให้มองเห็นสถานะทางการเงินในปัจจุบันและความต้องการทางการเงินในอนาคตอย่างชัดเจน ช่วยในการรักษาสภาพคล่องทางการเงินเพื่อให้แน่ใจว่ามีเงินเพียงพอที่จะใช้จ่ายประจำวัน การจัดการรายได้และค่าใช้จ่ายอย่างถูกต้องเพื่อป้องกันสถานการณ์ที่หนี้สินเกินสินทรัพย์ และสร้างความปลอดภัยในสถานการณ์ฉุกเฉินทางการเงิน
การจัดการทางการเงินทำให้บุคคลและองค์กรมีข้อมูลและเครื่องมือที่จำเป็นในการตัดสินใจทางการเงินที่ดี ซึ่งรวมถึงการทำงบประมาณเพื่อกำหนดรายได้และค่าใช้จ่ายที่คาดการณ์ไว้เพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจ การประเมินความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นและการพัฒนากลยุทธ์เพื่อลดความเสี่ยงเหล่านั้น
ไม่ว่าจะเป็นการออมเงินสำหรับเหตุการณ์สำคัญในชีวิตส่วนตัวหรือการเติบโตของธุรกิจ การจัดการทางการเงินเป็นกุญแจสำคัญในการตั้งและบรรลุเป้าหมายทางการเงิน รวมไปถึงการตรวจสอบความคืบหน้าอย่างสม่ำเสมอและการปรับแผนตามความจำเป็น
การปฏิบัติทางการเงินที่ดีมีส่วนช่วยในการเพิ่มความเป็นอยู่ที่ดีทางการเงินโดยรวม ไม่ว่าจะเป็นการจัดการหนี้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อหลีกเลี่ยงการจ่ายดอกเบี้ยสูงเกินไปและความตึงเครียดทางการเงิน การสร้างนิสัยการออมและการลงทุนเพื่อสร้างความมั่งคั่งในระยะยาว หรือการระบุและลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพทางการเงิน
การจัดการทางการเงินที่มีประสิทธิภาพส่งเสริมความเป็นอิสระทางการเงินโดยการสะสมทรัพย์สินและการลงทุนที่สร้างรายได้และเพิ่มมูลค่า การลดการพึ่งพาการเงินภายนอกและหนี้สินที่มีอัตราดอกเบี้ยสูง การให้ความมั่นคงทางการเงินและความสบายใจเมื่อรู้ว่าเรื่องการเงินอยู่ในสถานะที่ดี
การบริหารการเงินอย่างมีประสิทธิภาพนั้น ต้องอาศัยการวางแผน จัดการ และควบคุมกิจกรรมทางการเงิน เพื่อการเติบโตแบบยั่งยืน บทความนี้จะยกตัวอย่าง 6 กลยุทธ์ในการบริหารการเงิน อย่างไรให้มีประสิทธิภาพ ที่สามารถนำไปปรับใช้ได้ทั้งในระดับบุคคลและระดับองค์กร
เหตุการณ์ที่ไม่แน่นอนสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา จนมีคำกล่าวที่ว่า “ความไม่แน่นอน คือความแน่นอน” ดังนั้น การเตรียมตัวรับมือกับความไม่แน่นอนดังกล่าว จึงเป็นสิ่งที่สำคัญและเป็นพื้นฐานของการบริหารการเงินที่ดีสำหรับทุกสถาบัน ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา หรือองค์กรขนาดใหญ่ เหตุการณ์ไม่แน่นอนบางอย่าง อาจสามารถเปลี่ยนสถานการณ์ไปในแง่ลบได้ หากไม่ได้มีการเตรียมพร้อมเพื่อรับมือไว้ล่วงหน้า
สำหรับบุคคลทั่วไป การตกงาน การเจ็บป่วย หรือเหตุการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ที่ไม่มีใครสามารถควบคุมได้ ล้วนเป็นความเสี่ยงทั้งสิ้น วิธีการเตรียมตัวรับมือกับเหตุการณ์ไม่คาดฝัน สามารถทำได้ โดยการเตรียมเงินสำรองฉุกเฉิน การทำประกันเพื่อป้องกันความเสี่ยงด้านต่าง ๆ หรือการเพิ่มช่องทางของรายได้
อย่างเหตุการณ์โรคระบาด COVID-19 ในช่วงที่ผ่านมา ก็เป็นเหตุการณ์ที่ไม่แน่นอน และส่งผลกระทบเชิงลบต่อองค์กรและบุคคลอย่างมีนัยยะสำคัญ นอกจากผลกระทบทางด้านสุขภาพแล้ว ยังส่งผลกระทบด้านการเงินอีกด้วย ธุรกิจบางประเภทไม่สามารถดำเนินงานต่อได้ และทำให้ต้องปิดตัวไป ไม่ว่าจะเป็น ธุรกิจโรงแรม ธุรกิจการบิน หรือแม้แต่ร้านอาหาร ซึ่งสร้างความเดือดร้อนแก่ผู้คนจำนวนมาก เพราะการที่ธุรกิจไม่สามารถดำเนินงานได้ ส่งผลให้เกิดการเลิกจ้างพนักงานตามมา
จากตัวอย่างของโรคระบาด ถึงแม้ร้านอาหารจะได้รับผลกระทบ แต่เมื่อผู้คนทำงานอยู่ที่บ้านมากขึ้น ก็เกิดเป็นเทรนด์ของการสั่งอาหารแบบ Delivery ซึ่งธุรกิจไหนที่สามารถปรับตัวได้ก่อน มีการวางแผนเพื่อหาเงินจากช่องทางออนไลน์ มีการเก็บเงินสำรองเผื่อฉุกเฉินล่วงหน้า ก็จะสามารถเอาตัวรอดจากสถานการณ์นี้ได้เป็นอย่างดี ดังนั้น การเตรียมพร้อมเพื่อรับมือกับเหตุการณ์ไม่คาดฝันจึงเป็นสิ่งสำคัญ
หนึ่งในสิ่งที่สำคัญสำหรับการบริหารการเงินอย่างมีประสิทธิภาพ คือ ประเมินฐานะทางการเงิน โดยวิเคราะห์จากสถานการณ์การเงินในปัจจุบัน ทำให้สามารถตัดสินใจอย่างมีข้อมูลและตั้งเป้าหมายทางการเงินที่สมเหตุสมผลจริงได้ การประเมินฐานะการเงินประกอบด้วยองค์ประกอบต่อไปนี้
การติดตามรายได้ :
การจัดหมวดหมู่ค่าใช้จ่าย
การติดตามและจัดหมวดหมู่ค่าใช้จ่ายจะช่วยให้คุณเห็นรูปแบบการใช้จ่ายและพื้นที่ที่สามารถลดการใช้จ่ายเพื่อการออมได้มากขึ้น
ความเข้าใจที่ชัดเจนเกี่ยวกับสินทรัพย์และหนี้สินเป็นสิ่งสำคัญในการประเมินมูลค่าสุทธิและสุขภาพการเงิน ซึ่งประกอบไปด้วย
สินทรัพย์ :
หนี้สิน:
การวางแผนทางการเงินเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับบุคคลและองค์กรที่ต้องการบรรลุเป้าหมายทางการเงินบางอย่าง ซึ่งการจัดทำแผนการเงินนั้น รวมไปถึงการตั้งเป้าหมาย วางกลยุทธ์และวิธีเพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าว รวมถึงกลับมาทบทวนเป้าหมายเป็นประจำ เพื่อติดตามความคืบหน้า กลยุทธ์ในการวางแผนการเงินที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง มีดังนี้
การตั้งเป้าหมาย นับว่าเป็นขั้นตอนแรกสำหรับการบริหารการเงิน โดยเป้าหมายต้องชัดเจนและเป็นไปได้ สามารถทำได้ผ่านแนวคิดแบบ SMART ซึ่งย่อมาจาก
S : Specific หมายถึง เป้าหมายแบบชี้เฉพาะ มีขอบเขตที่ชัดเจน
M : Measurable หมายถึง เป้าหมายที่สามารถวัดได้
A : Achievable หมายถึง เป้าหมายที่เป็นไปได้ สมเหตุสมผล
R : Relevant หมายถึง เป้าหมายที่สอดคล้องกับความต้องการในระยะยาว
T : Time-bound หมายถึง เป้าหมายที่บรรลุได้ ภายในระยะเวลาที่จำกัด
สิ่งที่สำคัญ คือ การตั้งเป้าหมายในหลายช่วงเวลาที่สอดคล้องกัน สามารถแบ่งเป็น เป้าหมายในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว ซึ่งการแบ่งเป้าหมายในแต่ละช่วงเวลานั้น จะทำให้สามารถติดตามผลได้ง่ายขึ้น และเห็นได้ชัดเจนว่าการที่จะบรรลุเป้าหมายในระยะยาวได้ จะต้องเริ่มจากจุดไหน
กลยุทธ์นี้ก็สำคัญไม่แพ้กัน โดยการกำหนดสัดส่วนค่าใช้จ่ายจะทำให้สามารถจัดการรายได้และรายจ่ายอย่างมีแบบแผน สามารถนำเงินส่วนเกินไปออมและลงทุนต่อยอดได้อีกด้วย อย่างที่กล่าวไปข้างต้น ค่าใช้จ่ายสามารถแบ่งออกเป็น ค่าใช้จ่ายคงที่ ค่าใช้จ่ายแปรผัน และค่าใช้จ่ายไม่จำเป็น ซึ่งเราสามารถเริ่มต้นได้ด้วยการจดบันทึกรายรับรายจ่ายในแต่ละเดือน เพื่อที่จะสังเกตพฤติกรรมการใช้จ่ายผ่านการจำแนกออกเป็นสามประเภท และสรุปว่าจุดไหนที่ควรปรับเปลี่ยน
เมื่อทำการสังเกตพฤติกรรมแล้ว การปรับเปลี่ยนขั้นแรกสามารถทำได้ด้วยการกำหนดขอบเขตค่าใช้จ่ายในแต่ละหมวดหมู่ เปลี่ยนมาให้ความสำคัญกับการออมและการลดภาระหนี้สินเป็นอันดับแรก
การวางแผนจัดการในส่วนนี้ เป็นองค์ประกอบสำคัญในการรักษาสุขภาพทางการเงินขององค์กรและบุคคล ซึ่งการวางแผนการจัดการหนี้สินที่มีประสิทธิภาพ มีองค์ประกอบดังนี้
แน่นอนว่าการวางแผนเรื่องการเงิน เป็นกระบวนการที่ไม่มีจุดสิ้นสุด และต้องการการตัดสินใจอย่างรอบคอบ เพื่อปรับตัวให้ทันกับสภาพแวดล้อมและความต้องการที่เปลี่ยนไปเสมอ กลยุทธ์ในการตั้งเป้าหมาย การกำหนดสัดส่วนค่าใช้จ่าย และการวางแผนหนี้ จะเปรียบเสมือนบันไดขั้นแรกในการก้าวไปสู่ความมั่นคงทางการเงิน ซึ่งทั้งหมดนี้ จะเป็นองค์ประกอบที่ช่วยให้การตัดสินใจอย่างมั่นคงสามารถเกิดขึ้นได้ ไม่ว่าจะต้องเจอกับเวลาที่ยากลำบากเพียงใด
เนื่องจากความไม่แน่นอน เป็นสิ่งเกิดขึ้นได้ตลอดช่วงอายุของคนและองค์กร ความยืดหยุ่นจึงเป็นสิ่งจำเป็นในการบริหารการเงิน เมื่อบริบทของชีวิตและสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไป แผนการเงินที่เคยวางไว้ก็อาจจะต้องเปลี่ยนตาม ดังนั้น การหมั่นทบทวนแผนการเงินที่เคยวางไว้ เป็นสิ่งที่ควรทำเป็นประจำเพื่อปรับแผนให้ตรงกับรายได้ ค่าใช้จ่าย หรือเป้าหมายที่เปลี่ยนแปลงไป
การทบทวนแผนการเงินจะสำคัญอย่างยิ่ง เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงสำคัญในชีวิต เช่น การแต่งงาน การมีบุตร การเปลี่ยนอาชีพ หรือการเกษียณ เมื่อการตัดสินใจบางอย่างที่ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตแบบเดิม การวางแผนการเงินให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตแบบใหม่ก็เป็นสิ่งที่ควรทำ
เงินสำรองฉุกเฉิน หรือเงินที่เก็บไว้ใช้ในกรณีจำเป็นและในเหตุการณ์ไม่คาดฝัน การเก็บเงินสำรองฉุกเฉินจะเป็นเหมือนเกราะป้องกันทางการเงิน เมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิด ทำให้ชีวิตและการเงินจะไม่ได้รับผลกระทบมาก เนื่องจากมีการวางแผนรองรับไว้แล้ว ลดความจำเป็นในการหาเงินเร่งด่วยหรือการพึ่งพาเงินกู้ดอกเบี้ยสูง ที่อาจส่งผลให้เกิดผลกระทบทางลบตามมา
เหตุการณ์ไม่คาดฝัน เช่น การเจ็บป่วย การตกงาน หรือการซ่อมแซมสิ่งจำเป็น หากมีการเตรียมพร้อมรับมือไว้ล่วงหน้า ทั้งความเครียด หรือปัญหาด้านการเงินก็จะลดลง รวมไปถึงไม่จำเป็นต้องมีการถอนเงินจากส่วนที่นำไปลงทุน ทำให้การลงทุนสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืนอีกด้วย
โดยแนวทางในการปฏิบัติเพื่อเก็บเงินสำรองฉุกเฉิน มีดังนี้
ข้อควรระวังอย่างนึง คือ เงินสำรองฉุกเฉินไม่ควรนำไปลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง ที่อาจทำให้เกิดการขาดทุนได้ แต่ควรเก็บในสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูง อย่างบัญชีฝากประจำ
กลยุทธ์สุดท้าย คือ การลงทุนเพื่อการเติบโต โดยกลยุทธ์นี้จะเน้นไปที่การเพิ่มมูลค่าของสินทรัพย์ เพื่อบรรลุเป้าหมายในระยะยาว เช่น การเกษียณอายุ การส่งบุตรเล่าเรียน หรือการสะสมเพื่อความมั่งคั่ง ซึ่งการลงทุนเพื่อการเติบโต จะมุ่งเน้นไปที่ระยะยาวเป็นหลัก ไม่ใช่แค่การเพิ่มขึ้นของราคาสินทรัพย์ในระยะสั้น
การเริ่มต้นลงทุนเร็ว เป็นสิ่งที่สามารถสร้างความได้เปรียบและช่วยให้บรรลุเป้าหมายได้เร็วขึ้น เนื่องจากแนวคิดของดอกเบี้ยทบต้น หรือการนำดอกเบี้ยที่ได้รับ มาทบในส่วนของเงินต้นเรื่อย ๆ จนเงินต้นที่ลงทุนมีขนาดใหญ่ขึ้น และเพิ่มผลตอบแทนในการลงทุนได้ในที่สุด ซึ่งแนวคิดนี้เป็นแนวคิดที่อาศัยระยะเวลาในการลงทุนเป็นปัจจัยหลัก ดังนั้น หากเริ่มได้เร็วก็ยิ่งได้เปรียบ
การลงทุนสามารถทำได้ในสินทรัพย์หลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นตราสารหนี้ หุ้น อสังหาริมทรัพย์ หรือสินทรัพย์ทางเลือก อย่างสินค้าโภคภัณฑ์และคริปโตเคอร์เรนซี โดยการลงทุนที่ดี คือ การลงทุนที่เหมาะสมกับความเสี่ยงที่รับได้ และมีการกระจายความเสี่ยงไปในสินทรัพย์หลายประเภท และหลายอุตสาหกรรม เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับสินทรัพย์ใดสินทรัพย์หนึ่ง
สรุปแล้ว การลงทุนเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้เป้าหมายทางการเงินในระยะยาวบรรลุได้ โดยอาศัยการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีศักยภาพในการเติบโต การบริหารจัดการความเสี่ยง และการมุ่งเน้นที่ระยะยาว ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญในการลงทุนทั้งสิ้น กลยุทธ์นี้ไม่เพียงแต่ช่วยเพิ่มความมั่งคั่ง แต่ยังช่วยรักษามูลค่าของเงิน ต่อสู้กับเงินเฟ้อ และความไม่แน่นอนในอนาคต
คริปโทเคอร์เรนซีและโทเคนดิจิทัลมีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจำนวนและสินทรัพย์ดิจิทัลมีความเสี่ยง และ ผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอนาคต โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
Disclaimer